วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ผลกระทบจากอารมณ์ทั้ง 7

การแพทย์แผนตะวันออกเชื่อว่า ร่างกายและจิตใจของคนเรา มืความสัมพันธ์กันอย่างแยกกันไม่ออก เวลาที่จิตใจ ของเรามีความเครียด ความโกรธ หรือ อารมณ์ในทางลบก็จะมีผลต่อร่างกายของเรา ความผิดปกติทางอารมณ์และจิตใจเป็นเหตุของการเจ็บป่วย โดยการแพทย์แผนตะวันออกให้ความสำคัญไปที่ความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ที่เป็นสาเหตุของโรคมี 7 อย่าง คือ โกรธ, ดีใจ, เศร้าโศกเสียใจ, ซึมเศร้าวิตกกังวล , ครุ่นคิด, หวาดกลัว และ ตกใจ
     อย่าพึ่งตกใจไปครับ อารมณ์ทั้ง 7 เหล่านี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของทุกคนอยู่แล้ว อารมณ์ที่เกิดขึ้นในระดับปกติ จะไม่ส่งผลกระทบอะไรต่อร่างกาย ของเรา แต่อารมณ์ที่ผิดปกติเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน รุนแรงและติดต่อกันเป็นเวลานาน  จนร่างกายปรับตัวไม่ได้ จะส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือดลม จนขาดความสมดุล จึงจะทำให้เราเจ็บป่วยได้ เช่น อารมณ์ โกรธ หงุดหงิดง่าย ตลอดเวลา จึงจะเป็นผลร้ายต่อร่างกาย


      อารมณ์ทั้ง 7 ทีเกิดขึ้นจะส่งผลต่ออวัยวะภายในต่างๆกันไป  คือ


อารมณดีใจ - ส่งผลกระทบกับหัวใจ ทำให้เลือดและลมปราณหัวใจไหลเวียนช้าลง ช่วยผ่อนคลาย สบายใจ เลือดลมไหลเวียนดี
* แต่ถ้าดีใจมากเกินไป เลือดและลมปราณจะกระจัดกระจาย ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย เกียจคร้าน ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ
* และถ้าอาการดังกล่าวเป็นมาก ก็จะเกิดภาวะใจสั่น กระวนกระวาย อาละวาด

อารมณ์โกรธ - ส่งผลกระทบต่อตับ ทำให้เลือดและลมปราณ(ชี่)ปั่นป่วนแล่นขึ้นสูง เกิดอาการ เวียนศีรษะ หน้าแดง หูมีเสียง อาเจียนเป็นเลือด หมดสติ
* ชี่ตับกระทบม้าม เกิดท้องอืด ท้องเดิน
* ชี่ตับกระทบกระเพาะอาหาร เกิดคลื่นไส้ อาเจียน
* ชี่ตับกระทบไต ทำให้รู้สึกหวาดกลัว ความจำเสื่อม ปวดเมื่อย อ่อนแรงที่เอว

อารมณ์เศร้าโศกเสียใจ - ส่งผลกระทบต่อชี่ของปอด ทำให้ชี่แล่นลงต่ำ ส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ
* ชี่ของปอดถูกบั่นทอน ชี่ปอดพร่องจะทำให้แน่นหน้าอก หายใจขัด เชื่อมซึม ไม่มีแรง
* กระทบต่อชี่หัวใจ เกิดอาการใจสั่น ใจลอย
* กระทบต่อชี่ม้าม ชี่ในจงเจียวติดขัด จะทำให้อาหารไม่ย่อย ท้องอืด แขนขาอ่อนแรง

อารมณ์ครุ่นคิด - ส่งผลกระทบต่อชี่ของม้าม
* ชี่ม้ามติดขัด จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของม้าม และกระเพาะอาหาร ทำให้เบื่ออาหาร ท้องอืด ท้องเดิน
* ม้ามทำหน้าที่ลำเลียงชี่และเลือดไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อ เมื่อเกิดการติดขัด กล้ามเนื้อจะลีบเล็กลง
* ถ้าครุ่นคิดมาก ทำให้เลือดของหัวใจถูกใช้ไปโดยไม่รู้ตัว ทำให้เลือดหัวใจพร่อง มีอาการใจสั่น นอนไม่หลับ ฝัน ความจำเสื่อม ขี้หลงขี้ลืม

อารมณ์ซึมเศร้าวิตกกังวล - ส่งผลกระทบปอด
* หากวิตกกังวลมากเกินไป ชี่ปอดจะติดขัด เกิดอาการหายใจเบา พูดเสียงต่ำ แน่นหน้าอก แล้วยังมีผลกระทบชี่หัวใจ รวมทั้งตับและม้ามได้

อารมณ์หวาดกลัว - ส่งผลกระทบต่อไต
* ทำให้ชี่ไตตก ไม่มีแรงดูดรั้ง ทำให้ผู้นั้นกลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่ได้ ฝันเปียก แขนขาไม่มีแรง ปวดเอว
* ทำให้ไตไม่สามารถส่งสารจำเป็นและชี่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจและปอด เรียกว่า ไฟกับน้ำไม่ปรองดองกัน จะเกิดอาการแน่นหน้าอกและท้องหงุดหงิด นอนไม่หลับ

อารมณ์ตกใจ - ทำให้ชี่หัวใจสับสน
* ชี่และเลือดไม่สมดุล ทำให้เกิดอาการใจสั่น กระวนกระวาย นอนไม่หลับ หายใจขัด
* ถ้าเป็นมาก จะมีอาการของโรคจิตประสาท

     ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า อารมณ์มีผลต่อการเกิดโรค  ถ้าอารมณ์ทั้งเจ็ดเกิดขึ้นอย่างฉับพลันรุนแรงหรือติดต่อกันเป็นระยะเวลายาว นาน ย่อมส่งผลต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย  ถ้าเราไม่อยากป่วยก็ควรมี สติ รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง อยู่เสมอ
Credit : ข้อมูลบางส่วนจาก หนังสือจีนบำบัด , Nakornthon Hospital , รูปประกอบจาก Internet

5 โรคร้ายทำลายชีวิตคุณผู้ชาย

ภาพประกอบจาก internet
ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่คอยรบกวนจิตใจของผู้ชายมากที่สุด มีอยู่ด้วยกัน 5 โรค เรียงตามลำดับ top hits ติด chart Top5 ในยุคนี้ มาดูกันว่ามีโรคอะไรบ้าง
  • อันดับแรกเลยที่คุณๆผู้ชายทั้งหลายเป็นกังวลกันมาก ได้แก่ ผมร่วงศีรษะล้าน โรคนี้ร้อยละ 90 เกิดจากกรรมพันธุ์โดยฮอร์โมนเพศชาย DHT จะเข้าไปขัดขวางกระบวนการสร้างเส้นผม ทำให้เซลล์รากผมเกิดการฝ่อตัวและหลุดร่วงในที่สุด ในปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดรักษาได้หายขาด ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การหยุดปัจจัยที่ทำให้เกิดผมร่วง เช่น ความเครียด การอดอาหารหรือการทานยารักษาเบาหวานและไทรอยด์ ฯลฯ

  • อันดับสองใน chart นี้ได้แก่ ลงพุง , สาเหตุของการ ลงพุง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ  เกิดจากกรรมพันธุ์ , การรับประทานอาหารเกินความจำเป็น และการไม่ออกกำลังกาย ทำให้มีปริมาณไขมันสะสมที่ช่องท้องมาก ถ้าคุณผู้ชายทั้งหลายวัดรอบเอวแล้วมีขนาดเกินกว่า 80 หรือ 90ซม. แสดงว่าคุณกำลังเสี่ยงต่อการเป็นโรคลงพุงแล้ว ดัง นั้นควรออกกำลังกายควบคู่ไปกับการทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้งในมื้อเย็น หรือจะทานข้าวชนิดที่ไม่ขัดขาวแทนได้ งดเนื้อสัตว์ติดมัน ควรทานผักและผลไม้ให้มากแต่ไม่ควรบริโภคแทนมื้ออาหาร
  • อันดับสาม ได้แก่ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หมายถึง ภาวะที่ไม่สามารถทำให้อวัยวะเพศแข็งตัว จนนำไปสู่ปัญหาของการมีเพศสัมพันธ์สาเหตุเกิดจาก ความเครียด ,การดื่มแอลกอฮอล์จัด และการทานยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ หรือ ยารักษาภาวะซึมเศร้ารวมไปถึงผู้ที่เป็น โรคเบาหวานหรือ โรคหัวใจด้วย อย่างไรก็ตามภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนี้ อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงสั้นๆ และหายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องทำการรักษา การป้องกันสามารถทำได้ด้วย การรักษาสุขภาพกายและใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ อย่าเครียด
  • ความเครียด ผู้ชายที่เครียดมากๆ จะเสี่ยงต่อการเกิด ความดันโลหิตสูงและโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดในสมอง ดังนั้นควรใช้ชีวิตแบบพอดีๆ และอย่าตั้งความหวังที่สูงจนเกินไป รวมทั้งควรหากิจกรรมผ่อนคลายทำในยามว่าง นอกจากนี้ควรงด กาแฟ ,บุหรี่ ,แอลกอฮอล์ และ อาหารสำเร็จรูปที่อาจส่งผลต่อสารเคมีในสมอง
  • สุดท้ายได้แก่โรคร้ายในยุคนี้ มะเร็ง รายงาน จากสถาบันวิจัยโรคมะเร็งของอังกฤษ ระบุว่า ผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง โดยมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่า่ ผู้หญิงถึงรอ้ยละ 70 โดยโรคมะเร็งที่พบจะเกิด มะเร็ง ได้ที่ หลอดอาหาร ,กระเพาะอาหาร ,ลำไส้ ,ตับ ,ตับอ่อน ,ไต ,กระเพาะปัสสาวะ และต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น
ถ้าไม่อยากเป็น 5 โรคที่กล่าวมา ควรหลีกเลี่ยงยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเร้าภายนอกที่จะทำให้เกิดปัญหาเช่น การเมือง (ข้อนี้เอามาจากที่เห็นช่วงนี้ google เอาโฆษณาการเมืองพรรคหนึ่งมาแปะใน blog แต่ไม่รู้จะทำยังไงให้ไม่มี โฆษณาการเมือง ในนี้) หันมาเอาใจใส่ ดูแลสุขภาพ กาย สุขภาพใจ ของตัวเองซักนิด หมั่นดูแลตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อชีวิตที่ยืนยาว และเพื่อคนที่คุณรัก ...

สาเหตุที่ทำให้ร่างกายเจ็บป่วย

มนุษย์กับโรคภัยไข้เจ็บนั้น เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ในปัจจุบันโรคภัยต่างๆได้มีการพัฒนาตนเองไปอย่างมากมายจนบางครั้งยากที่ จะรักษา ทางที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้ร่างกายเจ็บป่วยคือการป้องกันตนเองจาก สาเหตุของโรค
ในทฤษฏีการแพทย์แผนตะวันออก จำแนกสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเจ็บป่วยโดยแบ่งออกเป็น 3 สาเหตุใหญ่ๆด้วยกัน


เหตุภายนอก - เหตุจากภายนอกที่เข้ามากระทบร่างกาย ส่วนใหญ่เกิดจากสภาพอากาศ รุกล้ำเข้าสู่ร่างกายจนทำให้่ร่างกายเจ็บป่วย

เหตุภายใน - เหตุจากสภาพภายในร่างกาย ได้แก่ ความผิดปกติทางอารมณ์และจิตใจ การแพทย์แผนตะวันออกเน้นความสำคัญไปที่ความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ที่เป็นสาเหตุของโรคมี 7 อย่าง คือ โกรธ, ดีใจ, เศร้าโศกเสียใจ, ซึมเศร้าวิตกกังวล , ครุ่นคิด, หวาดกลัว, ตกใจ ในแง่ที่ว่าสภาพจิตใจมีกระทบต่ออวัยวะภายในร่างกาย, การไหลเวียนของเลือดลม จนทำให้ขาดความสมดุลจนร่างกายเกิดการเจ็บป่วย

เหตุที่วินิจฉัยไม่ได้ว่าเกิดจากเหตุภายนอกหรือภายใน - อันนี้เป็นเหตุจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นการทานอาหารไม่เป็นเวลา ไม่ถูกหลักโภชนาการ การทำงานหนัก, การออกกำลังกายไม่เพียงพอ, การได้รับบาดเจ็บจากภายนอก เป็นต้น

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | cheap international calls