วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ hyperthyroid

 

       โรค ไฮเปอร์ไทรอยด์ hyperthyroid หมายถึงภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากว่าปกติ ผู้ป่วยมีอาการอารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ
กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตาโปน มือสั่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย คอพอก ประจำเดือนผิด ปกติ ขี้ร้อน น้ำหนักลดแม้ว่าจะรับประทานอาหารได้ดี อาการเป็นพิษของต่อม ไทรอยด์ เกิดจากฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ที่ถูกสร้างเพิ่มมากขึ้นนั้น จะหลั่งไปในกระแสโลหิต ออกฤทธิ์กระตุ้นอวัยวะต่างๆ ให้ทำงานมากขึ้น โรคนี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม พบว่าบางครอบครัวเป็นโรคนี้สืบทอดต่อกันมาหลายชั่วคน และพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 7-8 เท่า
ต่อมไทรอยด์เป็น ต่อมไร้ท่อใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ที่ส่วนหน้าของลำคอ ใต้ลูกกระเดือกลงมา มีรูปร่างเหมือนเกือกม้าหรือผีเสื้อ ปกติจะใหญ่กว่าหัวแม่มือของเจ้าของต่อม มองเห็นได้ชัดเจน มีขนาดยาว 4 ซม.กว้าง 1-2 ซม. ทำหน้าที่สร้างและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาสู่กระแสเลือด ฮอร์โมนนี้ต่อมไทรอยด์สร้างเองโดยอาศัยไอโอดีนจากอาหารที่กินเข้าไปเป็น วัตถุดิบ หน้าที่ของไทรอยด์ฮอร์โมนมีมากมาย ออกฤทธิ์กระตุ้นทั่วร่างกาย ทำให้เซลล์ต่างๆ ทำงานเป็นปกติ อวัยวะที่กระตุ้นมากที่สุด คือหัวใจกับประสาท ไทรอยด์ฮอร์โมนยังทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในเลือด รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึก ปกติต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนออกมาในปริมาณที่เหมาะสม ฮอร์โมนที่สำคัญคือ T4 และ T3 โดยฮอร์โมนนี้จะมีธาตุไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญ ถ้าฮอร์โมนหลั่งน้อยไปเรียกว่า hypothyroid ร่างกายจะเกิด การเผาผลาญน้อยลง แต่ถ้าหากฮอร์โมนหลั่งมากร่างการจะมีการเผาผลาญอาหารมากทำให้น้ำหนักลดเรียก ว่า hyperthyroid
ความผิดปกติ หรือโรคของต่อมไทรอยด์มี มากมายหลายชนิด มักพบในสตรีเป็นส่วนใหญ่ สตรีจะเป็นโรคของต่อมไทรอยด์มากกว่าผู้ชายหลายเท่า โรคของต่อมไทรอยด์ที่พบบ่อยได้แก่ ต่อมไทรอยด์โตขึ้น โดยทั่วไป เรียกว่าโรคคอพอก ซึ่งจำแนกออกได้เป็นคอพอกชนิดเป็นพิษ และไม่เป็นพิษ นอกจากนั้นยังมีโรคมะเร็งของต่อมไทรอยด์ ถุงน้ำหรือซีสต์ของต่อมไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์อักเสบ เป็นต้น โรคของต่อมไทรอยด์ชนิดที่ทำงานน้อยไปเรียก hypothyroid ต่อมไทรอยด์ทำงานมากไปเรียกว่า hyperthyroid
ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะโรค hyperthyroid เท่านั้น ซึ่ง สาเหตุสำคัญของโรคคอพอกเป็นพิษคือ โรค Grave’s disease เกิดภาวะที่มีภูมิไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามาก ผู้ป่วยจะมีต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม บางคนเป็นโรค multinudular toxic goiter หมายถึงภาวะที่ก้อนในต่อมไทรอยด์ทำงานสร้างฮอร์โมนเพิ่มขึ้น อาจก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ และสาเหตุที่พบน้อยกว่าโรคอื่นคือ thyroiditis ช่วงแรกของต่อมไทรอยด์อักเสบจะมีอาการของคอพอกเป็นพิษ
ผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์จะ มีอาการอารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตาโปน มือสั่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย คอพอก ประจำเดือนผิดปกติ ขี้ร้อน น้ำหนักลดแม้ว่าจะรับประทานอาหารได้ดี อาการเป็นพิษของต่อมไทรอยด์ ก็เพราะฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ที่ถูกสร้างเพิ่มมากขึ้นนั้น จะหลั่งไปในกระแสโลหิต มีฤทธิ์กระตุ้นอวัยวะต่างๆ ให้ทำงานมากขึ้น หัวใจจะถูกกระตุ้นมากที่สุด ทำให้เกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและแรง บางครั้งก็ไม่สม่ำเสมอ ทำให้เหนื่อยง่าย กระตุ้นเซลล์ของร่างกาย ให้สร้างพลังงานิดมามากเกินพอ ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีพลังงานเหลือเฟือ จึงมักอยู่ไม่สุข ต้องทำโน่นทำนี่ ดูลุกรี้ลุกรน พูดเร็ว รวมแล้วดูเป็นคนหลุกหลิก ลอกแลก มักเป็นคนขี้ร้อน เหงื่อออกมาก ผู้ป่วยจึงมักชอบอากาศเย็นๆ แต่มือจะอุ่น และมักมีเหงื่อออกชุ่ม หิวบ่อย กินจุ แต่ไม่อ้วน น้ำหนักลด อุจจาระบ่อย ประสาทถูกกระตุ้นทำให้มีอาการคล้ายโรคประสาท มีอาการทางกล้ามเนื้อคือกล้ามเนื้อต้นแขน ต้นขา มักอ่อนแรง ถ้าเป็นมากๆ จะก้าวขึ้นบันได หรือรถเมล์ไม่ไหว ประจำเดือนบางทีมาน้อยหรือห่างออกไป ลูกตาอาจโปนถลนออกมา อาจมองเห็นภาพซ้อนกันอยู่เสมอ
image
การวินิจฉัยโดยตรวจเลือดพบว่าระดับ T3 หรือ T4 ในเลือดสูง และ ระดับ TSH ในเลือดต่ำ เรียกว่าเป็นการตรวจหาระดับไทรอยด์ฮอร์โมน ต่อมใต้สมองจะสร้างฮอร์โมนTSH ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมน T3 และ T4 เพื่อให้ร่างกายเผาผลาญอาหาร หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไปเรียก hyperthyroidism ตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 สูงแต่ TSH ต่ำ หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยเกินไปเรียก hypothyroidism ตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 ต่ำแต่ TSH สูง การตรวจไทรอยด์สแกนเพื่อดูว่าสภาพต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม หรือมีก้อนในต่อมไทรอยด์ หรือเป็นต่อมไทรอยด์อักเสบ เนื่องจากการตรวจไทรอยด์สแกนเป็นการตรวจต่อมไทรอยด์โดยการให้ผู้ป่วยรับ ประทานเกลือไอโอดีนที่อาบสารรังสี หลังจากนั้นจึงนำผู้ป่วยเข้าเครื่องตรวจ ประโยชน์ของการสแกนเพื่อบอกว่าต่อมไทรอยด์มีการอักเสบหรือไม่ ตรวจว่าต่อมไทรอยด์มีการสร้างฮอร์โมนเพิ่มหรือไม่ และช่วยแยกก้อนที่ไทรอยด์ว่าเป็นชนิดใด สำหรับวิธี needle aspiration เป็นการใช้เข็มเจาะเนื้อไทรอยด์โดยการใช้เข็มเล็กๆ ดูดเนื้อเพื่อนำส่งตรวจทางกล้องจุลทัศน์เพื่อตรวจเนื้อเยื่อว่าเป็นมะเร็ง คอพอกเป็นพิษ หรือเป็นถุงน้ำชนิดธรรมดา การตรวจอุลตราซาวน์ก็เพื่อตรวจดูว่าก้อนไทรอยด์ที่โตเป็นก้อนเนื้อหรือเป็น ถุงน้ำชนิดธรรมดา
การรักษามีได้หลายวิธีแพทย์ จะพิจารณาจาก อายุ สภาพของผู้ป่วย ชนิดของคอพอกเป็นพิษ ความรุนแรงของโรค การรักษาโดยกินยาที่มีฤทธิ์ไประงับการสร้างฮอร์โมน การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ การกินสารไอโอดีนชนิดปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกมาเพื่อไปทำลายต่อมไทรอยด์ หรือเรียกว่าการดื่มน้ำแร่นั่นเอง แพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยจะเป็นผู้พิจารณาเลือกใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับ ผู้ป่วยแต่ละรายได้
การรักษาโดยการกินยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน เช่น PTU, Methimazole ส่วนการใช้ยาอื่นๆ beta-blocker เช่น propanolol, atenolol, metoprolol เพื่อลดอาการของโรค ยารับประทานสำหรับโรคไทรอยด์เป็นพิษที่มีใช้ในประเทศไทยอย่างแพร่หลายมี เพียงสองชนิดเท่านั้น หากแพ้ยาชนิดแรกอาจลองใช้ยาอีกชนิดหนึ่ง หากลักษณะของการแพ้ยาเป็นแบบคัน,ผื่นคัน อาการเหล่านี้อาจดีขึ้นเมื่อลดจำนวนเม็ดยาลง แพทย์อาจให้ยาแก้แพ้ควบคู่ไปกับยารักษาไทรอยด์เป็นพิษ
image
การรับประทานน้ำแร่ radioactive iodine เมื่อ ผู้ป่วยรับประทานน้ำแร่เข้าไป ต่อมไทรอยด์ก็จะรับไอโอดีนที่มีรังสีเข้าไป รังสีนี้จะทำลายเนื้อต่อมไทรอยด์ แพทย์จะคำนวณขนาดยาที่เหมาะสม หากได้มากเกินไปจะเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจำเป็นต้องได้รับยาไทรอยด์ ฮอร์โมนไปตลอดชีวิต แต่ถ้าหากได้รับน้ำแร่น้อยไปผู้ป่วยยังคงเกิดอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษแต่ รุนแรงน้อยลง แพทย์จะนัดให้ยาอีกครั้ง โดยทั่วไปการรักษาไทรอยด์เป็นพิษคือ การกินยารักษาไทรอยด์ ซึ่งจะให้กินประมาณ 2 ปี ถ้ากินยาครบ 2 ปีแล้วไม่หาย หรือไม่สามารถหยุดยาได้ จึงแนะนำรักษาด้วยการกลืนแร่รังสี การกลืนแร่รังสีทำได้ที่โรงพยาบาลที่มีแผนกเวชศาสตร์นิวเคลียร์ การกลืนน้ำแร่ (ไม่ใช่กลืนก้อนแร่) เป็นวิธีรักษาโรควิธีหนึ่ง “น้ำแร่” คือ ไอโอดีนพิเศษที่มีคุณสมบัติปลดปล่อยรังสีได้ ให้ผู้ป่วยดื่มเพียงครั้งเดียว ไอโอดีนจะไปสะสมที่ต่อมไทรอยด์เท่านั้น ไม่ไปรบกวนอวัยวะอื่นใด ต่อมไทรอยด์จะค่อยๆ ฝ่อจากฤทธิ์ของรังสี เมื่อต่อมไทรอยด์ฝ่อแล้วโรคไทรอยด์เป็นพิษก็จะหาย ปริมาณรังสีจากน้ำแร่ไม่มีผลต่อความสามารถในการมีบุตร
สำหรับการผ่าตัด ปัจจุบัน ได้รับความนิยมลดลงไปมาก โดยเลือกใช้กับผู้ป่วยบางราย เช่น เด็ก วัยรุ่น หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหากับยาที่รักษา หรือผู้ที่มีต่อมโตมาก มีอาการทางตารุนแรง หรือมีก้อนในต่อม ไม่ว่าจะป่วยเป็นโรคชนิดใดของต่อมไทรอยด์ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ, ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์, คอพอก เป็นต้น สามารถตั้งครรภ์ได้ทั้งสิ้น และมียาที่จะใช้ในช่วงการตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย แต่ว่าผู้ป่วยมีความจำเป็นจะต้องตรวจถี่ขึ้น เจาะเลือดดูระดับฮอร์โมนไทรอยด์บ่อยขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ และไม่ต้องกังวลว่าโรคประจำตัวจะเป็นสาเหตุของความพิการในเด็ก การทำแท้งไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้นกับโรคไทรอยด์เป็นพิษ จะพบผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ขณะตั้งครรภ์ ซึ่งทำให้วิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพตัวเองและบุตร พบว่าผู้ป่วยที่เป็นคอพอกเป็นพิษเมื่อสามารถควบคุมอาการได้ก็สามารถตั้ง ครรภ์ได้ แต่ถ้าจะให้ดีควรรักษาด้วยการผ่าตัดหรือให้น้ำแร่ก่อนการตั้งครรภ์ โดยแนะนำว่าให้สามารถตั้งครรภ์หลังจากรักษาอย่างน้อย 6 เดือน การรักษาโรคคอพอกเป็นพิษขณะตั้งครรภ์ มีข้อแตกต่างจากการรักษาในคนปกติคือไม่สามารถให้รับประทานน้ำแร่ และการให้ยา PTU, metimazole ต้องให้ขนาดน้อยที่สุดที่คุมโรค เนื่องจากไม่ต้องการให้ยาไปมีผลต่อเด็กเพราะยานี้สามารถผ่านรกไปสู่เด็กได้ การให้ฮอร์โมนไทรอกซินระหว่างการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนนี้ใช้รักษาภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยหรือเป็นต่อมไทรอยด์อักเสบ เนื่องจากฮอร์โมนชนิดนี้ผ่านรกได้น้อยมากจึงไม่มีผลต่อเด็กในครรภ์
ระหว่างที่ให้นมบุตร ไม่ ควรตรวจไทรอยด์สแกน หรือรับน้ำแร่เพื่อรักษาในระหว่างการตั้งครรภ์ สำหรับยาที่ใช้รักษา เช่น ฮอร์โมนไทรอกซิน และ PTU สามารถให้ระหว่างการให้นมเพราะผ่านสู่เด็กได้เพียงเล็กน้อย ในแง่ของการเป็นหมัน ทั้งคอพอกเป็นพิษ หรือต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจะมีบุตรยาก เมื่อรักษาดีแล้วก็สามารถมีบุตรได้เหมือนคนปกติ นอกจากนั้นหากไม่รักษาความต้องการทางเพศก็จะลดลง ที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือผู้ป่วยคอพอกเป็นพิษจะมีประจำเดือนน้อยกว่าคน ปกติ ส่วนคนที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจะมีประ

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

SLE โรคภูมิคุ้มกันตัวเอง


โรค ภูมิคุ้มกันตัวเอง อีกหนึ่งโรคที่คุณเองจะต้องเพิ่มความระมัดระวังซึ่งอาการของโรคนั้นอาจจะมี อาการเฉียบพลันและรุนแรง หรือบางทีอาจใช้เวลานานหลายปี ถึงจะแสดงอาการออกมา คุณจึงต้องดูแลสุขภาพของตัวเอง

SLE โรคภูมิคุ้มกันตัวเอง

โรค เอส แอล อี (Systemic Lupus Erythematosus – SLE) หรือโรคลูปุส (มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า ” โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง”)  เป็นโรคที่เกิดจากภูมิต้านทานในร่างกายของเราชนิดหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงไป

ภูมิ ต้านทานชนิดนี้เป็นโปรตีนในเลือดชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แอนติบอดี้ (ANTIBODIES) ซึ่งปกติจะมีหน้าที่จับและทำลายสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคจากภายนอกร่างกาย แต่โปรตีนชนิดนี้ ในผู้ป่วยโรคลูปุสจะจับและทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆ ของผู้ป่วย โรคลูปุสเองขึ้นกับว่าจะจับอวัยวะใดเช่น ถ้าจับที่ผิวหนังก็ จะทำให้เกิดผื่น ถ้าจับกับไตก็จะทำให้เกิดการอักเสบของไต จับกับเยื่อหุ้มข้อ ก็จะเกิด ข้ออักเสบขึ้น จัดเป็นโรคที่เรื้อรังชนิดหนึ่ง สาเหตุ
ในปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรค เอส แอล อี แน่ชัด แต่มีหลักฐานที่บ่งบอกว่าจะเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ร่วมกัน คือ
  1. กรรมพันธุ์
  2. ฮอร์โมนเพศหญิง
  3. ภาวะติดเชื้อบางชนิด,โดยเฉพาะเชื้อไวรัส
นอกจากนี้เรายังทราบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นหรือมีโอกาสเป็นโรค เอส แอล อี มีอาการรุนแรงขึ้น เช่น
  1. แสงแดดโดยเฉพาะ แสงอุลตร้าไวโอแลต
  2. การตั้งครรภ์
  3. ยาบางชนิด
อาการของผู้ป่วย โรคเอส แอล อี
โรค เอส แอล อี เป็นโรคที่มีลักษณะการแสดงออกได้หลากหลายลักษณะ อาจมีอาการเฉียบพลันและรุนแรงหรือมีอาการค่อยเป็นค่อยไปเป็นช่วยระยะเวลานาน หลายปี อาจมีอาการแสดงออกของหลายอวัยวะในร่างกายพร้อม ๆ กันหรือมีการแสดงออกเพียงอวัยวะหนึ่งทีละอย่างก็ได้ มีอาการเป็นๆ หายๆ ได้แต่ลักษณะเฉพาะของโรค เอส แอล อี คือผู้ป่วยจะมีอาการในหลายๆ ระบบของร่างกายโดยจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่พร้อมกันก็ได้
เมื่อไรควรสงสัยว่าเป็นโรค เอส แอล อี
  1. เมื่อมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ นานเป็นเดือน
  2. เมื่อมีอาการปวดบวมตามข้อ
  3. เมื่อมีผื่นคันที่หน้าโดยเฉพาะเวลาถูกแสงแดด
  4. เมื่อมีผมร่วงมากขึ้น
  5. เมื่อมีอาการบวมตามหน้าตามเท้า
การรักษาของผู้ป่วย โรคเอส แอล อี
ในการรักษาโรค เอส แอล อี ทั้งผู้ป่วยและแพทย์จะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องดังต่อไปนี้
  1. ควร เข้าใจลักษณะของโรคต้องเข้าใจก่อนว่าโรคเอส แอล อี เป็นโรคเรื้อรัง การดำเนินของโรคจะเป็นไปเรื่อยๆ โดยอาจมีการทุเลาหรือกำเริบขึ้นได้เป็นระยะตลอดเวลา หรือกำเริบรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้
  2. พยาธิสภาพการเกิดโรคหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด
  3. ผล ของการรักษา และความอยู่รอดของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับว่ามีอวัยวะใดบ้างที่เกี่ยวข้องหรือมี การอักเสบ ความรุนแรงของโรค ความรวดเร็วในการประเมิน ความรุนแรงและการได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
นอก จากนี้ยังขึ้นอยู่กับการติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดของแพทย์ และความต่อเนื่องและสม่ำเสมอของการได้รับการรักษาของผู้ป่วยโดยเฉพาะในช่วง 2 ปีแรก ปัจจุบันมีวิธีการตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรกๆ มีวิธีการรักษาที่ได้ผลดีมากหลายวิธีให้เลือกใช้ มียาปฏิชีวนะดีๆ ที่สามารถควบคุมภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อของผู้ป่วยได้ดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ความอยู่รอดของผู้ป่วย เอส แอล อีในปัจจุบันดีกว่าสมัยก่อนมาก
สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วย เอส แอล อี เกิดได้จาก 3 สาเหตุ คือ
  • จากตัวโรคเองเช่น การอักเสบของไต สมอง หลอดเลือด ตลอดจนการแตกของเม็ดเลือดแดง
  • จาก ภาวะติดเชื้อกลไกพื้นฐานของโรค เอสแอล อี คือมีการเปลี่ยนแปลงในระบบภูมิคุ้มกัน ประกอบกับผู้ป่วยได้รับยาต่าง ๆเพื่อลดการอักเสบและกดภูมิคุ้มกันของร่างกายลง ทำให้มีโอกาสติดเชื้อง่ายกว่าบุคคลทั่วไป
  • จาก ยาหรือวิธีการรักษาการรักษาโรค เอส แอล อี ขึ้นอยู่กับอาการว่าเป็นมาก เป็นน้อยในผู้ป่วยบางรายใช้แค่ยาแก้ปวดแอสไพริน หรือ ยาลดอาการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ก็ควบคุมอาการได้
สำหรับ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงขึ้น แพทย์ต้องใช้ยาสเตียรอยด์ เช่น ยาเพร็ดนิโซโลน (prednisolone) ตั้งแต่ขนาดต่ำจนถึงขนาดสูงติดต่อกันเป็นเวลานานเป็น สัปดาห์หรือเป็นหลายเดือน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระบบอวัยวะที่มีการอักเสบในบางรายที่มีการอักเสบ ของอวัยวะสำคัญ เช่น ไต อาจจำเป็นต้องใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีผลข้างเคียงมากขึ้น เช่น ยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็งบาง ชนิดแต่ให้เป็นครั้ง ๆ ในขนาดที่เหมาะสมหรือในบางรายอาจจำเป็นต้องใช้วิธีการเปลี่ยนถ่ายเลือดมา ร่วมในการรักษาด้วย ทั้งนี้แล้วแต่ความรุนแรงของโรค และระบบอวัยวะที่มีการอักเสบ สิ่งสำคัญในการรักษาโรค เอส แอล อี ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ยาที่ถูกต้อง ทั้งชนิด ขนาด และจังหวะการให้ยาตามจังหวะของโรคแต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การปฏิบัติตัวที่ดีของผู้ป่วย การมารับการตรวจรักษาสม่ำเสมอตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล อย่างเคร่งครัด

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

อาการชี้แนะว่าเป็น..โรคโลหิตจาง


 ใน ภาวะโลหิตจางร่างกายจะมีจำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง แต่ละเพศและวัยมีค่านี้แตกต่างกัน เมื่อไรพบว่า ค่าต่ำกว่าพิกัดต่ำสุดของประชากรเพศและวัยนั้นก็ถือว่าโลหิตจาง”…
เลือดจางหรือโลหิตจางเป็นคำที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี เมื่อพบเห็นคนหน้าซีดๆ ผิวซีดๆ ไม่มีแรงก็มักจะลงความเห็นกันไว้ก่อนว่าเป็นโลหิตจาง นี่เป็นการลงความเห็นโดยอาศัยข้อมูลจากลักษณะที่พบ เห็นได้โดยง่าย ซึ่งในทางการแพทย์เราก็ใช้ นอกจากนี้มีข้อมูลอื่นๆ อีกที่เป็นประโยชน์ ที่จะช่วยลงความเห็นว่า มีภาวะโลหิตจางหรือไม่และอาจช่วยบอกต่อว่าโลหิตจาง
เกิดจากสาเหตุใดด้วยโลหิตจาง (anemia) โลหิตจางหรือเลือดจาง (anemia) เป็นภาวะที่จำนวนเม็ดเลือดแดงในร่างกายลดน้อยลง ผู้ที่มีโลหิตจาง จะมีอาการซีด, เพลีย, เหนื่อยง่าย ทำงานไม่ค่อยไหว ผู้ป่วยที่มีโลหิตจางรุนแรงอาจจะมีการทำงานของ หัวใจล้มเหลว เกิดภาวะหัวใจวาย และสมองจะทำงานช้าลง จนกระทั่งหมดสติได้

โรคหรือสาเหตุของโลหิตจางมีหลายชนิด ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม 
1) การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง ซึ่งอาจจะเกิดจากการขาดสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น ขาดธาตุเหล็ก, โฟเลต (folate), วิตามินบี 12, โรคไขกระดูกฝ่อ (aplastic anemia), โรคที่มีเซลล์มะเร็งในไขกระดูก เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) เป็นต้น
2) การสูญเสียเม็ดเลือดแดงจากกระแสเลือด ได้แก่การเสียเลือดทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง (ซึ่งชนิดเรื้อรังจะทำให้เกิดการขาดธาตุเหล็ก), การที่เม็ดเลือดแดงแตกหรือถูกทำลายไปเร็วกว่าปกติ เช่น โรคที่ร่างกายต่อต้านเม็ดเลือดแดงของตนเอง (โรค autoimmune hemolytic anemia), โรคโลหิตจางกรรมพันธุ์บางชนิด เช่น โรคขาดเอ็นซัยม์ของเม็ดเลือดแดง, โรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น อาการอ่อนเพลีย, เหนื่อยง่าย ที่พบในภาวะโลหิตจางอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ภาวะโลหิตจาง เช่น โรคหัวใจ, โรคปอดเป็นต้น แพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะโลหิตจางได้โดยการตรวจวัดสัดส่วนของเม็ดเลือดแดงใน เลือดหรือวัด ความเข้มข้นของสีฮีโมโกลบิน (ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง) ในเลือด หลังจากนั้นแพทย์จะต้องตรวจหาโรคที่เป็นสาเหตุของภาวะโลหิตจางนั้น ๆ เพื่อให้การรักษาได้ตรงตามสาเหตุต่อไป ]
อาการที่ชี้แนะว่า โลหิตจาง ผู้ที่โลหิตจางไม่มากหรือไม่มีโรคหลอดเลือดร่วมด้วยอาจไม่มีอาการก็ได้ อาการจะมีหรือไม่ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโลหิตจาง และความเฉียบพลันของการเกิดโรคครับ 
1. อาการเหนื่อยง่าย เหนื่อยง่ายหมายถึงรู้สึกเหนื่อยผิดปกติเวลาที่ต้องออกแรง เช่น เคยเดินบันไดได้ โดยไม่เหนื่อยแต่กลับเหนื่อย ถ้ามีโลหิตจางรุนแรง แค่เดินในบ้านก็อาจเหนื่อยแล้ว เวลาเหนื่อยอาจมีอาการใจสั่นร่วมด้วย ที่รุนแรงอาการมีอาการของโรคหัวใจวาย คือ เหนื่อย แน่นหน้าอก หอบ เป็นต้น
2. อาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ
3. อาการเป็นลม หน้ามืด วิงเวียน
4. อาการทางสมอง เช่น รู้สึกสมองล้า หลงลืมง่าย ขาดสมาธิในการทำงาน เรียนหนังสือไม่ดีเท่าที่ควร นอนไม่หลับ
5. อาการหัวใจขาดเลือด มักพบในคนที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โลหิตจาง ทำให้อาการของหัวใจรุนแรงขึ้น เจ็บหน้าอกง่ายขึ้น
6. อาการขาขาดเลือด พบในคนที่มีโรคหลอดเลือดของขาทำให้ปวดขา เวลาเดินได้ไม่ไกล ต้องหยุดพักบ่อยๆ เวลาเดิน
7. อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น เบื่ออาหาร ท้องอืด

ประวัติที่ชี้แนะสาเหตุของโลหิตจาง
1. ระยะการเกิดอาการ หมายถึงว่าเกิดอาการโดยรวดเร็วเฉียบพลัน หรือเกิดอาการแบบค่อยเป็นค่อยไปช้าๆ จากอาการต่างๆ 1 ถึง 7 ข้อที่ชี้แนะว่ามีโลหิตจางที่ผมกล่าวมาข้างต้นหากพบว่า อาการพวกนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือกะทันหันก็พอบอกได้ว่า เกิดจากสาเหตุของโลหิตจางชนิดเฉียบพลัน แต่ถ้าระยะการเกิดอาการเป็นแบบช้าๆ เนิ่นนานไม่ใช่ปุ๊บปั๊บ ค่อยๆ เป็นจากน้อยๆ ก่อนแล้วมากขึ้นเรื่อยๆ แสดงว่า สาเหตุของโลหิตจางเป็นชนิดเรื้อรังครับ
2. ประวัติการเสียเลือด หมายถึงมีการสูญเสียเลือดออกจากร่างกายทางใดทางหนึ่ง เมื่อเสียมากก็จะเกิดภาวะโลหิตจางตามมาครับ เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีดำ ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ อาการทั้ง 3 ข้างต้นอาจหมายถึงเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร แล้วมีเลือดออกจากแผลจนเกิดการสูญเสียเลือดและภาวะโลหิตจางตามมา หากมีประวัติการกินยาหรือยาโรคปวดข้อ ปวดกระดูกร่วมด้วยอาจหมายถึง โรคกระเพาะดังกล่าวเกิดจากยาที่กิน ประวัติมีประจำเดือนมามากหรือมาบ่อย ประวัติเป็นริดสีดวงทวารถ่ายออกมาเป็นเลือดสดๆ ประวัติบาดเจ็บมีแผลเลือดออกมาก อาการเหล่านี้ก็ช่วยบอกว่าโลหิตจางเกิดจากสาเหตุอะไร ประวัติดีซ่าน ปัสสาวะสีเข้มแบบน้ำปลาหรือสีโคคาโคล่า อาจบ่งบอกถึงว่าโลหิตจางเกิดจากภาวะการแตกสลายของเม็ดเลือดแดง
3. ประวัติอาการร่วมอื่นๆ ที่สำคัญได้แก่ มีจุดหรือจ้ำเลือดตามตัวบ่อยๆ อาการนี้อาจหมายถึงภาวะเกร็ดเลือดต่ำ ที่นำไปสู่การสูญเสียเลือด และเกิดโลหิตจางตามมา เป็นไข้หรือโรคติดเชื้อบ่อยๆ อาจแสดงถึงปัญหาเม็ดเลือดขาวต่ำ เมื่อป่วยบ่อยๆ ก็นำไปสู่ภาวะโลหิตจางได้ เป็นโรคระบบอื่นอยู่ เช่น โรคไต โรคตับ โรคข้ออักเสบ โรคมะเร็ง ฯลฯ โรคเรื้อรังเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดโลหิตจางได้ครับ
โรคโลหิตจาง เป็นโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยมีสาเหตุสำคัญอยู่ 3 ประการคือ
1. โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก “โลหิตจาก” การขาดธาตุเหล็กนี้พบได้บ่อยในชาวชนบท ผู้ที่ลดน้ำหนักด้วยการอดอาหาร ผู้ที่เพิ่งแท้งบุตรหรือหญิงหลังคลอด ผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร เป็นโรคริดสีดวงทวาร
2. โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก โดยปกติ “เม็ดเลือดแดง” จะมีชีวิตอยู่ในร่างกายประมาณ 120 วัน แล้วจะเสื่อมสลายไปพร้อมกับมีเม็ดเลือดแดงใหม่ที่ไขกระดูกสร้างเข้ามาทดแทน จึงเกิดภาวะสมดุลในร่างกายไม่เกิดภาวะโลหิตจาง สาเหตุที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายมีอยู่ 2 ประการคือ
2.1 ภาวะพร่องเอนไซม์จี-6-พีดี (G-6-PD) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ทั่วไปในเซลล์ต่าง ๆ รวมถึงเซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อขาดเอนไซม์ชนิดนี้จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย โดยภาวะพร่องเอนไซม์ชนิดนี้เป็นโรคพบจากรรมพันธุ์ ที่แสดงอาหารในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
2.2 โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นความผิดปกติทางกรรมพันธุ์
3. โลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ เนื่องจากไขกระดูที่อยู่ในโพรงกระดูกทั่วร่างกายมีหน้าที่สร้างเม็ดเลือด หากมีความผิดปกติของไขกระดูกทำให้สร้างเม็ดเลือดได้น้อยลง ก็จะเกิดภาวะโลหิตจางขึ้นโดยสาเหตุที่แน่ชัดยังไม่ทราบอาจเกิดจากพิษของยา หรือสารเคมีไปทำลายไข กระดูก เช่น ยาเฟนิลบิวทาโซน คลอแรมเฟนิคอล ซัลฟา หรือเคมีจำพวกน้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน สีทาบ้าน รังสีชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
อาการแสดง อาการแสดง หมายถึง ลักษณะที่พบเห็นหรือตรวจพบในตัวผู้ป่วย ที่มีเลือดจาง มี 2 ชนิดครับ คือ ชนิดที่บอกว่า มีภาวะโลหิตจางและที่บอกว่า มีสาเหตุอะไรที่ทำให้เลือดจาง
1. อาการแสดงที่บอกว่ามีภาวะโลหิตจาง อาการแสดงที่พบบ่อยได้แก่ ลักษณะซีด – ดูได้จากสีของผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ใต้เล็บ – หรือดูจากสีของเยื่อบุด้านในของเปลือกตาล่าง (พลิกเปลือกตาดู)
2. อาการแสดงที่ช่วยชี้แนะถึงสาเหตุของโลหิตจาง
- มีตัวเหลืองตาเหลือง (ดีซ่าน) อย่างอ่อน แสดงถึงภาวะโลหิตจาง จากการแตกสลายของเม็ดเลือดแดง
- มีจุดและจ้ำเลือดตามตัวชี้แนะถึงการมีเกร็ดเลือดต่ำ เป็นโรคไขกระดูกฝ่อ มะเร็งเม็ดโลหิตขาว หรือโรคที่เกิดการทำลายทั้งเม็ดเลือดแดงและเกร็ดเลือด
- ลิ้นเลี่ยน อาจแสดงถึงโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ผิวลิ้นจะเลี่ยนและซีด
- เล็บอ่อนยุบเป็นแอ่ง พบในโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก
- ความดันโลหิตสูง อาจหมายถึงโลหิตจางจากไตวายเรื้อรัง – ความดันโลหิตต่ำ อาจหมายถึงภาวะช็อกจากการสูญเสียโลหิตอย่างรวดเร็ว เช่น
- เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหารหรือจากภาวะหัวใจวาย – ตับและม้ามโต พบได้ในโลหิตจางจากโรคเลือดธาลัสซีเมีย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- ต่อมน้ำเหลืองโต อาจหมายถึงมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งมักจะมีตับโตและม้ามโตด้วย
- อาการบวม ผิวแห้ง มักพบในโรคไต – อาการขึ้นผื่นที่ใบหน้า และผมร่วง พบในโรคเอสแอลอี (SLE)
- ท้องมาน พบในโรคตับแข็ง – ข้อบวม พิการ พบในโรคข้อเรื้อรัง เช่น โรครูมาตอยด์อาไทรติส โรคเอสแอลอี เป็นต้น โลหิต
จางที่พบบ่อยในบ้านเราเกิดจาก การขาดธาตุเหล็ก จากโรคเลือดธาลัสซีเมีย และเกิดจากโรคในระบบอื่นครับ ระยะการเริ่มเกิดของโรค อาจแบ่งโลหิตจางได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
ก. โลหิตจางเฉียบพลัน หมายถึงมีอาการของโลหิตจางเกิดขึ้นใน 7-10 วัน ซึ่งเกิดจาก
1. เสียเลือดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร จากประจำเดือนออกมาก
2. เม็ดเลือดแดงถูกทำลายเฉียบพลัน จะมีอาการร่วมคือดีซ่าน ปัสสาวะสีเข้ม อาจมีไข้ ม้ามอาจโต ถ้ามีประวัติเข้าป่า อาจเป็นมาลาเรีย
3. อาจเกิดจากมะเร็งเม็ดโลหิตขาวเฉียบพลัน ซึ่งจะมีไข้ เกร็ดเลือดต่ำ ตับม้ามโต
ข. โลหิตจางเรื้อรัง เกิดอาการโลหิตจางนานกว่า 10 วัน อาจเป็นเดือนๆ ก็ได้ การตรวจสอบลักษณะทางคลินิกจากประวัติ อาการและอาการแสดงจะช่วยชี้แนะ ถึงสาเหตุของโลหิตจางได้ครับ ประวัติการเสียเลือดเรื้อรัง เกิดภาวะของธาตุเหล็ก ที่พบบ่อยได้แก่โรคกระเพาะอาหาร โรคประจำเดือนมาก ริดสีดวงทวารหนัก หรือมีพยาธิปากขอที่ดูดเลือดจากลำไส้ ลักษณะของธาลัสซีเมียจากหน้าตาและผิวพรรณ ลักษณะทางคลินิกของโรคตับ โรคไต โรคเอสแอลอี ฯลฯ ลักษณะทางคลินิกของการขาดสารอาหาร เช่น เลือกกินเฉพาะอาหารบางชนิด กินอาหารน้อย ติดสุรา ฯลฯ

การรักษาโลหิตจาง หลักการสำคัญในการรักษาโลหิตจางคือ รักษาที่สาเหตุของโลหิตจางครับ แนวทางการรักษาประกอบด้วย
1. การรักษาทั่วไป เป็นการบำบัดอาการของโลหิตจาง ระหว่างที่ทำการรักษาโรคสาเหตุของโลหิตจาง เช่น – รักษาภาวะหัวใจวาย – ลดการออกแรง – ให้ออกซิเย่น – ให้เลือดทดแทน มักให้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาหลอดเลือด ผู้ป่วยอายุมากหรือเสียเลือดมากเฉียบพลันผู้ป่วยเลือดจางเรื้อรังมักไม่จำ เป็นต้องให้เลือด แม้ว่าความเข้มข้นของเลือดจะต่ำมากๆ ก็ตามครับ
2. การรักษาจำเพาะ เป็นการรักษาไปที่สาเหตุ กำจัดสาเหตุ (ถ้าทำได้) และให้การรักษาโรคสาเหตุนั้นๆ เช่น ถ้าพบว่าเลือดจางเพราะพยาธิปากขอ ก็ให้ยากำจัดพยาธิและให้ยาที่มีธาตุเหล็กควบคู่กันไป เมื่อระดับความเข้มข้นของเลือดกลับสู่ระดับปกติแล้ว ควรให้ยาเสริมธาตุเหล็กต่อไปอีก 3 เดือนจึงจะเพียงพอครับ

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุน


การ ป้องกัน การป้องกันที่ดีที่สุดต้องสร้างกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่อายุ น้อยกว่า 30 ปี มีหลายวิธีที่จะป้องกันภาวะกระดูกโปร่งบาง เช่น …
1.รับประทานอาหารที่มี แคลเซียมสูงโดยเฉพาะในเด็กที่กำลังเจริญเติบโต หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร ชายและหญิงวัยทอง อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมได้แก่ นม นมพร่องมันเนย ผักใบเขียว ปลาและกระดูก ถั่ว น้ำส้ม ในวัยทองควรจะได้รับปริมาณแคลเซียม 1500มก.ต่อวันแต่สำหรับผู้ที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนควรจะได้รับปริมาณแคลเซียม 1000 มก.ต่อวัน หากรับประทานแคลเซียมครั้งละ 600 มก.จะดูดซึมได้ดี เมื่อรับประทานแคลเซียมต้องดื่มน้ำมากๆเพราะแคลเซียมจะทำให้ท้องผูก ในวัยทองควรจะได้รับวิตามิน ดี 400 ยูนิตต่อวันเพื่อช่วยในการดูดซึมของแคลเซียม
2.วิตามินดี ปกติคนเราสามารถสังเคราะห์วิตามิน ดีได้จากแสงอาทิตย์ แต่คนสูงอายุ หรือผู้ที่อยู่แต่ในบ้านจะขาดวิตามิน ดี วิตามิน ดี จะช่วยให้ลำไส้มีการดูดซึมแคลเซียม วันหนึ่งควรได้วิตามิน ดี 400-800 IU ให้ถูกแสงบริเวณมือ แขน ใบหน้าครั้งละ 10-15 นาทีสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งก็เพียงพอที่จะสร้างวิตามินดี การทาครีมกันแดดจะลดการสร้างวิตามินดี
3.การ ออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะทำให้กระดูกแข็งแรง เช่น การเดิน การเดินขึ้นบันได กระโดดเชือก ยกน้ำหนัก การเต้นรำ ลองเริ่มต้นการออกกำลังกายวันละ 30 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 วันซึ่งนอกจากจะทำให้กระดูกแข็งแรงยังทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและป้องกันการ หกล้ม การออกกำลังที่จะทำให้กระดูกแข็งแรงคือ การออกกำลังชนิด weight bearing คือใช้น้ำหนักตัวเองช่วยในการออกกำลังกาย เช่น การเดิน การวิ่ง การขึ้นบันได การเต้นรำ การว่ายน้ำและการขี่จักรยานไม่จัดในการออกกำลังกายกลุ่มนี้ อีกชนิดหนึ่งคือการยกน้ำหนักเพื่อทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง
4.การสูบบุหรี่จะทำให้ฮอร์โมน estrogen ต่ำเป็นผลทำให้กระดูกจาง
5.การดื่มสุรา วันละ 120-180 มิลิเมตรจะทำให้กระดูกจางและหักง่าย
6.หลีกเลี่ยงการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเพราะจะทำให้เกิดกระดูกพรุน
7.ยาบางชนิดหากรับประทานต่อเนื่องจะทำให้กระดูกจาง เช่น steroid phenyltoin [dilantin} barbiturate ,antacid ,thyroid hormone
8.ยาป้องกันกระดูกจาง
9.ไม่ควรดื่มชาหรือกาแฟมากกว่า 2 แก้วเพราะสาร caffeein จะเร่งการขับแคลเซียม
10.การวัดความหนาแน่นของกระดูก

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคผิวหนังอักเสบติดเชื้อ มีอะไรได้บ้าง


 ผิว หนังเป็นเนื้อเยื่อส่วนนอกสุดของร่างกายที่ห่อหุ้มโครงสร้างและอวัยวะ ทุกอย่างไว้ ซึ่งในแต่ละบริเวณจะมีความหนา-บางแตกต่างกันซึ่งผิวหนังสามารถติดเชื้อได้ ง่าย
ผิวหนังเป็นเนื้อเยื่อส่วนนอกสุดของร่างกายที่ห่อหุ้มโครงสร้างและ อวัยวะทุกอย่างไว้ ซึ่งในแต่ละบริเวณจะมีความหนา-บางแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ต้องรอง รับ และถูกเสียดสี ผิวหนังของเราแบ่งเป็น 2 ชั้นใหญ่ ๆ คือ
1.ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) เป็น ชั้นที่อยู่บนสุด บางและหลุดลอกออกไปได้ง่าย หรือที่เรียกว่าขี้ไคลนั่นเอง ในชั้นนี้จะไม่มีเลือดและเส้นประสาทหล่อเลี้ยงครับ แต่มีเซลล์ที่ชื่อ เมลาโนไซด์ (Melanocyte) ซึ่งทำหน้าที่สร้างเม็ดสีเมลานิน (Melanin) ที่ทำให้แต่ละคนมีสีผิวที่แตกต่างกันออกไป
2.ชั้นหนังแท้ (Dermis) เป็น ชั้นที่อยู่ลึกถัดจากชั้นหนังกำพร้าลงมา มีความหนากว่าชั้นแรกมาก เป็นที่อยู่ของเซลล์ ต่อม หลอดเลือด และระบบประสาทที่มาหล่อเลี้ยง
หน้าที่ ของผิวหนังนอกจากปกป้องอวัยวะภายในไม่ได้ได้รับอันตรายแล้ว ยังมีความสำคัญในการรักษาระดับอุณหภูมิร่างกาย ขับของเสียออกทางเหงื่อ รับความรู้สึกสัมผัสต่าง ๆ ทั้งยังมีส่วนช่วยในการสร้างวิตามินดี และป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย
ความ ผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผิวหนังของเรามีได้หลายอย่างครับ สำหรับวันนี้จะกล่าวถึงโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นกับระบบผิวหนัง ซึ่งมีด้วยกันหลายโรคตามตำแหน่งที่เกิดการติดเชื้อ โดยเชื้อที่ก่อโรคมี 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ แบคทีเรีย รา และไวรัส
1.โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย อันที่จริงแล้วผิวหนังของคนเราก็มีเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่นะครับ เรียกว่าเป็นเชื้อประจำถิ่น (Normal Flora) ซึ่งโดยปกติจะไม่ทำให้เกิดโรคครับ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงสภาพของผิวหนังไปจากเดิม เช่น มีบาดแผล มีโรคผิวหนังอื่น ๆ อยู่ก่อน สุขอนามัยไม่ดี หรือผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ เชื้อเหล่านี้ก็มีโอกาสทำให้เกิดโรคได้ ตัวที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อมากที่สุด ได้แก่ Staphylococcus aureus และ Staphylococcus pyogenes โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่พบมาก ได้แก่
  • แผลพุพอง (impetiongo)
          เป็นการติดเชื้อของชั้นหนังกำพร้า ส่วนใหญ่เกิดจากสุขอนามัยไม่ดี หรือละเลยบาดแผลเล็ก ๆ จะลุกลามจึงพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ส่วนมากบาดแผลเกิดขึ้นที่ใบหน้าบริเวณรอบจมูก เนื่องจากการแกะ เกา และตามแขน-ขาทั่วไป เริ่มแรกเป็นเพียงผื่นแดงเล็ก ๆ มีอาการคัน แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำพองใส เมื่อแตกออกพื้นแผลจะเป็นสีแดง มีน้ำเหลืองไหล พอแห้งจะตกเป็นสะเก็ดเหลืองเกาะที่แผล ถ้าเกิดที่หนังศีรษะมีชื่อเรียกว่าชันนะตุ หากปล่อยไว้นานแผลอาจลุกลามขยายใหญ่ขึ้น หรือกินลึกลงไปมากขึ้น และเข้าสู่กระแสเลือดได้ การรักษา เริ่มต้นด้วยการล้างทำความสะอาดบาด แผล และใช้ยาทาฆ่าเชื้อ Mupiroxin ประมาณ 7-10 วัน ก็เพียงพอ แต่หากบาดแผลกว้างและลึกมาก อาจต้องใช้ยา Dicloxacillin รับประทานร่วมด้วย
  • รูขุมขนอักเสบ (Folliculitis, Furuncles Carbuncler)
          เป็นการติดเชื้อของรูขุมขนจนเกิดเป็นผื่นแดง ไม่มีอาการหรืออาจคัน หรือเจ็บเล็กน้อย พบได้ในบริเวณที่มีต่อมขนเยอะ เช่น หนวด เครา รักแร้ เป็นต้น ส่วนมากมักจะหายเอง แต่บางครั้งอาจเกิดการอักเสบมาก จนเป็นตุ่มหนอง แดงและเจ็บ เมื่อแตกออกจะมีหนองไหลออกมาได้ เรียกว่าฝี (Furuncles) ถ้าแผลลึกและกว้างมากจนมีรูหนองที่เชื่อต่อกันหลาย ๆ รู เรียกว่า Carbuncles หรือฝีฝักบัวนั่นเอง ซึ่งมักจะมีใช้ร่วมด้วย เนื่องจากการอักเสบที่มากขึ้น การรักษา ในขั้นต้นหากมีอาการ ให้ใช้ยาทาฆ่าเชื้อ 1% Clindamycin ทาบริเวณแผลวันละ 2-3 ครั้ง สำหรับ Furuncies และ Carbuncles จำเป็นต้องผ่าระบายหนองออก และใช้ยา Dicloxacillin รับประทานร่วมด้วย
  • ไฟลามทุ่ง (Erysipelas)
          เป็นการอักเสบของผิวหนังร่วมกับหลอดน้ำเหลือง เริ่มจากตุ่มแดงแล้วกระจายลามออกไปอย่างรวดเร็วแผลมีสีแดงจัด กดเจ็บ ผิวบริเวณนั้นยกขึ้นมาจากบริเวณที่ปกติอย่างชัดเจน ผู้ป่วยจะมีใช้ร่วมด้วย การรักษา รับประทานยา Dicloxacillin ประมาณ 5-7 วัน ร่วมกับการประคบร้อน
  • ผิวหนังอักเสบ (Cellulitis)
          เป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อชั้นหนังแท้และลึกลงไปยังชั้นได้ผิวหนัง ลักษณะเป็นผื่นแดงจัด ลามอย่างรวดเร็ว กดเจ็บและออกร้อน แยกจากไฟลามทุ่งได้จากขอบเขตที่ไม่ชัดเจน มักพบว่ามีอาการใช้และต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย พบได้บ่อยในรายที่ประสบอุบัติเหตุ ผู้ป่วยเบาหวาน อ้วน หรือติดสุรา การรักษา รับประทานยา Dicloxacillin ประมาณ 5-7 วัน ร่วมกับการประคบร้อน
ข้อควรระวัง ไฟลามทุ่งและโรคผิวหนังอักเสบ เป็นโรคที่มีความรุนแรงมากขึ้น เชื้อจะแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่าย ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
2.โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา เชื้อราเป็นเชื้ออีกกลุ่มที่พบได้ทั่วไปในทุกภูมิอากาศ แต่มักก่อโรคในสภาวะที่อับชื้น และพบได้มากขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ หรือกินยาปฏิชีวนะนาน ๆ หรือเป็นเบาหวาน เป็นต้น โรคติดเชื้อผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราที่รู้จักและเป็นกันมาก ได้แก่
  • กลาก
          ธรรมชาติของราชนิดนี้มักเกิดขึ้นในบริเวณที่มีเคอราติน ซึ่งเป็นโปรตีนโครงสร้างชนิดหนึ่ง พบที่ ผิวหนัง เล็บ ขน และผม อาการที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปตามอวัยวะที่ติดเชื้อ อาทิ กลากที่ผิวหนัง เช่น ลำตัว แขน ขา รักแร้ ขาหนีบ ผื่นจะเป็นตุ่มแดงเล็ก ๆ แล้วขยายวงกว้างออกเรื่อย ๆ ขอบนูนแดง มีขุยสีขาว คันมาก
กลากที่ง่ามเท้า เรียกว่าฮ่องกงฟุต หรือน้ำกัดเท้า ผิวหนังบริเวณนั้นจะเป็นแผ่นขาวยุ่ย ลอกออกเป็นแผ่นได้ส่งกลิ่นเหม็นและคันมาก
กลากที่เล็บ มักเกิดบริเวณข้างเล็บเข้ามา จะเห็นเป็นสีน้ำตาล หรือขาวขุ่น ด้าน ขรุขระ หรืออาจเปื่อยยุ่ยได้ ไม่มีอาการเจ็บหรือคัน แต่มักเป็นเรื้อรัง
กลากที่หนังศีรษะ ผื่นเป็นวงเหมือนที่เกิดตามลำตัว แต่พบร่วมกับอาการผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เส้นผมหัก ซึ่งเกิดจากเชื้อราทำลาย
การรักษา สำหรับแผลเฉพาะที่เพียงใช้ยาฆ่าเชื้อ ทาจนแผลหาย อาจจะประมาณ 4-8 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับบริเวณที่ติดเชื้อ แต่ถ้าแผลกว้างมาก เป็นหลายจุด หรือผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจใช้วิธีรับประทานยาฆ่าเชื้อแทน
  • เกลื้อน
          เชื้อราชนิดนี้โดยปกติอาศัยอยู่ที่รูขุมขนของทุกคน โดยได้ไขมันจากรูขุมขนเป็นอาหาร ต่อเมื่อภูมิต้านทานลดลง จึงทำให้เกิดโรค โดยมีลักษณะเป็นต่างขาว มีขุยขอบเขตชัดเจน หรือบางคนอาจเป็นสีเข้มขึ้นก็ได้ แต่มักไม่มีอาการอื่น บริเวณที่พบมาก ได้แก่ ส่วนที่มีต่อมไขมันมาก เช่น ใบหน้า คอ หน้าอก หลัง การรักษา มีทั้งยาทา ยาสระหรือสบู่ ใช้แค่ 3-5 วัน และซ้ำทุกเดือน รวมไปถึงยากินในรายที่มีอาการมาก และต้องใช้อย่างต่อเนื่องจนครบกำหนด แต่ด่างขาวที่เกิดขึ้นอาจต้องรอจนเซลล์ผิวสร้างเม็ดสีขึ้นมาใหม่ จึงจะหายไป ถึงแม้ว่าเชื้อจะถูกกำจัดไปหมดแล้วก็ตาม
การป้องกัน วิธีที่ดีที่สุดคือ การหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ต้องแยกเสื้อผ้ารวมทั้งอุปกรณ์ของใช้ออกจากผู้อื่นเพื่อป้องกันการติดต่อ
3.โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อไวรัส ไวรัสเป็นเชื้อกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในทุกระบบ รวมไปถึงการติดเชื้อที่ผิวหนัง เชื่อว่าหลายท่านคงเคยเป็น หรือมีคนใกล้ตัวเป็นโรคเหล่านี้กันบ้างแน่ ๆ และไม่ต้องแปลกใจนะครับ หากพบว่าเป็นโรคเหล่านี้อยู่บ่อย ๆ เพราะเป็นธรรมชาติของไวรัส ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับเชื้อมาแล้วจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อตัวเชื้อเพื่อ พยายามกำจัด และปกป้องตนเองไม่ให้เป็นโรค แต่ตัวเชื้อก็จะยังคงหลบซ่อนและอาศัยอยู่ในร่างกายนี่ล่ะครับ จนวันดีคืนดีเมื่อภูมิต้านทานต่ำลงก็จะเกิดอาการของโรคขึ้นมาได้ โรคติดเชื้อผิวหนังจากเชื้อไวรัสที่สำคัญ ได้แก่
  • เริม (Herpes Simplex)
          เชื้อเริมเป็นตัวอย่างที่ดีครับว่าสามารถเป็นได้อยู่บ่อย ๆ ถ้าร่างกายอ่อนแอลง เช่น อดนอน ทำงานหนัก เครียด เชื้อนี้มีด้วยกัน 2 ชนิด มักทำให้เกิดอาการในบริเวณที่แตกต่างกันคือ เชื้อชนิดที่ 1 (Herpes Simplex Vinus2) มัก เกิดบริเวณปากและผิวหนังเหนือสะดือขึ้นไป ถ้าเกิดที่ปากเรียกว่า Herpes Labialis ไม่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ติดจากการดื่มน้ำหรือทานอาหารร่วมกัน
เชื้อชนิดที่ 2 (Hepes Simplex Virus2) มักเกิดบริเวณอวัยวะเพศ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ลักษณะของแผลเริมคือ เป็นตุ่มน้ำพองใสเล็ก ๆ ขึ้นเป็นกลุ่ม เมื่อแตกออกจะเป็นแผลตื้น ๆ อยู่บนฐานสีแดง เจ็บและแสบมาก โดยปกติโรคจะดำเนินไปจนหายเองภายใน 10 วัน แต่มีโอกาสเกิดซ้ำถึง 40 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจใช้ยา Acyclovir รับประทานต่อเนื่อง 1 สัปดาห์
  • งูสวัด (Herpes Zoster)
          เชื้อก่อโรคคือ Hepes Varicella Zoster คือเชื้อชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคสุกใส แผลที่เกิดขึ้นจึงมีลักษณะเดียวกันคือตุ่มพองใสบนฐานแดง ขึ้นชิดกัน มักกลายเป็นหนองแห้ง และตกสะเก็ดภายใน 10 วัน ลักษณะที่ต่างจากสุกใส คือ ผื่นจะขึ้นเป็นแนวตามแนวของเส้นประสาท มีไข้ และอ่อนเพลียร่วมด้วย หลายคนถามว่าจริงหรือไม่ ที่บอกว่า ถ้างูสวัดพันครบรอบแล้วจะเสียชีวิต ก็อาจเป็นได้นะครับ เพราะภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยต้องต่ำมากจริง ๆ เชื้อถึงแพร่กระจายเร็ว การรักษา รับประทานยา Acyclovir ตามแพทย์สั่ง
  •  หูด (Wart)
          หูดคือก้อนที่ผิวหนัง อาจจะผิวเรียบ หรือขรุขระ สีขาว ชมพู หรือน้ำตาล เกิดขึ้นบริเวณใดก็ได้ แต่มักพบบ่อยที่นิ้วมือ แขน ขา เกิดจากเชื้อ Human Papilloma Vinus หูดมีลักษณะที่ต่างกันออกไปในแต่ละชนิด คือ  Verrucus Vulgairs หูดธรรมดา เป็นเม็ดเดียว หรือหลายเม็ด ขรุขระ กระจายทั่วไป มักพบบ่อยที่บริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า
Verrucus Plana หูดราบ เป็นเม็ดผิวแบนราบ สีเดียวกับผิวหนัง มักพบที่บริเวณใบหน้า
Condyloma Accuminata หูดหงอนไก่ เป็นติ่งเนื้อนุ่ม สีชมพู

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

ไวรัสตับอักเสบชนิดบี (hepatitis B virus)


ทำ ให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับ และการอักเสบจะทำให้เซลล์ตับตาย หากเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด ตับแข็ง และมะเร็งตับได้ ในประเทศไทย พบผู้ป่วยที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ประมาณ 8-10 ล้านคน โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี จึงนับว่ามีความสำคัญมาก…

ไวรัสตับอักเสบชนิดบี (hepatitis B virus)


แต่ ในปัจจุบันหลังจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีในเด็กแรกเกิด ทุกคน ทำให้อุบัติการณ์ในคนไทยลดลง ประมาณร้อยละ 3-5 เมื่อ เป็นโรคตับอักเสบบีระยะเฉียบพลันแล้วมีโอกาสจะหายขาดประมาณร้อยละ 90 ซึ่งจะกลับเป็นปกติทุกอย่าง ส่วนอีกร้อยละ10 จะไม่หายขาด โดยบางคนอาจจะเป็นพาหะของโรคโดยไม่มีอาการ หรือบางคนอาจจะเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้บางคนอาจจะเป็นโรคตับแข็งตามมา ถ้ายังมีการอักเสบของตับอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมักต้องเป็นนานประมาณ 10-20 ปี บางคนอาจจะเป็นโรคมะเร็งตับได้โดยเฉพาะถ้ามีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรค มะเร็งตับ โอกาสที่จะเป็นโรคตับอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งตับ ในแต่ละคนไม่เท่ากัน
ความร้ายแรงของโรคไวรัสตับอักเสบ บี
ผู้ ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรค และมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น แต่ร้อยละ 10-20 ของผู้ป่วยจะมีเชื้อไวรัสในเลือด และตับ โดยอาจมีอาการของตับอักเสบเรื้อรัง หรืออาจไม่มีอาการ บุคคลทั้งสองกลุ่มนี้สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นต่อไปได้ เราเรียกบุคคลทั้งสองกลุ่มนี้ว่าเป็น “พาหะ” หรือตับอักเสบเรื้อรัง ในประเทศไทย พบผู้ป่วยที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ประมาณ 8-10 ล้านคน ประมาณร้อยละ 10 ของผู้เป็นพาหะจะกลับเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังได้อีก และบางรายอาจตายด้วยโรคตับแข็ง ตับวาย ท้องมาน และอาจเสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้ ผู้เป็นพาหะมีโอกาสเกิดโรคเป็นมะเร็งตับสูงกว่าคนปกติถึง 100 เท่า โดยเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งตับถึงร้อยละ 80 ของผู้ป่วยทั้งหมด โอกาสการเกิดโรคมะเร็งจะมีมากหากผู้ป่วยติดเชื้อชนิดนี้ตั้งแต่วัยเด็ก เช่น ติดมาจากมารดาขณะแรกเกิด เป็นต้น
สาเหตุ
  1. เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี ซึ่งเป็นเชื้อที่มีความคงทนสูง และทำลายได้ยาก การทำลายเชื้อต้องใช้วิธีต้มเดือดนานอย่างน้อย 30 นาที หรือนึ่งภายใต้ความดันสูงนาน 30 นาที หรืออบในตู้อบแห้งที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส นานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือโดยการแช่ในสารเคมี เช่น แช่ในโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 0.5% อย่างน้อย 30 นาที แช่ในฟอร์มาลิน 40% อย่างน้อย 12 ชั่วโมง หรือแช่ในแอลกอฮอล์ 70% อย่างน้อย 18 ชั่วโมง ไวรัส สามารถถ่ายทอดจากมารดาสู่บุตร ซึ่งเป็นสาเหตุการติดเชื้อที่สำคัญประการหนึ่งในประเทศไทย แต่ในปัจจุบันการถ่ายทอดจากมารดาที่ติดเชื้อสู่บุตรลดลงมาก เพราะบุตรที่คลอดออกมาจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ การฉีดวัคซีนให้ทารกที่คลอดมาจะช่วยป้องกันได้เกือบร้อยละ 100
  2. การติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ยัง ถือเป็นวิธีการติดต่อที่สำคัญในปัจจุบัน ทั้งนี้เกิดจากการมีเพศสัมพันธุ์กับผู้ติดเชื้อโดยไม่ได้ป้องกัน ซึ่งไวรัสตับอักเสบชนิดบี จะสามารถติดต่อได้ง่ายกว่าเชื้อไวรัสเอดส์
  3. การได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์ ของเลือดที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ การสัมผัสน้ำคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่น เลือด น้ำเหลือง การติดเชื้อจากการไดรับเลือดพบได้น้อยมากในปัจจุบัน เนื่องจากระบบการตรวจกรองของธนาคารเลือดดีขึ้นมาก
  4. อาจติดต่อได้จากการสัก เจาะหู หรือการฝังเข็ม โดยอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อไม่ถูกต้อง
อาการ
หลัง จากที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี เชื้อจะเข้าไปฟักตัวในร่างกายประมาณ 2-3 เดือน บางรายอาจจะไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด ส่วนในรายที่มีอาการอาจจะอ่อนเพลียเล็กน้อย แต่บางรายจะมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงขวาจากตับ มีไข้ ตับโต ปัสสาวะเข้ม ตัวเหลือง อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์ จากนั้นร่างกายจะค่อยๆ กำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีออกไปพร้อมๆ กับการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีซ้ำอีก
ผู้ ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 จะหายขาดได้ ส่วนอีกร้อยละ 10 จะเป็นชนิดเรื้อรัง ซึ่งสามารถเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับได้ เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้ โดยเฉพาะหากได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีตั้งแต่เด็กๆ ส่วนการเกิดตับแข็งเนื่องจากมีการตายของเซลล์ตับ เกิดมีพังผืดเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นตับแข็งในที่สุด
โรคไวรัสตับอักเสบ บี ติดต่อได้อย่างไร
โรค นี้สามารถติดต่อกันได้โดยการสัมผัสกับเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่งของผู้ป่วยตับอักเสบหรือผู้เป็นพาหะซึ่งเกิดขึ้นได้ในลักษณะ ต่างๆ เช่น
  1. การรับถ่ายเลือด หรือผลิตภัณฑ์จากเลือดที่มีเชื้อไวรัสนี้อยู่
  2. การใช้เข็มฉีดยาที่มีเชื้อปน เปื้อน การเจาะหู การสัก การทำฟันที่ใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้ที่มีเชื้อไวรัสอยู่โดยไม่ได้ผ่านการฆ่า เชื้ออย่างถูกต้อง
  3. การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกันกับผู้ที่มีเชื้อ เช่น แปรงสีฟัน มีดโกน ที่ตัดเล็ก เพราะอาจปนเปื้อนเลือดของผู้ที่มีเชื้ออยู่
  4. การร่วมเพศกับผู้ที่มีเชื้อไวรัสอยู่
  5. การสัมผัสกับเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่ง ของผู้ที่มีเชื้อไวรัสอยู่โดยผ่านเข้าทางบาดแผลโดยไม่รู้ตัว เช่นการกัดกันเล่นๆ ของเด็ก
  6. การถ่ายทอดเชื้อมาจากมารดาที่เป็นพาหะ หรือเป็นโรคอยู่ไปยังลูกระหว่างอยู่ในครรภ์ หรือระหว่างคลอด
การวินิจฉัยโรค
การ วินิจฉัยไวรัสตับอักเสบชนิดบี ในปัจจุบันทำได้ไม่ยาก เพียงตรวจเลือดในปริมาณเล็กน้อยเพื่อหาเปลือกของไวรัส (HBsAg) การตรวจหาหลักฐานว่ามีตับอักเสบหรือไม่โดยการตรวจระดับเอนไซม์ของตับ ในผู้ป่วยที่เป็นตับอักเสบเรื้อรัง แพทย์อาจนัดตรวจระดับเอนไซม์ของตับเป็นระยะๆ การตรวจหาปริมาณไวรัสโดยทางอ้อมด้วยการตรวจ HBeAg หรือการตรวจนับไวรัสในเลือดโดยตรง เพื่อประเมินปริมาณของไวรัสก่อนการรักษา ในบางรายแพทย์อาจจะพิจารณาตรวจชิ้นเนื้อตับ โดยใช้เข็มที่มีขนาดเล็กเจาะผ่านผิวหนังหลังจากฉีดยาชา ซึ่งการตรวจชิ้นเนื้อนี้จะให้ข้อมูลที่สำคัญอย่างมากเกี่ยวกับการอักเสบของ ตับ
ถ้า ตับส่วนมากเกิดเป็นโรคตับแข็ง จนตับส่วนดีที่เหลืออยู่ทำงานแทนตับส่วนที่เสียไปไม่ไหว อาจจะมีอาการดังนี้ ท้องบวม เพราะมีน้ำในท้อง อาจจะบวมที่เท้า ข้อเท้า มือ อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำเหมือนถ่าน เพราะมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร หรือลำไส้ เกิดจากเลือดไหลเข้าตับที่เป็นตับแข็งได้ไม่ดีเลยคั่งตามรอบๆ ทางเดินอาหาร ท้องอืด ท้องเฟ้อมาก อาหารไม่ย่อย เบื่ออาหาร
การรักษา
  1. คนที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรังบางคนอาจจะหายเองได้ แต่ส่วนใหญ่จะไม่หายเอง เหตุผลที่ต้องรักษาภาวะตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบี เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้มีโอกาสกลายเป็นตับแข็งและมะเร็งตับได้สูงกว่าคน ทั่วไป โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับสูง คือผู้ป่วยชายอายุมากกว่า 40 ปี มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ และมีตับแข็งร่วมด้วย การรักษาโดยการใช้ยานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกำจัดเชื้อไวรัส ลดการอักเสบของตับ ลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตับแข็งและโรคมะเร็งตับ และลดการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น
  2. ยาชนิดฉีดที่ได้ผลดีในปัจจุบัน คือ อินเตอร์เฟอรอน (interferon) มีใช้มานานกว่า 20 ปีแล้ว อาศัยหลักการที่สารอินเตอร์เฟอรอนสร้างจากเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ ซึ่งสามารถกำจัดไวรัสได้ แต่ในผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังมีสารนี้ไม่เพียงพอที่จะกำจัดไวรัส ให้หมดไป จึงต้องให้อินเตอร์เฟอรอนจากภายนอกเข้าไปเสริม ต้องฉีดติดต่อกันนาน 4-6 เดือน โอกาสที่จะกำจัดเชื้อได้หมด พบน้อยกว่าร้อยละ 5 แต่ช่วยลดความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อได้ร้อยละ 40-60 (HBeAg จากบวกเป็นลบ, anti HBe จากลบเป็นบวก) และลดการเกิดตับแข็ง และมะเร็งตับได้ แต่อินเตอร์เฟอรอน มีข้อเสียคือ ผลข้างเคียงค่อนข้างมาก เช่น อาการไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ ไทรอยด์เป็นพิษกำเริบ และอาการทางจิตประสาท เป็นต้น แต่อาการข้างเคียงเหล่านี้ ไม่ได้พบในผู้ป่วยทุกราย การฉีดอินเตอร์เฟอรอนจะไม่ได้ผลในรายที่เป็นพาหะ
  3. ยาชนิดรับประทานที่ได้ผลดีคือ ลามิวูดีน (lamivudine) ออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส และอาจมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยกระตุ้นทางอ้อมให้เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ตอบสนอง และกำจัดเชื้อไวรัสได้ดีขึ้น ในระยะแรกจำนวนไวรัสลดลงอย่างมาก เช่นเดียวกันยานี้ใช้ได้เฉพาะในรายที่มีภาวะตับอักเสบมาก่อนเท่านั้น และต้องกินยาทุกวันเป็นเวลานานเป็นปีๆ ผู้ป่วยที่ได้รับยานาน 1 ปี จะทำให้ไวรัสหยุดแบ่งตัวร่วมกับเอนไซม์ตับกลับมาปกติได้ผลประมาณร้อยละ 20 แต่การรักษาจะได้ผลเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 40 ถ้าผู้ป่วยมีภาวะตับอักเสบปานกลาง ก่อนเริ่ม

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

เบาหวานน่ากลัวกว่าที่คิด


นาย แพทย์สุวินัย บุษราคัมวงษ์ โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 2 กล่าวถึงผู้ที่เป็นเบาหวานมานานกว่า 15 ปี จะมีโอกาสเป็นเบาหวานขึ้นตามากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
นาย แพทย์สุวินัย บุษราคัมวงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 2 กล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้เบาหวานลุกลามไปที่ตาว่า “ผู้ที่เป็นเบาหวานมานานกว่า 15 ปี จะมีโอกาสเป็นเบาหวานขึ้นตามากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเป็นเบาหวาน เส้นเลือดตามอวัยวะต่างๆในร่างกายจะเสื่อมสภาพลง
ใกล้บอดเพราะเบาหวาน
ซึ่ง การเสื่อมของเส้นเลือดนี้ไม่เฉพาะเจาะจงว่าจะเกิดขึ้นที่ใด พอเกิดเส้นเลือดที่ตาเสื่อม ร่างกายก็จะมีการสร้างเส้นเลือดใหม่ขึ้นมาแทน และเส้นเลือดที่งอกขึ้นมาใหม่นี่เองที่ทำให้ตาของเราผิดปกติ โดยอาจทำให้ความดันในลูกตาเพิ่มขึ้น หรือทำให้เกิดการรั่วของโปรตีนในลูกตา ส่งผลให้เกิดความผิดปกติด้านการมองเห็นได้”
“เบา หวานส่งกระทบได้ตั้งแต่กระจกตา เลนส์ตา ไปจนถึงวุ้นในตา ขึ้นอยู่กับว่า จะไปกินตรงก่อน ถ้าเกิดเป็นที่เลนส์ตาก็จะทำให้ตาบวม เป็นต้อกระจก ต้อหิน แต่ถ้าเป็นที่จอตาก็จะทำให้เห็นภาพดำๆ เบลอๆ ไป หรือว่าเหมือนมีเงาๆ อยู่ตลอดเวลา เกิดเลือดออกในจอตา และอาจรุนแรงถึงตาบอดได้”
วิธีหลีกเลี่ยงเบาหวานคุกคามดวงตา
  1. ควบ คุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย เพราะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานหากควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีเท่าไร โอกาสที่เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงดวงตาจะมีความยืดหยุ่นและคงทนก็จะยิ่งมีมาก ขึ้น
  2. ตรวจสายตาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจหาความเสี่ยงและการรั่วของโปรตีนในตาซึ่งเป็นสาเหตุเบื้องต้นของอาการผิดปกติที่ดวงตา
  3. ระมัด ระวังเรื่องการใช้สายตาเป็นพิเศษ ไม่ควรเพ่งมาก อ่านหนังสือในบริเวณที่มีแสงสว่างเพียงพอ และเมื่อมีอาการผิดปกติที่ตา เช่น ตาพร่ามัว ตาบวม ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน
  4. อย่าซื้อยามาหยอดตาเองโดยเด็ดขาด เพราะยาบางตัวอาจกระตุ้นให้เกิดอันตรายถึงตาบอดได้
เพราะเบาหวานจึงต้องตัดขา
แม้ จะรู้ว่าเบาหวานเป็นโรคเงียบที่ซ่อนเร้น และรักษาไม่หาย แต่เหตุใดอาการเบาหวานของบางคน ถึงลุกลามใหญ่โตจนต้องตัดอวัยวะสำคัญของร่างกาย ซึ่งคุณหมอสุวินัย ได้ขยายความไว้ดังนี้
“เบา หวานเป็นโรคที่ทำให้เกิดความเสื่อมของเส้นเลือดได้ง่าย เพราะพอเป็นแล้วจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติสองอย่างคือเส้นประสาทส่วนปลาย เสื่อม ซึ่งคนไข้เบาหวามมักจะเกิดอาการชาบริเวณปลายขา ปลายมือ เวลาเป็นแผลจึงไม่รู้ตัว และทำให้เส้นเลือดตามร่างกายเสีย เพราะคนเป็นเบาหวานเส้นเสือดส่วนปลายจะเสื่อม พอเป็นแผลก็ทำให้เลือดไปเลี้ยงตรงที่เป็นแผลไม่ดี ทำให้ เป็นแผลเรื้อรังไม่หายสักที”
“หลาย คนอาจเข้าใจว่าการเสียขา เพราะเบาหวานไปหนึ่งข้าง เท่ากับเราเสียไป 50 เปอร์เซ็นต์นะ แต่ในความเป็นจริงแล้วเราเสียไปแล้วถึง 70 เปอร์เซ็นต์ เพราะขาของเราเกี่ยวโยงโดยตรงกับระบบของการทรงตัว การถูกตัดขาจึงถือเป็นเรื่องร้ายแรง เพราะจะทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป เช่น ต้องออกจากงาน เดินไม่คล่อง เป็นภาระคนอื่น”
“ส่วน ใหญ่คนไข้ร้อยทั้งร้อย ไม่ยอมให้ตัดหรอก แพทย์เองเราก็พยายามป้องกันให้ได้มากที่สุด เพราะเข้าใจ ซึ่งก่อนที่จะตัด หมอต้องดูลักษณะของแผลก่อนว่าล้างได้ไหม ถ้าจำเป็นก็ต้องตัด เพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลาม จนติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดอาการช็อคและเสียชีวิตได้”
วิธีดูแลเท้าขณะป่วยเป็นเบาหวาน
  1. ตรวจดูเท้าทุกวัน ถ้ามีแผลหรือมีการอักเสบแม้เพียงเล็กน้อย อย่านิ่งดูดายต้องไปปรึกษาแพทย์ทันที
  2.  รักษาเท้าให้สะอาด ล้างเท้าทุกวันและเช็ดเท้าให้แห้ง โดยเฉพาะตามซอกนิ้วเท้า
  3. ไม่ ควรเดินเท้าเปล่า ควรใส่รองเท้าแตะนุ่มๆ เมื่อเดินอยู่ในบ้าน และเมื่อออกจากบ้านควรเลือกรองเท้าพื้นนิ่ม ไม่หลวมหรือคับจนเกินไป ทั้งนี้หากมีรอยแผลที่เท้า แสดงว่าใส่รองเท้าไม่เหมาะสม
  4. ควร เดินออกกำลังกายสม่ำเสมอ วันละประมาณ 30 นาที กรณีเดินแล้วปวดน่อง ควรฝืนเดินต่ออีก 5-10 ก้าว เพื่อเพิ่มการสร้างเนื้อเยื่อของขาให้ดีขึ้น
  5. ควรตัดเล็บเท้าทุก 1-2 สัปดาห์ ก่อนตัดเล็บควรแช่เท้าน้ำอุ่น ไม่เกิน 37 องศาเซลเซียส นาน 10-15 นาที จะทำให้เล็บอ่อน และตัดง่าย
  6. เมื่อ สังเกตเห็นความผิดปกติของเท้า เช่น สี มีอาการบวมช้ำเนื้อแข็ง มีตาปลา เป็นต้น อย่านิ่งดูดายรีบไปพบแพทย์ เพราะนั่นเป็นสัญญาณอันตรายของความผิดปกติ และอาจนำไปสู่การถูกตัดขาได้
ไตวายเพราะเบาหวาน
ทั้ง นี้คุณหมอสุวินัย กล่าวว่า ความน่ากลัวของโรคนี้อยู่ที่โรคแทรกซ้อนที่ตามมามากมาย ด้วยเหตุนี้คนเป็นเบาหวานจึงมีโอกาสเกิดโรคหัวใจและอัมพาตได้มากกว่าคนปกติ ถึง 3 เท่า
“จาก สถิติพบว่ากว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของคนไข้ที่ต้องล้างไตเกิดจากเบาหวานมากกว่า เพราะจากการศึกษาพบว่า ไตมีหน้าที่ในการขับของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งต้องทำงานตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้เมื่อผู้ป่วยเบาหวานมีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงมาก ไตก็จะยิ่งทำงานหนัก และส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติตามมา เช่น ขาบวม ปัสสาวะออกน้อย คลื่นไส้อาเจียน ปวดหัว ไม่มีแรง ปวดหัวใจ เป็นมากๆหากไม่ได้รับการฟอกไตก็อาจทำให้เกิดการช็อคและเสียชีวิตได้”
วิธีป้องกันเบาหวานรุกรานไต
  1. จำกัดอาหารรสเค็มโดยเด็ดขาด เพราะจะยิ่งทำให้ไตทำงานได้หนักขึ้น
  2. ตรวจสอบการทำงานของไต โดยการไปตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะอย่างน้อยปีละครั้ง
  3. เมื่อมีอาการเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย แสบขัด ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะเป็นเลือด ควรไปพบแพทย์
  4. ยาทุกชนิดมีผลกับการทำงานของไต ดังนั้นก่อนใช้ยาต้องปรึกษาแพท

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | cheap international calls