วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ hyperthyroid

 

       โรค ไฮเปอร์ไทรอยด์ hyperthyroid หมายถึงภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากว่าปกติ ผู้ป่วยมีอาการอารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ
กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตาโปน มือสั่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย คอพอก ประจำเดือนผิด ปกติ ขี้ร้อน น้ำหนักลดแม้ว่าจะรับประทานอาหารได้ดี อาการเป็นพิษของต่อม ไทรอยด์ เกิดจากฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ที่ถูกสร้างเพิ่มมากขึ้นนั้น จะหลั่งไปในกระแสโลหิต ออกฤทธิ์กระตุ้นอวัยวะต่างๆ ให้ทำงานมากขึ้น โรคนี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม พบว่าบางครอบครัวเป็นโรคนี้สืบทอดต่อกันมาหลายชั่วคน และพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 7-8 เท่า
ต่อมไทรอยด์เป็น ต่อมไร้ท่อใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ที่ส่วนหน้าของลำคอ ใต้ลูกกระเดือกลงมา มีรูปร่างเหมือนเกือกม้าหรือผีเสื้อ ปกติจะใหญ่กว่าหัวแม่มือของเจ้าของต่อม มองเห็นได้ชัดเจน มีขนาดยาว 4 ซม.กว้าง 1-2 ซม. ทำหน้าที่สร้างและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาสู่กระแสเลือด ฮอร์โมนนี้ต่อมไทรอยด์สร้างเองโดยอาศัยไอโอดีนจากอาหารที่กินเข้าไปเป็น วัตถุดิบ หน้าที่ของไทรอยด์ฮอร์โมนมีมากมาย ออกฤทธิ์กระตุ้นทั่วร่างกาย ทำให้เซลล์ต่างๆ ทำงานเป็นปกติ อวัยวะที่กระตุ้นมากที่สุด คือหัวใจกับประสาท ไทรอยด์ฮอร์โมนยังทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในเลือด รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึก ปกติต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนออกมาในปริมาณที่เหมาะสม ฮอร์โมนที่สำคัญคือ T4 และ T3 โดยฮอร์โมนนี้จะมีธาตุไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญ ถ้าฮอร์โมนหลั่งน้อยไปเรียกว่า hypothyroid ร่างกายจะเกิด การเผาผลาญน้อยลง แต่ถ้าหากฮอร์โมนหลั่งมากร่างการจะมีการเผาผลาญอาหารมากทำให้น้ำหนักลดเรียก ว่า hyperthyroid
ความผิดปกติ หรือโรคของต่อมไทรอยด์มี มากมายหลายชนิด มักพบในสตรีเป็นส่วนใหญ่ สตรีจะเป็นโรคของต่อมไทรอยด์มากกว่าผู้ชายหลายเท่า โรคของต่อมไทรอยด์ที่พบบ่อยได้แก่ ต่อมไทรอยด์โตขึ้น โดยทั่วไป เรียกว่าโรคคอพอก ซึ่งจำแนกออกได้เป็นคอพอกชนิดเป็นพิษ และไม่เป็นพิษ นอกจากนั้นยังมีโรคมะเร็งของต่อมไทรอยด์ ถุงน้ำหรือซีสต์ของต่อมไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์อักเสบ เป็นต้น โรคของต่อมไทรอยด์ชนิดที่ทำงานน้อยไปเรียก hypothyroid ต่อมไทรอยด์ทำงานมากไปเรียกว่า hyperthyroid
ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะโรค hyperthyroid เท่านั้น ซึ่ง สาเหตุสำคัญของโรคคอพอกเป็นพิษคือ โรค Grave’s disease เกิดภาวะที่มีภูมิไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามาก ผู้ป่วยจะมีต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม บางคนเป็นโรค multinudular toxic goiter หมายถึงภาวะที่ก้อนในต่อมไทรอยด์ทำงานสร้างฮอร์โมนเพิ่มขึ้น อาจก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ และสาเหตุที่พบน้อยกว่าโรคอื่นคือ thyroiditis ช่วงแรกของต่อมไทรอยด์อักเสบจะมีอาการของคอพอกเป็นพิษ
ผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์จะ มีอาการอารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตาโปน มือสั่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย คอพอก ประจำเดือนผิดปกติ ขี้ร้อน น้ำหนักลดแม้ว่าจะรับประทานอาหารได้ดี อาการเป็นพิษของต่อมไทรอยด์ ก็เพราะฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ที่ถูกสร้างเพิ่มมากขึ้นนั้น จะหลั่งไปในกระแสโลหิต มีฤทธิ์กระตุ้นอวัยวะต่างๆ ให้ทำงานมากขึ้น หัวใจจะถูกกระตุ้นมากที่สุด ทำให้เกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและแรง บางครั้งก็ไม่สม่ำเสมอ ทำให้เหนื่อยง่าย กระตุ้นเซลล์ของร่างกาย ให้สร้างพลังงานิดมามากเกินพอ ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีพลังงานเหลือเฟือ จึงมักอยู่ไม่สุข ต้องทำโน่นทำนี่ ดูลุกรี้ลุกรน พูดเร็ว รวมแล้วดูเป็นคนหลุกหลิก ลอกแลก มักเป็นคนขี้ร้อน เหงื่อออกมาก ผู้ป่วยจึงมักชอบอากาศเย็นๆ แต่มือจะอุ่น และมักมีเหงื่อออกชุ่ม หิวบ่อย กินจุ แต่ไม่อ้วน น้ำหนักลด อุจจาระบ่อย ประสาทถูกกระตุ้นทำให้มีอาการคล้ายโรคประสาท มีอาการทางกล้ามเนื้อคือกล้ามเนื้อต้นแขน ต้นขา มักอ่อนแรง ถ้าเป็นมากๆ จะก้าวขึ้นบันได หรือรถเมล์ไม่ไหว ประจำเดือนบางทีมาน้อยหรือห่างออกไป ลูกตาอาจโปนถลนออกมา อาจมองเห็นภาพซ้อนกันอยู่เสมอ
image
การวินิจฉัยโดยตรวจเลือดพบว่าระดับ T3 หรือ T4 ในเลือดสูง และ ระดับ TSH ในเลือดต่ำ เรียกว่าเป็นการตรวจหาระดับไทรอยด์ฮอร์โมน ต่อมใต้สมองจะสร้างฮอร์โมนTSH ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมน T3 และ T4 เพื่อให้ร่างกายเผาผลาญอาหาร หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไปเรียก hyperthyroidism ตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 สูงแต่ TSH ต่ำ หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยเกินไปเรียก hypothyroidism ตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 ต่ำแต่ TSH สูง การตรวจไทรอยด์สแกนเพื่อดูว่าสภาพต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม หรือมีก้อนในต่อมไทรอยด์ หรือเป็นต่อมไทรอยด์อักเสบ เนื่องจากการตรวจไทรอยด์สแกนเป็นการตรวจต่อมไทรอยด์โดยการให้ผู้ป่วยรับ ประทานเกลือไอโอดีนที่อาบสารรังสี หลังจากนั้นจึงนำผู้ป่วยเข้าเครื่องตรวจ ประโยชน์ของการสแกนเพื่อบอกว่าต่อมไทรอยด์มีการอักเสบหรือไม่ ตรวจว่าต่อมไทรอยด์มีการสร้างฮอร์โมนเพิ่มหรือไม่ และช่วยแยกก้อนที่ไทรอยด์ว่าเป็นชนิดใด สำหรับวิธี needle aspiration เป็นการใช้เข็มเจาะเนื้อไทรอยด์โดยการใช้เข็มเล็กๆ ดูดเนื้อเพื่อนำส่งตรวจทางกล้องจุลทัศน์เพื่อตรวจเนื้อเยื่อว่าเป็นมะเร็ง คอพอกเป็นพิษ หรือเป็นถุงน้ำชนิดธรรมดา การตรวจอุลตราซาวน์ก็เพื่อตรวจดูว่าก้อนไทรอยด์ที่โตเป็นก้อนเนื้อหรือเป็น ถุงน้ำชนิดธรรมดา
การรักษามีได้หลายวิธีแพทย์ จะพิจารณาจาก อายุ สภาพของผู้ป่วย ชนิดของคอพอกเป็นพิษ ความรุนแรงของโรค การรักษาโดยกินยาที่มีฤทธิ์ไประงับการสร้างฮอร์โมน การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ การกินสารไอโอดีนชนิดปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกมาเพื่อไปทำลายต่อมไทรอยด์ หรือเรียกว่าการดื่มน้ำแร่นั่นเอง แพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยจะเป็นผู้พิจารณาเลือกใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับ ผู้ป่วยแต่ละรายได้
การรักษาโดยการกินยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน เช่น PTU, Methimazole ส่วนการใช้ยาอื่นๆ beta-blocker เช่น propanolol, atenolol, metoprolol เพื่อลดอาการของโรค ยารับประทานสำหรับโรคไทรอยด์เป็นพิษที่มีใช้ในประเทศไทยอย่างแพร่หลายมี เพียงสองชนิดเท่านั้น หากแพ้ยาชนิดแรกอาจลองใช้ยาอีกชนิดหนึ่ง หากลักษณะของการแพ้ยาเป็นแบบคัน,ผื่นคัน อาการเหล่านี้อาจดีขึ้นเมื่อลดจำนวนเม็ดยาลง แพทย์อาจให้ยาแก้แพ้ควบคู่ไปกับยารักษาไทรอยด์เป็นพิษ
image
การรับประทานน้ำแร่ radioactive iodine เมื่อ ผู้ป่วยรับประทานน้ำแร่เข้าไป ต่อมไทรอยด์ก็จะรับไอโอดีนที่มีรังสีเข้าไป รังสีนี้จะทำลายเนื้อต่อมไทรอยด์ แพทย์จะคำนวณขนาดยาที่เหมาะสม หากได้มากเกินไปจะเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจำเป็นต้องได้รับยาไทรอยด์ ฮอร์โมนไปตลอดชีวิต แต่ถ้าหากได้รับน้ำแร่น้อยไปผู้ป่วยยังคงเกิดอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษแต่ รุนแรงน้อยลง แพทย์จะนัดให้ยาอีกครั้ง โดยทั่วไปการรักษาไทรอยด์เป็นพิษคือ การกินยารักษาไทรอยด์ ซึ่งจะให้กินประมาณ 2 ปี ถ้ากินยาครบ 2 ปีแล้วไม่หาย หรือไม่สามารถหยุดยาได้ จึงแนะนำรักษาด้วยการกลืนแร่รังสี การกลืนแร่รังสีทำได้ที่โรงพยาบาลที่มีแผนกเวชศาสตร์นิวเคลียร์ การกลืนน้ำแร่ (ไม่ใช่กลืนก้อนแร่) เป็นวิธีรักษาโรควิธีหนึ่ง “น้ำแร่” คือ ไอโอดีนพิเศษที่มีคุณสมบัติปลดปล่อยรังสีได้ ให้ผู้ป่วยดื่มเพียงครั้งเดียว ไอโอดีนจะไปสะสมที่ต่อมไทรอยด์เท่านั้น ไม่ไปรบกวนอวัยวะอื่นใด ต่อมไทรอยด์จะค่อยๆ ฝ่อจากฤทธิ์ของรังสี เมื่อต่อมไทรอยด์ฝ่อแล้วโรคไทรอยด์เป็นพิษก็จะหาย ปริมาณรังสีจากน้ำแร่ไม่มีผลต่อความสามารถในการมีบุตร
สำหรับการผ่าตัด ปัจจุบัน ได้รับความนิยมลดลงไปมาก โดยเลือกใช้กับผู้ป่วยบางราย เช่น เด็ก วัยรุ่น หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหากับยาที่รักษา หรือผู้ที่มีต่อมโตมาก มีอาการทางตารุนแรง หรือมีก้อนในต่อม ไม่ว่าจะป่วยเป็นโรคชนิดใดของต่อมไทรอยด์ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ, ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์, คอพอก เป็นต้น สามารถตั้งครรภ์ได้ทั้งสิ้น และมียาที่จะใช้ในช่วงการตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย แต่ว่าผู้ป่วยมีความจำเป็นจะต้องตรวจถี่ขึ้น เจาะเลือดดูระดับฮอร์โมนไทรอยด์บ่อยขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ และไม่ต้องกังวลว่าโรคประจำตัวจะเป็นสาเหตุของความพิการในเด็ก การทำแท้งไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้นกับโรคไทรอยด์เป็นพิษ จะพบผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ขณะตั้งครรภ์ ซึ่งทำให้วิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพตัวเองและบุตร พบว่าผู้ป่วยที่เป็นคอพอกเป็นพิษเมื่อสามารถควบคุมอาการได้ก็สามารถตั้ง ครรภ์ได้ แต่ถ้าจะให้ดีควรรักษาด้วยการผ่าตัดหรือให้น้ำแร่ก่อนการตั้งครรภ์ โดยแนะนำว่าให้สามารถตั้งครรภ์หลังจากรักษาอย่างน้อย 6 เดือน การรักษาโรคคอพอกเป็นพิษขณะตั้งครรภ์ มีข้อแตกต่างจากการรักษาในคนปกติคือไม่สามารถให้รับประทานน้ำแร่ และการให้ยา PTU, metimazole ต้องให้ขนาดน้อยที่สุดที่คุมโรค เนื่องจากไม่ต้องการให้ยาไปมีผลต่อเด็กเพราะยานี้สามารถผ่านรกไปสู่เด็กได้ การให้ฮอร์โมนไทรอกซินระหว่างการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนนี้ใช้รักษาภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยหรือเป็นต่อมไทรอยด์อักเสบ เนื่องจากฮอร์โมนชนิดนี้ผ่านรกได้น้อยมากจึงไม่มีผลต่อเด็กในครรภ์
ระหว่างที่ให้นมบุตร ไม่ ควรตรวจไทรอยด์สแกน หรือรับน้ำแร่เพื่อรักษาในระหว่างการตั้งครรภ์ สำหรับยาที่ใช้รักษา เช่น ฮอร์โมนไทรอกซิน และ PTU สามารถให้ระหว่างการให้นมเพราะผ่านสู่เด็กได้เพียงเล็กน้อย ในแง่ของการเป็นหมัน ทั้งคอพอกเป็นพิษ หรือต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจะมีบุตรยาก เมื่อรักษาดีแล้วก็สามารถมีบุตรได้เหมือนคนปกติ นอกจากนั้นหากไม่รักษาความต้องการทางเพศก็จะลดลง ที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือผู้ป่วยคอพอกเป็นพิษจะมีประจำเดือนน้อยกว่าคน ปกติ ส่วนคนที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจะมีประ

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

SLE โรคภูมิคุ้มกันตัวเอง


โรค ภูมิคุ้มกันตัวเอง อีกหนึ่งโรคที่คุณเองจะต้องเพิ่มความระมัดระวังซึ่งอาการของโรคนั้นอาจจะมี อาการเฉียบพลันและรุนแรง หรือบางทีอาจใช้เวลานานหลายปี ถึงจะแสดงอาการออกมา คุณจึงต้องดูแลสุขภาพของตัวเอง

SLE โรคภูมิคุ้มกันตัวเอง

โรค เอส แอล อี (Systemic Lupus Erythematosus – SLE) หรือโรคลูปุส (มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า ” โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง”)  เป็นโรคที่เกิดจากภูมิต้านทานในร่างกายของเราชนิดหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงไป

ภูมิ ต้านทานชนิดนี้เป็นโปรตีนในเลือดชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แอนติบอดี้ (ANTIBODIES) ซึ่งปกติจะมีหน้าที่จับและทำลายสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคจากภายนอกร่างกาย แต่โปรตีนชนิดนี้ ในผู้ป่วยโรคลูปุสจะจับและทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆ ของผู้ป่วย โรคลูปุสเองขึ้นกับว่าจะจับอวัยวะใดเช่น ถ้าจับที่ผิวหนังก็ จะทำให้เกิดผื่น ถ้าจับกับไตก็จะทำให้เกิดการอักเสบของไต จับกับเยื่อหุ้มข้อ ก็จะเกิด ข้ออักเสบขึ้น จัดเป็นโรคที่เรื้อรังชนิดหนึ่ง สาเหตุ
ในปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรค เอส แอล อี แน่ชัด แต่มีหลักฐานที่บ่งบอกว่าจะเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ร่วมกัน คือ
  1. กรรมพันธุ์
  2. ฮอร์โมนเพศหญิง
  3. ภาวะติดเชื้อบางชนิด,โดยเฉพาะเชื้อไวรัส
นอกจากนี้เรายังทราบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นหรือมีโอกาสเป็นโรค เอส แอล อี มีอาการรุนแรงขึ้น เช่น
  1. แสงแดดโดยเฉพาะ แสงอุลตร้าไวโอแลต
  2. การตั้งครรภ์
  3. ยาบางชนิด
อาการของผู้ป่วย โรคเอส แอล อี
โรค เอส แอล อี เป็นโรคที่มีลักษณะการแสดงออกได้หลากหลายลักษณะ อาจมีอาการเฉียบพลันและรุนแรงหรือมีอาการค่อยเป็นค่อยไปเป็นช่วยระยะเวลานาน หลายปี อาจมีอาการแสดงออกของหลายอวัยวะในร่างกายพร้อม ๆ กันหรือมีการแสดงออกเพียงอวัยวะหนึ่งทีละอย่างก็ได้ มีอาการเป็นๆ หายๆ ได้แต่ลักษณะเฉพาะของโรค เอส แอล อี คือผู้ป่วยจะมีอาการในหลายๆ ระบบของร่างกายโดยจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่พร้อมกันก็ได้
เมื่อไรควรสงสัยว่าเป็นโรค เอส แอล อี
  1. เมื่อมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ นานเป็นเดือน
  2. เมื่อมีอาการปวดบวมตามข้อ
  3. เมื่อมีผื่นคันที่หน้าโดยเฉพาะเวลาถูกแสงแดด
  4. เมื่อมีผมร่วงมากขึ้น
  5. เมื่อมีอาการบวมตามหน้าตามเท้า
การรักษาของผู้ป่วย โรคเอส แอล อี
ในการรักษาโรค เอส แอล อี ทั้งผู้ป่วยและแพทย์จะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องดังต่อไปนี้
  1. ควร เข้าใจลักษณะของโรคต้องเข้าใจก่อนว่าโรคเอส แอล อี เป็นโรคเรื้อรัง การดำเนินของโรคจะเป็นไปเรื่อยๆ โดยอาจมีการทุเลาหรือกำเริบขึ้นได้เป็นระยะตลอดเวลา หรือกำเริบรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้
  2. พยาธิสภาพการเกิดโรคหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด
  3. ผล ของการรักษา และความอยู่รอดของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับว่ามีอวัยวะใดบ้างที่เกี่ยวข้องหรือมี การอักเสบ ความรุนแรงของโรค ความรวดเร็วในการประเมิน ความรุนแรงและการได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
นอก จากนี้ยังขึ้นอยู่กับการติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดของแพทย์ และความต่อเนื่องและสม่ำเสมอของการได้รับการรักษาของผู้ป่วยโดยเฉพาะในช่วง 2 ปีแรก ปัจจุบันมีวิธีการตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรกๆ มีวิธีการรักษาที่ได้ผลดีมากหลายวิธีให้เลือกใช้ มียาปฏิชีวนะดีๆ ที่สามารถควบคุมภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อของผู้ป่วยได้ดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ความอยู่รอดของผู้ป่วย เอส แอล อีในปัจจุบันดีกว่าสมัยก่อนมาก
สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วย เอส แอล อี เกิดได้จาก 3 สาเหตุ คือ
  • จากตัวโรคเองเช่น การอักเสบของไต สมอง หลอดเลือด ตลอดจนการแตกของเม็ดเลือดแดง
  • จาก ภาวะติดเชื้อกลไกพื้นฐานของโรค เอสแอล อี คือมีการเปลี่ยนแปลงในระบบภูมิคุ้มกัน ประกอบกับผู้ป่วยได้รับยาต่าง ๆเพื่อลดการอักเสบและกดภูมิคุ้มกันของร่างกายลง ทำให้มีโอกาสติดเชื้อง่ายกว่าบุคคลทั่วไป
  • จาก ยาหรือวิธีการรักษาการรักษาโรค เอส แอล อี ขึ้นอยู่กับอาการว่าเป็นมาก เป็นน้อยในผู้ป่วยบางรายใช้แค่ยาแก้ปวดแอสไพริน หรือ ยาลดอาการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ก็ควบคุมอาการได้
สำหรับ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงขึ้น แพทย์ต้องใช้ยาสเตียรอยด์ เช่น ยาเพร็ดนิโซโลน (prednisolone) ตั้งแต่ขนาดต่ำจนถึงขนาดสูงติดต่อกันเป็นเวลานานเป็น สัปดาห์หรือเป็นหลายเดือน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระบบอวัยวะที่มีการอักเสบในบางรายที่มีการอักเสบ ของอวัยวะสำคัญ เช่น ไต อาจจำเป็นต้องใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีผลข้างเคียงมากขึ้น เช่น ยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็งบาง ชนิดแต่ให้เป็นครั้ง ๆ ในขนาดที่เหมาะสมหรือในบางรายอาจจำเป็นต้องใช้วิธีการเปลี่ยนถ่ายเลือดมา ร่วมในการรักษาด้วย ทั้งนี้แล้วแต่ความรุนแรงของโรค และระบบอวัยวะที่มีการอักเสบ สิ่งสำคัญในการรักษาโรค เอส แอล อี ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ยาที่ถูกต้อง ทั้งชนิด ขนาด และจังหวะการให้ยาตามจังหวะของโรคแต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การปฏิบัติตัวที่ดีของผู้ป่วย การมารับการตรวจรักษาสม่ำเสมอตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล อย่างเคร่งครัด

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

อาการชี้แนะว่าเป็น..โรคโลหิตจาง


 ใน ภาวะโลหิตจางร่างกายจะมีจำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง แต่ละเพศและวัยมีค่านี้แตกต่างกัน เมื่อไรพบว่า ค่าต่ำกว่าพิกัดต่ำสุดของประชากรเพศและวัยนั้นก็ถือว่าโลหิตจาง”…
เลือดจางหรือโลหิตจางเป็นคำที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี เมื่อพบเห็นคนหน้าซีดๆ ผิวซีดๆ ไม่มีแรงก็มักจะลงความเห็นกันไว้ก่อนว่าเป็นโลหิตจาง นี่เป็นการลงความเห็นโดยอาศัยข้อมูลจากลักษณะที่พบ เห็นได้โดยง่าย ซึ่งในทางการแพทย์เราก็ใช้ นอกจากนี้มีข้อมูลอื่นๆ อีกที่เป็นประโยชน์ ที่จะช่วยลงความเห็นว่า มีภาวะโลหิตจางหรือไม่และอาจช่วยบอกต่อว่าโลหิตจาง
เกิดจากสาเหตุใดด้วยโลหิตจาง (anemia) โลหิตจางหรือเลือดจาง (anemia) เป็นภาวะที่จำนวนเม็ดเลือดแดงในร่างกายลดน้อยลง ผู้ที่มีโลหิตจาง จะมีอาการซีด, เพลีย, เหนื่อยง่าย ทำงานไม่ค่อยไหว ผู้ป่วยที่มีโลหิตจางรุนแรงอาจจะมีการทำงานของ หัวใจล้มเหลว เกิดภาวะหัวใจวาย และสมองจะทำงานช้าลง จนกระทั่งหมดสติได้

โรคหรือสาเหตุของโลหิตจางมีหลายชนิด ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม 
1) การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง ซึ่งอาจจะเกิดจากการขาดสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น ขาดธาตุเหล็ก, โฟเลต (folate), วิตามินบี 12, โรคไขกระดูกฝ่อ (aplastic anemia), โรคที่มีเซลล์มะเร็งในไขกระดูก เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) เป็นต้น
2) การสูญเสียเม็ดเลือดแดงจากกระแสเลือด ได้แก่การเสียเลือดทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง (ซึ่งชนิดเรื้อรังจะทำให้เกิดการขาดธาตุเหล็ก), การที่เม็ดเลือดแดงแตกหรือถูกทำลายไปเร็วกว่าปกติ เช่น โรคที่ร่างกายต่อต้านเม็ดเลือดแดงของตนเอง (โรค autoimmune hemolytic anemia), โรคโลหิตจางกรรมพันธุ์บางชนิด เช่น โรคขาดเอ็นซัยม์ของเม็ดเลือดแดง, โรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น อาการอ่อนเพลีย, เหนื่อยง่าย ที่พบในภาวะโลหิตจางอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ภาวะโลหิตจาง เช่น โรคหัวใจ, โรคปอดเป็นต้น แพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะโลหิตจางได้โดยการตรวจวัดสัดส่วนของเม็ดเลือดแดงใน เลือดหรือวัด ความเข้มข้นของสีฮีโมโกลบิน (ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง) ในเลือด หลังจากนั้นแพทย์จะต้องตรวจหาโรคที่เป็นสาเหตุของภาวะโลหิตจางนั้น ๆ เพื่อให้การรักษาได้ตรงตามสาเหตุต่อไป ]
อาการที่ชี้แนะว่า โลหิตจาง ผู้ที่โลหิตจางไม่มากหรือไม่มีโรคหลอดเลือดร่วมด้วยอาจไม่มีอาการก็ได้ อาการจะมีหรือไม่ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโลหิตจาง และความเฉียบพลันของการเกิดโรคครับ 
1. อาการเหนื่อยง่าย เหนื่อยง่ายหมายถึงรู้สึกเหนื่อยผิดปกติเวลาที่ต้องออกแรง เช่น เคยเดินบันไดได้ โดยไม่เหนื่อยแต่กลับเหนื่อย ถ้ามีโลหิตจางรุนแรง แค่เดินในบ้านก็อาจเหนื่อยแล้ว เวลาเหนื่อยอาจมีอาการใจสั่นร่วมด้วย ที่รุนแรงอาการมีอาการของโรคหัวใจวาย คือ เหนื่อย แน่นหน้าอก หอบ เป็นต้น
2. อาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ
3. อาการเป็นลม หน้ามืด วิงเวียน
4. อาการทางสมอง เช่น รู้สึกสมองล้า หลงลืมง่าย ขาดสมาธิในการทำงาน เรียนหนังสือไม่ดีเท่าที่ควร นอนไม่หลับ
5. อาการหัวใจขาดเลือด มักพบในคนที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โลหิตจาง ทำให้อาการของหัวใจรุนแรงขึ้น เจ็บหน้าอกง่ายขึ้น
6. อาการขาขาดเลือด พบในคนที่มีโรคหลอดเลือดของขาทำให้ปวดขา เวลาเดินได้ไม่ไกล ต้องหยุดพักบ่อยๆ เวลาเดิน
7. อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น เบื่ออาหาร ท้องอืด

ประวัติที่ชี้แนะสาเหตุของโลหิตจาง
1. ระยะการเกิดอาการ หมายถึงว่าเกิดอาการโดยรวดเร็วเฉียบพลัน หรือเกิดอาการแบบค่อยเป็นค่อยไปช้าๆ จากอาการต่างๆ 1 ถึง 7 ข้อที่ชี้แนะว่ามีโลหิตจางที่ผมกล่าวมาข้างต้นหากพบว่า อาการพวกนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือกะทันหันก็พอบอกได้ว่า เกิดจากสาเหตุของโลหิตจางชนิดเฉียบพลัน แต่ถ้าระยะการเกิดอาการเป็นแบบช้าๆ เนิ่นนานไม่ใช่ปุ๊บปั๊บ ค่อยๆ เป็นจากน้อยๆ ก่อนแล้วมากขึ้นเรื่อยๆ แสดงว่า สาเหตุของโลหิตจางเป็นชนิดเรื้อรังครับ
2. ประวัติการเสียเลือด หมายถึงมีการสูญเสียเลือดออกจากร่างกายทางใดทางหนึ่ง เมื่อเสียมากก็จะเกิดภาวะโลหิตจางตามมาครับ เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีดำ ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ อาการทั้ง 3 ข้างต้นอาจหมายถึงเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร แล้วมีเลือดออกจากแผลจนเกิดการสูญเสียเลือดและภาวะโลหิตจางตามมา หากมีประวัติการกินยาหรือยาโรคปวดข้อ ปวดกระดูกร่วมด้วยอาจหมายถึง โรคกระเพาะดังกล่าวเกิดจากยาที่กิน ประวัติมีประจำเดือนมามากหรือมาบ่อย ประวัติเป็นริดสีดวงทวารถ่ายออกมาเป็นเลือดสดๆ ประวัติบาดเจ็บมีแผลเลือดออกมาก อาการเหล่านี้ก็ช่วยบอกว่าโลหิตจางเกิดจากสาเหตุอะไร ประวัติดีซ่าน ปัสสาวะสีเข้มแบบน้ำปลาหรือสีโคคาโคล่า อาจบ่งบอกถึงว่าโลหิตจางเกิดจากภาวะการแตกสลายของเม็ดเลือดแดง
3. ประวัติอาการร่วมอื่นๆ ที่สำคัญได้แก่ มีจุดหรือจ้ำเลือดตามตัวบ่อยๆ อาการนี้อาจหมายถึงภาวะเกร็ดเลือดต่ำ ที่นำไปสู่การสูญเสียเลือด และเกิดโลหิตจางตามมา เป็นไข้หรือโรคติดเชื้อบ่อยๆ อาจแสดงถึงปัญหาเม็ดเลือดขาวต่ำ เมื่อป่วยบ่อยๆ ก็นำไปสู่ภาวะโลหิตจางได้ เป็นโรคระบบอื่นอยู่ เช่น โรคไต โรคตับ โรคข้ออักเสบ โรคมะเร็ง ฯลฯ โรคเรื้อรังเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดโลหิตจางได้ครับ
โรคโลหิตจาง เป็นโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยมีสาเหตุสำคัญอยู่ 3 ประการคือ
1. โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก “โลหิตจาก” การขาดธาตุเหล็กนี้พบได้บ่อยในชาวชนบท ผู้ที่ลดน้ำหนักด้วยการอดอาหาร ผู้ที่เพิ่งแท้งบุตรหรือหญิงหลังคลอด ผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร เป็นโรคริดสีดวงทวาร
2. โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก โดยปกติ “เม็ดเลือดแดง” จะมีชีวิตอยู่ในร่างกายประมาณ 120 วัน แล้วจะเสื่อมสลายไปพร้อมกับมีเม็ดเลือดแดงใหม่ที่ไขกระดูกสร้างเข้ามาทดแทน จึงเกิดภาวะสมดุลในร่างกายไม่เกิดภาวะโลหิตจาง สาเหตุที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายมีอยู่ 2 ประการคือ
2.1 ภาวะพร่องเอนไซม์จี-6-พีดี (G-6-PD) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ทั่วไปในเซลล์ต่าง ๆ รวมถึงเซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อขาดเอนไซม์ชนิดนี้จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย โดยภาวะพร่องเอนไซม์ชนิดนี้เป็นโรคพบจากรรมพันธุ์ ที่แสดงอาหารในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
2.2 โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นความผิดปกติทางกรรมพันธุ์
3. โลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ เนื่องจากไขกระดูที่อยู่ในโพรงกระดูกทั่วร่างกายมีหน้าที่สร้างเม็ดเลือด หากมีความผิดปกติของไขกระดูกทำให้สร้างเม็ดเลือดได้น้อยลง ก็จะเกิดภาวะโลหิตจางขึ้นโดยสาเหตุที่แน่ชัดยังไม่ทราบอาจเกิดจากพิษของยา หรือสารเคมีไปทำลายไข กระดูก เช่น ยาเฟนิลบิวทาโซน คลอแรมเฟนิคอล ซัลฟา หรือเคมีจำพวกน้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน สีทาบ้าน รังสีชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
อาการแสดง อาการแสดง หมายถึง ลักษณะที่พบเห็นหรือตรวจพบในตัวผู้ป่วย ที่มีเลือดจาง มี 2 ชนิดครับ คือ ชนิดที่บอกว่า มีภาวะโลหิตจางและที่บอกว่า มีสาเหตุอะไรที่ทำให้เลือดจาง
1. อาการแสดงที่บอกว่ามีภาวะโลหิตจาง อาการแสดงที่พบบ่อยได้แก่ ลักษณะซีด – ดูได้จากสีของผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ใต้เล็บ – หรือดูจากสีของเยื่อบุด้านในของเปลือกตาล่าง (พลิกเปลือกตาดู)
2. อาการแสดงที่ช่วยชี้แนะถึงสาเหตุของโลหิตจาง
- มีตัวเหลืองตาเหลือง (ดีซ่าน) อย่างอ่อน แสดงถึงภาวะโลหิตจาง จากการแตกสลายของเม็ดเลือดแดง
- มีจุดและจ้ำเลือดตามตัวชี้แนะถึงการมีเกร็ดเลือดต่ำ เป็นโรคไขกระดูกฝ่อ มะเร็งเม็ดโลหิตขาว หรือโรคที่เกิดการทำลายทั้งเม็ดเลือดแดงและเกร็ดเลือด
- ลิ้นเลี่ยน อาจแสดงถึงโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ผิวลิ้นจะเลี่ยนและซีด
- เล็บอ่อนยุบเป็นแอ่ง พบในโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก
- ความดันโลหิตสูง อาจหมายถึงโลหิตจางจากไตวายเรื้อรัง – ความดันโลหิตต่ำ อาจหมายถึงภาวะช็อกจากการสูญเสียโลหิตอย่างรวดเร็ว เช่น
- เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหารหรือจากภาวะหัวใจวาย – ตับและม้ามโต พบได้ในโลหิตจางจากโรคเลือดธาลัสซีเมีย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- ต่อมน้ำเหลืองโต อาจหมายถึงมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งมักจะมีตับโตและม้ามโตด้วย
- อาการบวม ผิวแห้ง มักพบในโรคไต – อาการขึ้นผื่นที่ใบหน้า และผมร่วง พบในโรคเอสแอลอี (SLE)
- ท้องมาน พบในโรคตับแข็ง – ข้อบวม พิการ พบในโรคข้อเรื้อรัง เช่น โรครูมาตอยด์อาไทรติส โรคเอสแอลอี เป็นต้น โลหิต
จางที่พบบ่อยในบ้านเราเกิดจาก การขาดธาตุเหล็ก จากโรคเลือดธาลัสซีเมีย และเกิดจากโรคในระบบอื่นครับ ระยะการเริ่มเกิดของโรค อาจแบ่งโลหิตจางได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
ก. โลหิตจางเฉียบพลัน หมายถึงมีอาการของโลหิตจางเกิดขึ้นใน 7-10 วัน ซึ่งเกิดจาก
1. เสียเลือดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร จากประจำเดือนออกมาก
2. เม็ดเลือดแดงถูกทำลายเฉียบพลัน จะมีอาการร่วมคือดีซ่าน ปัสสาวะสีเข้ม อาจมีไข้ ม้ามอาจโต ถ้ามีประวัติเข้าป่า อาจเป็นมาลาเรีย
3. อาจเกิดจากมะเร็งเม็ดโลหิตขาวเฉียบพลัน ซึ่งจะมีไข้ เกร็ดเลือดต่ำ ตับม้ามโต
ข. โลหิตจางเรื้อรัง เกิดอาการโลหิตจางนานกว่า 10 วัน อาจเป็นเดือนๆ ก็ได้ การตรวจสอบลักษณะทางคลินิกจากประวัติ อาการและอาการแสดงจะช่วยชี้แนะ ถึงสาเหตุของโลหิตจางได้ครับ ประวัติการเสียเลือดเรื้อรัง เกิดภาวะของธาตุเหล็ก ที่พบบ่อยได้แก่โรคกระเพาะอาหาร โรคประจำเดือนมาก ริดสีดวงทวารหนัก หรือมีพยาธิปากขอที่ดูดเลือดจากลำไส้ ลักษณะของธาลัสซีเมียจากหน้าตาและผิวพรรณ ลักษณะทางคลินิกของโรคตับ โรคไต โรคเอสแอลอี ฯลฯ ลักษณะทางคลินิกของการขาดสารอาหาร เช่น เลือกกินเฉพาะอาหารบางชนิด กินอาหารน้อย ติดสุรา ฯลฯ

การรักษาโลหิตจาง หลักการสำคัญในการรักษาโลหิตจางคือ รักษาที่สาเหตุของโลหิตจางครับ แนวทางการรักษาประกอบด้วย
1. การรักษาทั่วไป เป็นการบำบัดอาการของโลหิตจาง ระหว่างที่ทำการรักษาโรคสาเหตุของโลหิตจาง เช่น – รักษาภาวะหัวใจวาย – ลดการออกแรง – ให้ออกซิเย่น – ให้เลือดทดแทน มักให้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาหลอดเลือด ผู้ป่วยอายุมากหรือเสียเลือดมากเฉียบพลันผู้ป่วยเลือดจางเรื้อรังมักไม่จำ เป็นต้องให้เลือด แม้ว่าความเข้มข้นของเลือดจะต่ำมากๆ ก็ตามครับ
2. การรักษาจำเพาะ เป็นการรักษาไปที่สาเหตุ กำจัดสาเหตุ (ถ้าทำได้) และให้การรักษาโรคสาเหตุนั้นๆ เช่น ถ้าพบว่าเลือดจางเพราะพยาธิปากขอ ก็ให้ยากำจัดพยาธิและให้ยาที่มีธาตุเหล็กควบคู่กันไป เมื่อระดับความเข้มข้นของเลือดกลับสู่ระดับปกติแล้ว ควรให้ยาเสริมธาตุเหล็กต่อไปอีก 3 เดือนจึงจะเพียงพอครับ

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุน


การ ป้องกัน การป้องกันที่ดีที่สุดต้องสร้างกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่อายุ น้อยกว่า 30 ปี มีหลายวิธีที่จะป้องกันภาวะกระดูกโปร่งบาง เช่น …
1.รับประทานอาหารที่มี แคลเซียมสูงโดยเฉพาะในเด็กที่กำลังเจริญเติบโต หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร ชายและหญิงวัยทอง อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมได้แก่ นม นมพร่องมันเนย ผักใบเขียว ปลาและกระดูก ถั่ว น้ำส้ม ในวัยทองควรจะได้รับปริมาณแคลเซียม 1500มก.ต่อวันแต่สำหรับผู้ที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนควรจะได้รับปริมาณแคลเซียม 1000 มก.ต่อวัน หากรับประทานแคลเซียมครั้งละ 600 มก.จะดูดซึมได้ดี เมื่อรับประทานแคลเซียมต้องดื่มน้ำมากๆเพราะแคลเซียมจะทำให้ท้องผูก ในวัยทองควรจะได้รับวิตามิน ดี 400 ยูนิตต่อวันเพื่อช่วยในการดูดซึมของแคลเซียม
2.วิตามินดี ปกติคนเราสามารถสังเคราะห์วิตามิน ดีได้จากแสงอาทิตย์ แต่คนสูงอายุ หรือผู้ที่อยู่แต่ในบ้านจะขาดวิตามิน ดี วิตามิน ดี จะช่วยให้ลำไส้มีการดูดซึมแคลเซียม วันหนึ่งควรได้วิตามิน ดี 400-800 IU ให้ถูกแสงบริเวณมือ แขน ใบหน้าครั้งละ 10-15 นาทีสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งก็เพียงพอที่จะสร้างวิตามินดี การทาครีมกันแดดจะลดการสร้างวิตามินดี
3.การ ออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะทำให้กระดูกแข็งแรง เช่น การเดิน การเดินขึ้นบันได กระโดดเชือก ยกน้ำหนัก การเต้นรำ ลองเริ่มต้นการออกกำลังกายวันละ 30 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 วันซึ่งนอกจากจะทำให้กระดูกแข็งแรงยังทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและป้องกันการ หกล้ม การออกกำลังที่จะทำให้กระดูกแข็งแรงคือ การออกกำลังชนิด weight bearing คือใช้น้ำหนักตัวเองช่วยในการออกกำลังกาย เช่น การเดิน การวิ่ง การขึ้นบันได การเต้นรำ การว่ายน้ำและการขี่จักรยานไม่จัดในการออกกำลังกายกลุ่มนี้ อีกชนิดหนึ่งคือการยกน้ำหนักเพื่อทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง
4.การสูบบุหรี่จะทำให้ฮอร์โมน estrogen ต่ำเป็นผลทำให้กระดูกจาง
5.การดื่มสุรา วันละ 120-180 มิลิเมตรจะทำให้กระดูกจางและหักง่าย
6.หลีกเลี่ยงการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเพราะจะทำให้เกิดกระดูกพรุน
7.ยาบางชนิดหากรับประทานต่อเนื่องจะทำให้กระดูกจาง เช่น steroid phenyltoin [dilantin} barbiturate ,antacid ,thyroid hormone
8.ยาป้องกันกระดูกจาง
9.ไม่ควรดื่มชาหรือกาแฟมากกว่า 2 แก้วเพราะสาร caffeein จะเร่งการขับแคลเซียม
10.การวัดความหนาแน่นของกระดูก

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคผิวหนังอักเสบติดเชื้อ มีอะไรได้บ้าง


 ผิว หนังเป็นเนื้อเยื่อส่วนนอกสุดของร่างกายที่ห่อหุ้มโครงสร้างและอวัยวะ ทุกอย่างไว้ ซึ่งในแต่ละบริเวณจะมีความหนา-บางแตกต่างกันซึ่งผิวหนังสามารถติดเชื้อได้ ง่าย
ผิวหนังเป็นเนื้อเยื่อส่วนนอกสุดของร่างกายที่ห่อหุ้มโครงสร้างและ อวัยวะทุกอย่างไว้ ซึ่งในแต่ละบริเวณจะมีความหนา-บางแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ต้องรอง รับ และถูกเสียดสี ผิวหนังของเราแบ่งเป็น 2 ชั้นใหญ่ ๆ คือ
1.ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) เป็น ชั้นที่อยู่บนสุด บางและหลุดลอกออกไปได้ง่าย หรือที่เรียกว่าขี้ไคลนั่นเอง ในชั้นนี้จะไม่มีเลือดและเส้นประสาทหล่อเลี้ยงครับ แต่มีเซลล์ที่ชื่อ เมลาโนไซด์ (Melanocyte) ซึ่งทำหน้าที่สร้างเม็ดสีเมลานิน (Melanin) ที่ทำให้แต่ละคนมีสีผิวที่แตกต่างกันออกไป
2.ชั้นหนังแท้ (Dermis) เป็น ชั้นที่อยู่ลึกถัดจากชั้นหนังกำพร้าลงมา มีความหนากว่าชั้นแรกมาก เป็นที่อยู่ของเซลล์ ต่อม หลอดเลือด และระบบประสาทที่มาหล่อเลี้ยง
หน้าที่ ของผิวหนังนอกจากปกป้องอวัยวะภายในไม่ได้ได้รับอันตรายแล้ว ยังมีความสำคัญในการรักษาระดับอุณหภูมิร่างกาย ขับของเสียออกทางเหงื่อ รับความรู้สึกสัมผัสต่าง ๆ ทั้งยังมีส่วนช่วยในการสร้างวิตามินดี และป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย
ความ ผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผิวหนังของเรามีได้หลายอย่างครับ สำหรับวันนี้จะกล่าวถึงโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นกับระบบผิวหนัง ซึ่งมีด้วยกันหลายโรคตามตำแหน่งที่เกิดการติดเชื้อ โดยเชื้อที่ก่อโรคมี 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ แบคทีเรีย รา และไวรัส
1.โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย อันที่จริงแล้วผิวหนังของคนเราก็มีเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่นะครับ เรียกว่าเป็นเชื้อประจำถิ่น (Normal Flora) ซึ่งโดยปกติจะไม่ทำให้เกิดโรคครับ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงสภาพของผิวหนังไปจากเดิม เช่น มีบาดแผล มีโรคผิวหนังอื่น ๆ อยู่ก่อน สุขอนามัยไม่ดี หรือผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ เชื้อเหล่านี้ก็มีโอกาสทำให้เกิดโรคได้ ตัวที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อมากที่สุด ได้แก่ Staphylococcus aureus และ Staphylococcus pyogenes โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่พบมาก ได้แก่
  • แผลพุพอง (impetiongo)
          เป็นการติดเชื้อของชั้นหนังกำพร้า ส่วนใหญ่เกิดจากสุขอนามัยไม่ดี หรือละเลยบาดแผลเล็ก ๆ จะลุกลามจึงพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ส่วนมากบาดแผลเกิดขึ้นที่ใบหน้าบริเวณรอบจมูก เนื่องจากการแกะ เกา และตามแขน-ขาทั่วไป เริ่มแรกเป็นเพียงผื่นแดงเล็ก ๆ มีอาการคัน แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำพองใส เมื่อแตกออกพื้นแผลจะเป็นสีแดง มีน้ำเหลืองไหล พอแห้งจะตกเป็นสะเก็ดเหลืองเกาะที่แผล ถ้าเกิดที่หนังศีรษะมีชื่อเรียกว่าชันนะตุ หากปล่อยไว้นานแผลอาจลุกลามขยายใหญ่ขึ้น หรือกินลึกลงไปมากขึ้น และเข้าสู่กระแสเลือดได้ การรักษา เริ่มต้นด้วยการล้างทำความสะอาดบาด แผล และใช้ยาทาฆ่าเชื้อ Mupiroxin ประมาณ 7-10 วัน ก็เพียงพอ แต่หากบาดแผลกว้างและลึกมาก อาจต้องใช้ยา Dicloxacillin รับประทานร่วมด้วย
  • รูขุมขนอักเสบ (Folliculitis, Furuncles Carbuncler)
          เป็นการติดเชื้อของรูขุมขนจนเกิดเป็นผื่นแดง ไม่มีอาการหรืออาจคัน หรือเจ็บเล็กน้อย พบได้ในบริเวณที่มีต่อมขนเยอะ เช่น หนวด เครา รักแร้ เป็นต้น ส่วนมากมักจะหายเอง แต่บางครั้งอาจเกิดการอักเสบมาก จนเป็นตุ่มหนอง แดงและเจ็บ เมื่อแตกออกจะมีหนองไหลออกมาได้ เรียกว่าฝี (Furuncles) ถ้าแผลลึกและกว้างมากจนมีรูหนองที่เชื่อต่อกันหลาย ๆ รู เรียกว่า Carbuncles หรือฝีฝักบัวนั่นเอง ซึ่งมักจะมีใช้ร่วมด้วย เนื่องจากการอักเสบที่มากขึ้น การรักษา ในขั้นต้นหากมีอาการ ให้ใช้ยาทาฆ่าเชื้อ 1% Clindamycin ทาบริเวณแผลวันละ 2-3 ครั้ง สำหรับ Furuncies และ Carbuncles จำเป็นต้องผ่าระบายหนองออก และใช้ยา Dicloxacillin รับประทานร่วมด้วย
  • ไฟลามทุ่ง (Erysipelas)
          เป็นการอักเสบของผิวหนังร่วมกับหลอดน้ำเหลือง เริ่มจากตุ่มแดงแล้วกระจายลามออกไปอย่างรวดเร็วแผลมีสีแดงจัด กดเจ็บ ผิวบริเวณนั้นยกขึ้นมาจากบริเวณที่ปกติอย่างชัดเจน ผู้ป่วยจะมีใช้ร่วมด้วย การรักษา รับประทานยา Dicloxacillin ประมาณ 5-7 วัน ร่วมกับการประคบร้อน
  • ผิวหนังอักเสบ (Cellulitis)
          เป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อชั้นหนังแท้และลึกลงไปยังชั้นได้ผิวหนัง ลักษณะเป็นผื่นแดงจัด ลามอย่างรวดเร็ว กดเจ็บและออกร้อน แยกจากไฟลามทุ่งได้จากขอบเขตที่ไม่ชัดเจน มักพบว่ามีอาการใช้และต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย พบได้บ่อยในรายที่ประสบอุบัติเหตุ ผู้ป่วยเบาหวาน อ้วน หรือติดสุรา การรักษา รับประทานยา Dicloxacillin ประมาณ 5-7 วัน ร่วมกับการประคบร้อน
ข้อควรระวัง ไฟลามทุ่งและโรคผิวหนังอักเสบ เป็นโรคที่มีความรุนแรงมากขึ้น เชื้อจะแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่าย ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
2.โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา เชื้อราเป็นเชื้ออีกกลุ่มที่พบได้ทั่วไปในทุกภูมิอากาศ แต่มักก่อโรคในสภาวะที่อับชื้น และพบได้มากขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ หรือกินยาปฏิชีวนะนาน ๆ หรือเป็นเบาหวาน เป็นต้น โรคติดเชื้อผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราที่รู้จักและเป็นกันมาก ได้แก่
  • กลาก
          ธรรมชาติของราชนิดนี้มักเกิดขึ้นในบริเวณที่มีเคอราติน ซึ่งเป็นโปรตีนโครงสร้างชนิดหนึ่ง พบที่ ผิวหนัง เล็บ ขน และผม อาการที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปตามอวัยวะที่ติดเชื้อ อาทิ กลากที่ผิวหนัง เช่น ลำตัว แขน ขา รักแร้ ขาหนีบ ผื่นจะเป็นตุ่มแดงเล็ก ๆ แล้วขยายวงกว้างออกเรื่อย ๆ ขอบนูนแดง มีขุยสีขาว คันมาก
กลากที่ง่ามเท้า เรียกว่าฮ่องกงฟุต หรือน้ำกัดเท้า ผิวหนังบริเวณนั้นจะเป็นแผ่นขาวยุ่ย ลอกออกเป็นแผ่นได้ส่งกลิ่นเหม็นและคันมาก
กลากที่เล็บ มักเกิดบริเวณข้างเล็บเข้ามา จะเห็นเป็นสีน้ำตาล หรือขาวขุ่น ด้าน ขรุขระ หรืออาจเปื่อยยุ่ยได้ ไม่มีอาการเจ็บหรือคัน แต่มักเป็นเรื้อรัง
กลากที่หนังศีรษะ ผื่นเป็นวงเหมือนที่เกิดตามลำตัว แต่พบร่วมกับอาการผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เส้นผมหัก ซึ่งเกิดจากเชื้อราทำลาย
การรักษา สำหรับแผลเฉพาะที่เพียงใช้ยาฆ่าเชื้อ ทาจนแผลหาย อาจจะประมาณ 4-8 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับบริเวณที่ติดเชื้อ แต่ถ้าแผลกว้างมาก เป็นหลายจุด หรือผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจใช้วิธีรับประทานยาฆ่าเชื้อแทน
  • เกลื้อน
          เชื้อราชนิดนี้โดยปกติอาศัยอยู่ที่รูขุมขนของทุกคน โดยได้ไขมันจากรูขุมขนเป็นอาหาร ต่อเมื่อภูมิต้านทานลดลง จึงทำให้เกิดโรค โดยมีลักษณะเป็นต่างขาว มีขุยขอบเขตชัดเจน หรือบางคนอาจเป็นสีเข้มขึ้นก็ได้ แต่มักไม่มีอาการอื่น บริเวณที่พบมาก ได้แก่ ส่วนที่มีต่อมไขมันมาก เช่น ใบหน้า คอ หน้าอก หลัง การรักษา มีทั้งยาทา ยาสระหรือสบู่ ใช้แค่ 3-5 วัน และซ้ำทุกเดือน รวมไปถึงยากินในรายที่มีอาการมาก และต้องใช้อย่างต่อเนื่องจนครบกำหนด แต่ด่างขาวที่เกิดขึ้นอาจต้องรอจนเซลล์ผิวสร้างเม็ดสีขึ้นมาใหม่ จึงจะหายไป ถึงแม้ว่าเชื้อจะถูกกำจัดไปหมดแล้วก็ตาม
การป้องกัน วิธีที่ดีที่สุดคือ การหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ต้องแยกเสื้อผ้ารวมทั้งอุปกรณ์ของใช้ออกจากผู้อื่นเพื่อป้องกันการติดต่อ
3.โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อไวรัส ไวรัสเป็นเชื้อกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในทุกระบบ รวมไปถึงการติดเชื้อที่ผิวหนัง เชื่อว่าหลายท่านคงเคยเป็น หรือมีคนใกล้ตัวเป็นโรคเหล่านี้กันบ้างแน่ ๆ และไม่ต้องแปลกใจนะครับ หากพบว่าเป็นโรคเหล่านี้อยู่บ่อย ๆ เพราะเป็นธรรมชาติของไวรัส ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับเชื้อมาแล้วจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อตัวเชื้อเพื่อ พยายามกำจัด และปกป้องตนเองไม่ให้เป็นโรค แต่ตัวเชื้อก็จะยังคงหลบซ่อนและอาศัยอยู่ในร่างกายนี่ล่ะครับ จนวันดีคืนดีเมื่อภูมิต้านทานต่ำลงก็จะเกิดอาการของโรคขึ้นมาได้ โรคติดเชื้อผิวหนังจากเชื้อไวรัสที่สำคัญ ได้แก่
  • เริม (Herpes Simplex)
          เชื้อเริมเป็นตัวอย่างที่ดีครับว่าสามารถเป็นได้อยู่บ่อย ๆ ถ้าร่างกายอ่อนแอลง เช่น อดนอน ทำงานหนัก เครียด เชื้อนี้มีด้วยกัน 2 ชนิด มักทำให้เกิดอาการในบริเวณที่แตกต่างกันคือ เชื้อชนิดที่ 1 (Herpes Simplex Vinus2) มัก เกิดบริเวณปากและผิวหนังเหนือสะดือขึ้นไป ถ้าเกิดที่ปากเรียกว่า Herpes Labialis ไม่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ติดจากการดื่มน้ำหรือทานอาหารร่วมกัน
เชื้อชนิดที่ 2 (Hepes Simplex Virus2) มักเกิดบริเวณอวัยวะเพศ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ลักษณะของแผลเริมคือ เป็นตุ่มน้ำพองใสเล็ก ๆ ขึ้นเป็นกลุ่ม เมื่อแตกออกจะเป็นแผลตื้น ๆ อยู่บนฐานสีแดง เจ็บและแสบมาก โดยปกติโรคจะดำเนินไปจนหายเองภายใน 10 วัน แต่มีโอกาสเกิดซ้ำถึง 40 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจใช้ยา Acyclovir รับประทานต่อเนื่อง 1 สัปดาห์
  • งูสวัด (Herpes Zoster)
          เชื้อก่อโรคคือ Hepes Varicella Zoster คือเชื้อชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคสุกใส แผลที่เกิดขึ้นจึงมีลักษณะเดียวกันคือตุ่มพองใสบนฐานแดง ขึ้นชิดกัน มักกลายเป็นหนองแห้ง และตกสะเก็ดภายใน 10 วัน ลักษณะที่ต่างจากสุกใส คือ ผื่นจะขึ้นเป็นแนวตามแนวของเส้นประสาท มีไข้ และอ่อนเพลียร่วมด้วย หลายคนถามว่าจริงหรือไม่ ที่บอกว่า ถ้างูสวัดพันครบรอบแล้วจะเสียชีวิต ก็อาจเป็นได้นะครับ เพราะภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยต้องต่ำมากจริง ๆ เชื้อถึงแพร่กระจายเร็ว การรักษา รับประทานยา Acyclovir ตามแพทย์สั่ง
  •  หูด (Wart)
          หูดคือก้อนที่ผิวหนัง อาจจะผิวเรียบ หรือขรุขระ สีขาว ชมพู หรือน้ำตาล เกิดขึ้นบริเวณใดก็ได้ แต่มักพบบ่อยที่นิ้วมือ แขน ขา เกิดจากเชื้อ Human Papilloma Vinus หูดมีลักษณะที่ต่างกันออกไปในแต่ละชนิด คือ  Verrucus Vulgairs หูดธรรมดา เป็นเม็ดเดียว หรือหลายเม็ด ขรุขระ กระจายทั่วไป มักพบบ่อยที่บริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า
Verrucus Plana หูดราบ เป็นเม็ดผิวแบนราบ สีเดียวกับผิวหนัง มักพบที่บริเวณใบหน้า
Condyloma Accuminata หูดหงอนไก่ เป็นติ่งเนื้อนุ่ม สีชมพู

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

ไวรัสตับอักเสบชนิดบี (hepatitis B virus)


ทำ ให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับ และการอักเสบจะทำให้เซลล์ตับตาย หากเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด ตับแข็ง และมะเร็งตับได้ ในประเทศไทย พบผู้ป่วยที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ประมาณ 8-10 ล้านคน โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี จึงนับว่ามีความสำคัญมาก…

ไวรัสตับอักเสบชนิดบี (hepatitis B virus)


แต่ ในปัจจุบันหลังจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีในเด็กแรกเกิด ทุกคน ทำให้อุบัติการณ์ในคนไทยลดลง ประมาณร้อยละ 3-5 เมื่อ เป็นโรคตับอักเสบบีระยะเฉียบพลันแล้วมีโอกาสจะหายขาดประมาณร้อยละ 90 ซึ่งจะกลับเป็นปกติทุกอย่าง ส่วนอีกร้อยละ10 จะไม่หายขาด โดยบางคนอาจจะเป็นพาหะของโรคโดยไม่มีอาการ หรือบางคนอาจจะเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้บางคนอาจจะเป็นโรคตับแข็งตามมา ถ้ายังมีการอักเสบของตับอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมักต้องเป็นนานประมาณ 10-20 ปี บางคนอาจจะเป็นโรคมะเร็งตับได้โดยเฉพาะถ้ามีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรค มะเร็งตับ โอกาสที่จะเป็นโรคตับอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งตับ ในแต่ละคนไม่เท่ากัน
ความร้ายแรงของโรคไวรัสตับอักเสบ บี
ผู้ ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรค และมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น แต่ร้อยละ 10-20 ของผู้ป่วยจะมีเชื้อไวรัสในเลือด และตับ โดยอาจมีอาการของตับอักเสบเรื้อรัง หรืออาจไม่มีอาการ บุคคลทั้งสองกลุ่มนี้สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นต่อไปได้ เราเรียกบุคคลทั้งสองกลุ่มนี้ว่าเป็น “พาหะ” หรือตับอักเสบเรื้อรัง ในประเทศไทย พบผู้ป่วยที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ประมาณ 8-10 ล้านคน ประมาณร้อยละ 10 ของผู้เป็นพาหะจะกลับเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังได้อีก และบางรายอาจตายด้วยโรคตับแข็ง ตับวาย ท้องมาน และอาจเสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้ ผู้เป็นพาหะมีโอกาสเกิดโรคเป็นมะเร็งตับสูงกว่าคนปกติถึง 100 เท่า โดยเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งตับถึงร้อยละ 80 ของผู้ป่วยทั้งหมด โอกาสการเกิดโรคมะเร็งจะมีมากหากผู้ป่วยติดเชื้อชนิดนี้ตั้งแต่วัยเด็ก เช่น ติดมาจากมารดาขณะแรกเกิด เป็นต้น
สาเหตุ
  1. เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี ซึ่งเป็นเชื้อที่มีความคงทนสูง และทำลายได้ยาก การทำลายเชื้อต้องใช้วิธีต้มเดือดนานอย่างน้อย 30 นาที หรือนึ่งภายใต้ความดันสูงนาน 30 นาที หรืออบในตู้อบแห้งที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส นานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือโดยการแช่ในสารเคมี เช่น แช่ในโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 0.5% อย่างน้อย 30 นาที แช่ในฟอร์มาลิน 40% อย่างน้อย 12 ชั่วโมง หรือแช่ในแอลกอฮอล์ 70% อย่างน้อย 18 ชั่วโมง ไวรัส สามารถถ่ายทอดจากมารดาสู่บุตร ซึ่งเป็นสาเหตุการติดเชื้อที่สำคัญประการหนึ่งในประเทศไทย แต่ในปัจจุบันการถ่ายทอดจากมารดาที่ติดเชื้อสู่บุตรลดลงมาก เพราะบุตรที่คลอดออกมาจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ การฉีดวัคซีนให้ทารกที่คลอดมาจะช่วยป้องกันได้เกือบร้อยละ 100
  2. การติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ยัง ถือเป็นวิธีการติดต่อที่สำคัญในปัจจุบัน ทั้งนี้เกิดจากการมีเพศสัมพันธุ์กับผู้ติดเชื้อโดยไม่ได้ป้องกัน ซึ่งไวรัสตับอักเสบชนิดบี จะสามารถติดต่อได้ง่ายกว่าเชื้อไวรัสเอดส์
  3. การได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์ ของเลือดที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ การสัมผัสน้ำคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่น เลือด น้ำเหลือง การติดเชื้อจากการไดรับเลือดพบได้น้อยมากในปัจจุบัน เนื่องจากระบบการตรวจกรองของธนาคารเลือดดีขึ้นมาก
  4. อาจติดต่อได้จากการสัก เจาะหู หรือการฝังเข็ม โดยอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อไม่ถูกต้อง
อาการ
หลัง จากที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี เชื้อจะเข้าไปฟักตัวในร่างกายประมาณ 2-3 เดือน บางรายอาจจะไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด ส่วนในรายที่มีอาการอาจจะอ่อนเพลียเล็กน้อย แต่บางรายจะมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงขวาจากตับ มีไข้ ตับโต ปัสสาวะเข้ม ตัวเหลือง อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์ จากนั้นร่างกายจะค่อยๆ กำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีออกไปพร้อมๆ กับการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีซ้ำอีก
ผู้ ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 จะหายขาดได้ ส่วนอีกร้อยละ 10 จะเป็นชนิดเรื้อรัง ซึ่งสามารถเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับได้ เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้ โดยเฉพาะหากได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีตั้งแต่เด็กๆ ส่วนการเกิดตับแข็งเนื่องจากมีการตายของเซลล์ตับ เกิดมีพังผืดเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นตับแข็งในที่สุด
โรคไวรัสตับอักเสบ บี ติดต่อได้อย่างไร
โรค นี้สามารถติดต่อกันได้โดยการสัมผัสกับเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่งของผู้ป่วยตับอักเสบหรือผู้เป็นพาหะซึ่งเกิดขึ้นได้ในลักษณะ ต่างๆ เช่น
  1. การรับถ่ายเลือด หรือผลิตภัณฑ์จากเลือดที่มีเชื้อไวรัสนี้อยู่
  2. การใช้เข็มฉีดยาที่มีเชื้อปน เปื้อน การเจาะหู การสัก การทำฟันที่ใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้ที่มีเชื้อไวรัสอยู่โดยไม่ได้ผ่านการฆ่า เชื้ออย่างถูกต้อง
  3. การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกันกับผู้ที่มีเชื้อ เช่น แปรงสีฟัน มีดโกน ที่ตัดเล็ก เพราะอาจปนเปื้อนเลือดของผู้ที่มีเชื้ออยู่
  4. การร่วมเพศกับผู้ที่มีเชื้อไวรัสอยู่
  5. การสัมผัสกับเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่ง ของผู้ที่มีเชื้อไวรัสอยู่โดยผ่านเข้าทางบาดแผลโดยไม่รู้ตัว เช่นการกัดกันเล่นๆ ของเด็ก
  6. การถ่ายทอดเชื้อมาจากมารดาที่เป็นพาหะ หรือเป็นโรคอยู่ไปยังลูกระหว่างอยู่ในครรภ์ หรือระหว่างคลอด
การวินิจฉัยโรค
การ วินิจฉัยไวรัสตับอักเสบชนิดบี ในปัจจุบันทำได้ไม่ยาก เพียงตรวจเลือดในปริมาณเล็กน้อยเพื่อหาเปลือกของไวรัส (HBsAg) การตรวจหาหลักฐานว่ามีตับอักเสบหรือไม่โดยการตรวจระดับเอนไซม์ของตับ ในผู้ป่วยที่เป็นตับอักเสบเรื้อรัง แพทย์อาจนัดตรวจระดับเอนไซม์ของตับเป็นระยะๆ การตรวจหาปริมาณไวรัสโดยทางอ้อมด้วยการตรวจ HBeAg หรือการตรวจนับไวรัสในเลือดโดยตรง เพื่อประเมินปริมาณของไวรัสก่อนการรักษา ในบางรายแพทย์อาจจะพิจารณาตรวจชิ้นเนื้อตับ โดยใช้เข็มที่มีขนาดเล็กเจาะผ่านผิวหนังหลังจากฉีดยาชา ซึ่งการตรวจชิ้นเนื้อนี้จะให้ข้อมูลที่สำคัญอย่างมากเกี่ยวกับการอักเสบของ ตับ
ถ้า ตับส่วนมากเกิดเป็นโรคตับแข็ง จนตับส่วนดีที่เหลืออยู่ทำงานแทนตับส่วนที่เสียไปไม่ไหว อาจจะมีอาการดังนี้ ท้องบวม เพราะมีน้ำในท้อง อาจจะบวมที่เท้า ข้อเท้า มือ อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำเหมือนถ่าน เพราะมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร หรือลำไส้ เกิดจากเลือดไหลเข้าตับที่เป็นตับแข็งได้ไม่ดีเลยคั่งตามรอบๆ ทางเดินอาหาร ท้องอืด ท้องเฟ้อมาก อาหารไม่ย่อย เบื่ออาหาร
การรักษา
  1. คนที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรังบางคนอาจจะหายเองได้ แต่ส่วนใหญ่จะไม่หายเอง เหตุผลที่ต้องรักษาภาวะตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบี เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้มีโอกาสกลายเป็นตับแข็งและมะเร็งตับได้สูงกว่าคน ทั่วไป โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับสูง คือผู้ป่วยชายอายุมากกว่า 40 ปี มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ และมีตับแข็งร่วมด้วย การรักษาโดยการใช้ยานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกำจัดเชื้อไวรัส ลดการอักเสบของตับ ลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตับแข็งและโรคมะเร็งตับ และลดการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น
  2. ยาชนิดฉีดที่ได้ผลดีในปัจจุบัน คือ อินเตอร์เฟอรอน (interferon) มีใช้มานานกว่า 20 ปีแล้ว อาศัยหลักการที่สารอินเตอร์เฟอรอนสร้างจากเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ ซึ่งสามารถกำจัดไวรัสได้ แต่ในผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังมีสารนี้ไม่เพียงพอที่จะกำจัดไวรัส ให้หมดไป จึงต้องให้อินเตอร์เฟอรอนจากภายนอกเข้าไปเสริม ต้องฉีดติดต่อกันนาน 4-6 เดือน โอกาสที่จะกำจัดเชื้อได้หมด พบน้อยกว่าร้อยละ 5 แต่ช่วยลดความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อได้ร้อยละ 40-60 (HBeAg จากบวกเป็นลบ, anti HBe จากลบเป็นบวก) และลดการเกิดตับแข็ง และมะเร็งตับได้ แต่อินเตอร์เฟอรอน มีข้อเสียคือ ผลข้างเคียงค่อนข้างมาก เช่น อาการไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ ไทรอยด์เป็นพิษกำเริบ และอาการทางจิตประสาท เป็นต้น แต่อาการข้างเคียงเหล่านี้ ไม่ได้พบในผู้ป่วยทุกราย การฉีดอินเตอร์เฟอรอนจะไม่ได้ผลในรายที่เป็นพาหะ
  3. ยาชนิดรับประทานที่ได้ผลดีคือ ลามิวูดีน (lamivudine) ออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส และอาจมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยกระตุ้นทางอ้อมให้เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ตอบสนอง และกำจัดเชื้อไวรัสได้ดีขึ้น ในระยะแรกจำนวนไวรัสลดลงอย่างมาก เช่นเดียวกันยานี้ใช้ได้เฉพาะในรายที่มีภาวะตับอักเสบมาก่อนเท่านั้น และต้องกินยาทุกวันเป็นเวลานานเป็นปีๆ ผู้ป่วยที่ได้รับยานาน 1 ปี จะทำให้ไวรัสหยุดแบ่งตัวร่วมกับเอนไซม์ตับกลับมาปกติได้ผลประมาณร้อยละ 20 แต่การรักษาจะได้ผลเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 40 ถ้าผู้ป่วยมีภาวะตับอักเสบปานกลาง ก่อนเริ่ม

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

เบาหวานน่ากลัวกว่าที่คิด


นาย แพทย์สุวินัย บุษราคัมวงษ์ โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 2 กล่าวถึงผู้ที่เป็นเบาหวานมานานกว่า 15 ปี จะมีโอกาสเป็นเบาหวานขึ้นตามากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
นาย แพทย์สุวินัย บุษราคัมวงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 2 กล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้เบาหวานลุกลามไปที่ตาว่า “ผู้ที่เป็นเบาหวานมานานกว่า 15 ปี จะมีโอกาสเป็นเบาหวานขึ้นตามากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเป็นเบาหวาน เส้นเลือดตามอวัยวะต่างๆในร่างกายจะเสื่อมสภาพลง
ใกล้บอดเพราะเบาหวาน
ซึ่ง การเสื่อมของเส้นเลือดนี้ไม่เฉพาะเจาะจงว่าจะเกิดขึ้นที่ใด พอเกิดเส้นเลือดที่ตาเสื่อม ร่างกายก็จะมีการสร้างเส้นเลือดใหม่ขึ้นมาแทน และเส้นเลือดที่งอกขึ้นมาใหม่นี่เองที่ทำให้ตาของเราผิดปกติ โดยอาจทำให้ความดันในลูกตาเพิ่มขึ้น หรือทำให้เกิดการรั่วของโปรตีนในลูกตา ส่งผลให้เกิดความผิดปกติด้านการมองเห็นได้”
“เบา หวานส่งกระทบได้ตั้งแต่กระจกตา เลนส์ตา ไปจนถึงวุ้นในตา ขึ้นอยู่กับว่า จะไปกินตรงก่อน ถ้าเกิดเป็นที่เลนส์ตาก็จะทำให้ตาบวม เป็นต้อกระจก ต้อหิน แต่ถ้าเป็นที่จอตาก็จะทำให้เห็นภาพดำๆ เบลอๆ ไป หรือว่าเหมือนมีเงาๆ อยู่ตลอดเวลา เกิดเลือดออกในจอตา และอาจรุนแรงถึงตาบอดได้”
วิธีหลีกเลี่ยงเบาหวานคุกคามดวงตา
  1. ควบ คุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย เพราะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานหากควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีเท่าไร โอกาสที่เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงดวงตาจะมีความยืดหยุ่นและคงทนก็จะยิ่งมีมาก ขึ้น
  2. ตรวจสายตาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจหาความเสี่ยงและการรั่วของโปรตีนในตาซึ่งเป็นสาเหตุเบื้องต้นของอาการผิดปกติที่ดวงตา
  3. ระมัด ระวังเรื่องการใช้สายตาเป็นพิเศษ ไม่ควรเพ่งมาก อ่านหนังสือในบริเวณที่มีแสงสว่างเพียงพอ และเมื่อมีอาการผิดปกติที่ตา เช่น ตาพร่ามัว ตาบวม ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน
  4. อย่าซื้อยามาหยอดตาเองโดยเด็ดขาด เพราะยาบางตัวอาจกระตุ้นให้เกิดอันตรายถึงตาบอดได้
เพราะเบาหวานจึงต้องตัดขา
แม้ จะรู้ว่าเบาหวานเป็นโรคเงียบที่ซ่อนเร้น และรักษาไม่หาย แต่เหตุใดอาการเบาหวานของบางคน ถึงลุกลามใหญ่โตจนต้องตัดอวัยวะสำคัญของร่างกาย ซึ่งคุณหมอสุวินัย ได้ขยายความไว้ดังนี้
“เบา หวานเป็นโรคที่ทำให้เกิดความเสื่อมของเส้นเลือดได้ง่าย เพราะพอเป็นแล้วจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติสองอย่างคือเส้นประสาทส่วนปลาย เสื่อม ซึ่งคนไข้เบาหวามมักจะเกิดอาการชาบริเวณปลายขา ปลายมือ เวลาเป็นแผลจึงไม่รู้ตัว และทำให้เส้นเลือดตามร่างกายเสีย เพราะคนเป็นเบาหวานเส้นเสือดส่วนปลายจะเสื่อม พอเป็นแผลก็ทำให้เลือดไปเลี้ยงตรงที่เป็นแผลไม่ดี ทำให้ เป็นแผลเรื้อรังไม่หายสักที”
“หลาย คนอาจเข้าใจว่าการเสียขา เพราะเบาหวานไปหนึ่งข้าง เท่ากับเราเสียไป 50 เปอร์เซ็นต์นะ แต่ในความเป็นจริงแล้วเราเสียไปแล้วถึง 70 เปอร์เซ็นต์ เพราะขาของเราเกี่ยวโยงโดยตรงกับระบบของการทรงตัว การถูกตัดขาจึงถือเป็นเรื่องร้ายแรง เพราะจะทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป เช่น ต้องออกจากงาน เดินไม่คล่อง เป็นภาระคนอื่น”
“ส่วน ใหญ่คนไข้ร้อยทั้งร้อย ไม่ยอมให้ตัดหรอก แพทย์เองเราก็พยายามป้องกันให้ได้มากที่สุด เพราะเข้าใจ ซึ่งก่อนที่จะตัด หมอต้องดูลักษณะของแผลก่อนว่าล้างได้ไหม ถ้าจำเป็นก็ต้องตัด เพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลาม จนติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดอาการช็อคและเสียชีวิตได้”
วิธีดูแลเท้าขณะป่วยเป็นเบาหวาน
  1. ตรวจดูเท้าทุกวัน ถ้ามีแผลหรือมีการอักเสบแม้เพียงเล็กน้อย อย่านิ่งดูดายต้องไปปรึกษาแพทย์ทันที
  2.  รักษาเท้าให้สะอาด ล้างเท้าทุกวันและเช็ดเท้าให้แห้ง โดยเฉพาะตามซอกนิ้วเท้า
  3. ไม่ ควรเดินเท้าเปล่า ควรใส่รองเท้าแตะนุ่มๆ เมื่อเดินอยู่ในบ้าน และเมื่อออกจากบ้านควรเลือกรองเท้าพื้นนิ่ม ไม่หลวมหรือคับจนเกินไป ทั้งนี้หากมีรอยแผลที่เท้า แสดงว่าใส่รองเท้าไม่เหมาะสม
  4. ควร เดินออกกำลังกายสม่ำเสมอ วันละประมาณ 30 นาที กรณีเดินแล้วปวดน่อง ควรฝืนเดินต่ออีก 5-10 ก้าว เพื่อเพิ่มการสร้างเนื้อเยื่อของขาให้ดีขึ้น
  5. ควรตัดเล็บเท้าทุก 1-2 สัปดาห์ ก่อนตัดเล็บควรแช่เท้าน้ำอุ่น ไม่เกิน 37 องศาเซลเซียส นาน 10-15 นาที จะทำให้เล็บอ่อน และตัดง่าย
  6. เมื่อ สังเกตเห็นความผิดปกติของเท้า เช่น สี มีอาการบวมช้ำเนื้อแข็ง มีตาปลา เป็นต้น อย่านิ่งดูดายรีบไปพบแพทย์ เพราะนั่นเป็นสัญญาณอันตรายของความผิดปกติ และอาจนำไปสู่การถูกตัดขาได้
ไตวายเพราะเบาหวาน
ทั้ง นี้คุณหมอสุวินัย กล่าวว่า ความน่ากลัวของโรคนี้อยู่ที่โรคแทรกซ้อนที่ตามมามากมาย ด้วยเหตุนี้คนเป็นเบาหวานจึงมีโอกาสเกิดโรคหัวใจและอัมพาตได้มากกว่าคนปกติ ถึง 3 เท่า
“จาก สถิติพบว่ากว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของคนไข้ที่ต้องล้างไตเกิดจากเบาหวานมากกว่า เพราะจากการศึกษาพบว่า ไตมีหน้าที่ในการขับของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งต้องทำงานตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้เมื่อผู้ป่วยเบาหวานมีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงมาก ไตก็จะยิ่งทำงานหนัก และส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติตามมา เช่น ขาบวม ปัสสาวะออกน้อย คลื่นไส้อาเจียน ปวดหัว ไม่มีแรง ปวดหัวใจ เป็นมากๆหากไม่ได้รับการฟอกไตก็อาจทำให้เกิดการช็อคและเสียชีวิตได้”
วิธีป้องกันเบาหวานรุกรานไต
  1. จำกัดอาหารรสเค็มโดยเด็ดขาด เพราะจะยิ่งทำให้ไตทำงานได้หนักขึ้น
  2. ตรวจสอบการทำงานของไต โดยการไปตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะอย่างน้อยปีละครั้ง
  3. เมื่อมีอาการเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย แสบขัด ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะเป็นเลือด ควรไปพบแพทย์
  4. ยาทุกชนิดมีผลกับการทำงานของไต ดังนั้นก่อนใช้ยาต้องปรึกษาแพท

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน


 โรค เบาหวาน เป็นกลุ่มโรคทางเมตะบอลิซึม ซึ่งก่อให้เกิดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงเป็นเวลานาน เป็นผลมาจากความผิดปกติในการหลั่งอินซูลินหรือความผิดปกติในการออกฤทธิ์ของ อินซูลิน…

สาเหตุ

  1. ความผิดปกติทางพันธุกรรมของเซลล์ในตัวของตับอ่อน
  2. ความผิดปกติทางพันธุกรรม ของการออกฤทธิ์ของอินซูลิน
  3. โรคของตับอ่อน การทำลายตับอ่อน จากการอักเสบ การติดเชื้อ
  4. โรคต่อมไร้ท่อ
  5. ยาหรือสารเคมีบางอย่าง ที่มีผลทำให้การหลั่งอินซูลินลดลง
  6. โรคติดเชื้อ
อาการ
  • ดื่มน้ำมาก
  • ปัสสาวะมาก
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
ใน รายที่เป็นไม่มากที่มีระดับน้ำตาลในเลือด 126-200 mg% อาจไม่มีอาการผิดปกติได้อย่างชัดเจน เพราะอาจตรวจพบได้โดยบังเอิญจากการตรวจปัสสาวะ หรือจากการตรวจเช็คสุขภาพ
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
  1. ภาวะไตวายเรื้อรัง
  2. ตาบอด
  3. ความผิดปกติของเส้นประสาท การตัดเท้า
  4. ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
  5. แผลที่เท้า
ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเป็นโรคเบาหวาน
  1. ความอ้วน (BMI > 27 kg/m)
  2. มีบิดา มารดา พี่หรือน้อง เป็นโรคเบาหวาน
  3. เป็นโรคความดันโลหิตสูง (BP > 140 / 90 มม.ปรอท)
  4. มี HDL – cholesterol. 250 mg/dl
คำแนะนำ
หาก ตรวจพบน้ำตาลในเลือดสูงควรปรึกษาแพทย์ และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน อาหารประเภทไขมัน น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีอัลกอฮอล์ และการออกกำลังกายสม่ำเสมอ
บางเรื่องในชีวิต ความวางใจสำคัญที่สุด ด้วยความปรารถนาดีจากโรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคเบาหวานเลี่ยงได้ด้วยแอปเปิ้ล บลูเบอรรี่ และลูกแพร์


โรคเบาหวานภัยหลายสำหรับหลายคน ซึ่งเมื่อได้เป็นแล้วคุณเองก็ต้องใช้เวลในการรักษาเป็นเวลานาน หรือบางคนอาจจะตลอดชีวิตเลยก็ได้
โรคเบาหวานเลี่ยงได้ด้วยแอปเปิ้ล บลูเบอรรี่ และลูกแพร์
สำหรับใครหลายคนที่ชอบทานหวานแต่กลัวว่าตัวเองจะเป็นโรคเบาหวานตามมา ลองกินผลไม้ดีๆ อย่าง บลูเบอร์รี่ แอปเปิ้ล และลูกแพร์ ดูสิ!
ซึ่งนักวิจัยนาม An Pan จาก Harvard School of Public Health เปิดเผยใน American Journal of Clinical Nutrition ว่า คนที่กินผลไม้เหล่านี้ใน ปริมาณมาก จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานประเภทสองน้อยลง โดยคนกินบลูเบอร์รี่จะมีโอกาสเป็นเบาหวานน้อยกว่าคนทั่วไปถึงร้อยละ 23 เช่นเดียวกับคนที่กินแอปเปิ้ลสัปดาห์ละอย่างน้อย 5 ผล นอกจากนี้ ยังเป็นที่ทราบกันดีว่า ผลไม้เหล่านี้เต็มไปด้วย “ฟลาวานอยด์” ซึ่งมีประโยชน์ในแง่ของการลดโอกาสเป็นโรคหัวใจและมะเร็งอีกด้วย
เห็นข้อดีของผลไม้ทั้ง 3 ชนิดแล้ว ก็อย่ามั่วรอช้าน่ะค่ะ รีบหันมาทานผลไม้ดังหล่าวกันตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณน่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : Lisa

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

รวมสารพันโรคผู้สูงวัย

วัน ที่ 13 เมษายนของทุกปี นอกจากจะถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยหรือวันมหาสงกรานต์แล้ว ยังเป็นวันสำคัญอีกวันคือ “วันผู้สูงอายุ” ด้วย ปัจจุบันสังคมไทยกำลังก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ ทำให้ต้องหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญกับผู้สูงวัยกันมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องสุขภาพ ซึ่งในวัยนี้จะต้องระมัดระวังและใส่ใจดูแลมากกว่าวัยอื่นๆ เพราะยิ่งอายุเยอะก็มักจะเจอปัญหาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เยอะไปตามอายุด้วยเช่นกัน ดังนั้นวันนี้ โรงพยาบาลกรุงเทพจะขอรวบรวมสารพันโรคที่ผู้สูงอายุควรระวังมาฝากกัน สำหรับโรคที่มักจะพบในวัยนี้ ได้แก่
1.โรคข้อเสื่อม เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่ในผู้สูงอายุ โดยข้อที่พบอาการเสื่อมได้มาก คือข้อที่รับน้ำหนักตัว เช่น ข้อเข่า เมื่อผู้ป่วยอายุมากขึ้นมักมีน้ำหนักตัวที่มากขึ้นด้วย และเริ่มมีโครงสร้างภายในข้อไม่เป็นปกติ จึงเกิดความเปลี่ยนแปลงความผิดปกติภายในข้อ อันประกอบด้วย ผิวของข้อเข่า ซึ่งเป็นกระดูกอ่อน เริ่มสึกหรอ ทำให้ผิวข้อไม่เรียบ การเคลื่อนไหวข้อ มีอาการติดขัด ฝืด หรือเสียงดังคล้ายกระดาษทรายถูกัน กระดูกรอบข้อเกิดการปรับตัว โดยสร้างกระดูกงอกขึ้นภายในข้อ ทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้น้อยลง กระดูกบริเวณข้อเข่า และรอบๆ ข้อ บางลง เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มเดินน้อยลง
อาการผิดปกติของผู้ป่วยที่เป็น โรคข้อเข่า เสื่อมในระยะแรก ประกอบด้วย อาการปวดอาจร่วมกับการมีข้อเข่าบวม อาการขัดที่ข้อ โดยอาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวมากขึ้นของข้อ ในขณะเหยียดและงอข้อเข่าจะมีอาการปวด และหรือขัดในข้อมากขึ้น และมีเสียงลั่นในข้อ ซึ่งอธิบายจากการที่ผิวกระดูกภายในข้อเริ่มไม่เรียบและมีกระดูกงอกเกิดขึ้น
อาการปวดที่เกิดในผู้ป่วยบางรายทำให้เกิดการปรับตัวด้วยการไม่เหยียด หรืองอข้อเข่าจนสุด เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น ทำให้เกิดปัญหาข้อติดขัด และเคลื่อนไหวไม่เต็มวงของการงอเข่าตามมา เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น หรือข้อที่เสื่อมอักเสบนั้นถูกใช้งานมากอย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้อาการผิดปกติเหล่านี้เป็นมากขึ้นได้โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อมาพบ แพทย์ก็มักจะมาเมื่ออาการต่างๆ เกิดขึ้นพอควรแล้ว หรือไม่สามารถประกอบภารกิจประจำวันได้เหมือนเดิม ซึ่ง อาการหลักๆ ก็คือ อาการปวด ขัด บวม ของข้อเข่า หรือในรายที่มีข้อเข่าโก่งอยู่บ้างแล้วก็มักจะมาด้วยเรื่องเข่าผิดรูป หรือทำให้เกิดปัญหาปวดมากขณะเปลี่ยนท่าเช่นจากนั่งเป็นยืน เมื่อเกิดปัญหาข้อเข่าเสื่อมขึ้นแล้ว ก็ย่อมมีอาการของโรคซึ่งจะสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรค ถ้าหากว่าอาการที่เกิดขึ้นน้อย ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมแต่เนิ่นๆ ก็สามารถชะลอการเสื่อมของข้อเข่านั้นๆ ได้
วิธีการที่จะช่วยให้ผู้ป่วยชะลอ การเสื่อม ของข้อเข่านั้น ประกอบด้วยวิธีหลักๆ ดังนี้ หลีกเลี่ยงท่างอข้อเข่ามากๆ เช่น นั่งยองๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ และนั่งคุกเข่า หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดหลายๆ ชั้น ควบคุมน้ำหนักตัวให้ดี ไม่ให้อ้วน  หมั่นขยันบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอยู่เสมอ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นขา ทานยาแก้ปวดเมื่อจำเป็นหรือทานเป็นครั้งคราว ใช้ไม้เท้าช่วยเมื่อต้องเดินเป็นระยะทางไกล หรือเดินในที่ไม่เรียบ
2.โรคกระดูกพรุน เป็นอีกโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุ โรคกระดูกพรุนเกิดจากการลดลงของปริมาณกระดูกในร่างกายร่วมกับมีการเปลี่ยน แปลงโครงสร้างภายในของกระดูก เป็นผลให้ความแข็งแรงของกระดูกโดยรวมลดลง และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักได้ โดยเฉพาะผู้หญิงมีโอกาสกระดูกหักจากโรคนี้มากถึง 30-40% ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนมาก เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง ทำให้มวลกระดูกของผู้หญิงในกลุ่มวัยนี้ลดลงถึงร้อยละ 3-5 ต่อปี นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนยังพบได้ในภาวะผู้ป่วยที่ได้ รับการตัดรังไข่ 2 ข้าง ผู้ป่วยที่ได้รับแคลเซียมและวิตามินดีน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย ผู้ป่วยที่รับประทานยาบางชนิดเช่นสารสเตียรอยด์หรือยากันชักบางชนิดและการ สูบบุหรี่ก็อีกเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น โดย ทั่วไปผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะไม่มีอาการใด ๆ จนกว่าจะมีอาการแสดงซึ่งได้แก่กระดูกหัก ตำแหน่งที่พบบ่อยในโรคกระดูกพรุนได้แก่บริเวณข้อสะโพก,ข้อมือหรือกระดูก สันหลังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ นอกจากนี้ อาการหลังโกง หรือตัวเตี้ยลงมากกว่า 2 เซนติเมตรนั้นอาจเป็นอาการของโรคกระดูกพรุนที่มีการยุบตัวลงของกระดูก สันหลังจึงเป็นภัยเงียบเพราะคนไข้จะไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้แล้ว
โรคกระดูกพรุนวินิจฉัยได้จากการตรวจค่าความหนาแน่นของกระดูกด้วย เครื่องมือ DEXA นอกจากนี้ยังสามารถตรวจเลือดเพื่อหาความผิดปกติอื่นๆ เช่น การขาดวิตามินดี และสามารถตรวจประเมินอัตราการสร้างและสลายของกระดูกได้ การตรวจเพิ่มเติมนี้เพื่อใช้ในการตัดสินใจวางแผนการรักษาและติดตามผลการ รักษาอย่างเหมาะสมต่อไป สำหรับการรักษาโรคกระดูกพรุนด้วยยาในปัจจุบันมีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ยากลุ่มที่ลดอัตราการสลายกระดูก และยากลุ่มที่เสริมสร้างมวลกระดูก ทั้งนี้การให้ยา แพทย์จำเป็นต้องตรวจคัดกรองผู้ป่วย เพื่อพิจารณาให้ยาตามความจำเป็น จึงแนะนำให้ผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้หญิงหลังหมดประจำเดือนควรมาตรวจภาวะกระดูก พรุน ผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรเสริมการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผักใบเขียว นม และงาดำ โดยทั่วไปแล้วผู้สูงอายุ ควรได้รับแคลเซียม วันละ 1200 มิลลิกรัม ควบคู่กับวิตามินดี 800 ไอยู นอกจากนี้ควรเพิ่มการออกกำลังกายที่เป็นการลงน้ำหนักที่ข้อ เช่นการยกน้ำหนักและการเดิน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก และควรมีการออกกำลังกายกลางแจ้งในเวลาเช้าหรือเย็น เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดี
3.โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่มีความสำคัญมากโรคหนึ่งในผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาและควบคุมตลอดชีวิต มากกว่าร้อยละ 90 ของโรตความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนโดยปัจจัยเสี่ยงที่ ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้แก่ การมีความเครียดสูง บริโภคอาหารรสเค็มหรือเกลือโซเดียมมาก ในผู้สูงอายุ มีการผนังหลอดเลือดแดงมีการแข็งตัวขึ้นและเสียความยืดหยุ่นอาจจะมีผลให้ความ ดันโลหิตในหลอดเลือดสูงขึ้น ความดันโลหิตสูง คือ ภาวะความดันในหลอดเลือดแดงสูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอทขึ้นไป โดยวัดขณะนั่งพัก 5-10 นาทีที่ไม่ได้สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ และได้ค่าสูงตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปในเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์
โรคความดันโลหิตสูงระยะแรกส่วน ใหญ่ไม่มี อาการมีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการและที่พบได้บ่อย คือ ปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ ปวดศีรษะ สำหรับผู้ที่มีความดันสูงรุนแรงอาจมีอาการเหล่านี้ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น มือเท้าชา ตามัว อัมพาต หรือเสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นต้น โรคนี้ถ้าไม่ได้รักษาเป็นเวลานานๆ ก่อให้เกิดความเสียหายและทำให้เกิดอาการของภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญต่างๆ ได้แก่ ภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกทำให้เป็นอัมพาต, หัวใจล้มเหลว, การทำงานของไตเสื่อมลง ทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรัง เป้าหมายของการรักษาความดันโลหิตสูง คือการควบคุมให้ต่ำกว่า 140 / 90 มม.ปรอท และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือไตเรื้อรัง ควรคุมให้ต่ำกว่า 130/80 มม.ปรอท
แนวทางการรักษา มีดังนี้ เปลี่ยนพฤติกรรมสู่การสร้างสุขภาพที่ดี เพื่อลดความดันและปัจจัยเสี่ยง ผู้ที่มีความดันสูงเพียงเล็กน้อยความดันจะลดเป็นปกติได้โดยไม่ใช้ยา ได้แก่ เลิกบุหรี่และเหล้า ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดอาหารรสจัด (หวาน มัน เค็มจัด) เพิ่มรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช ปลาและดื่มนมไขมันต่ำ ลดน้ำหนักส่วนเกิน และรู้จักคลายเครียด สำหรับผู้ที่ความดันยังคงสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท หลังจากปรับพฤติกรรมแล้วควรปรึกษาแพทย์ให้ยาลดความดันโลหิต เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ปัจจุบันมียาใหม่ๆ ที่มีคุณภาพให้ผลดีในการรักษาและควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ เช่น ขับเกลือและน้ำออกทางปัสสาวะ ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขยายหลอดเลือด เป็นต้น ในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงต้องติดตามการรักษา เพื่อประเมินการควบคุมความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะและเลือด ตรวจคลื่นหัวใจ เป็นต้น

4.โรคมะเร็ง ซึ่งโรคมะเร็งหลายชนิดเป็นโรคที่พบมากขึ้นตามอายุ โรคมะเร็งเกิดจากการที่โรคที่เซลล์หรือเนื้อเยื่อของร่างกายมีการเปลี่ยน แปลงแบ่งตัวแบบกระจายอย่างรวดเร็ว โดยอาจลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงหรือแพร่กระจายไปตามอวัยวะที่สำคัญต่างๆ โรคมะเร็งจะไม่ติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง โรคมะเร็งบางชนิดอาจจะมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก ถ้ามีประวัติครอบครัว ก็อาจจะมีโอกาสโรคสูงกว่าคนทั่วไป สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มะเร็งมีสาเหตุส่งเสริมได้จากหลายสาเหตุ เช่น การสูบบุหรี่ จะเพิ่มโอกาสการเกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหารแลและมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ การดื่มสุราเพิ่มโอกาสเกิดโรคตับแข็งซึ่งอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งตับตามมา โรคมะเร็งหลายชนิดสามารถตรวจพบเจอได้ตั้งแต่ระยะ เริ่มต้นทำให้รักษาหายขาดได้ ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งหลายชนิดจึงมีความสำคัญ ใน ผู้สูงอายุหลังอายุ 50 ปีขึ้นไปควรมีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ โดยการตรวจอุจจาระ หรือส่องกล้องตรวจลำไส้ซึ่งเป็นวิธีการที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพใน การประเมินปัญหาในลำไส้ใหญ่ และในผู้หญิงควรมีการตรวจแมมโมแกรมเต้านมซึ่งเป็นการตรวจด้วยรังสีเอกซเรย์ (X-Rays) ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อค้นหาความผิดปกติที่เต้านม สามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ ที่ก้อนมะเร็งยังมีขนาดเล็กเกินกว่าแพทย์จะคลำได้ โดยปกติควรมีการตรวจทุก 1-2 ปี
5.โรคต้อกระจก เกิดจากการขุ่นของเลนส์ตาหรือแก้วตา ซึ่งโดยปกติจะมีลักษณะใสทำหน้าที่รวมแสงให้ตกลงบนจอประสาทตาพอดี สำหรับอาการของต้อกระจกส่วนใหญ่ เลนส์แก้วตาจะเริ่มขุ่นมัวจากบริเวณส่วนกลาง ในที่มีแสงน้อย เมื่อม่านตาขยาย แสงสามารถผ่านเข้ามาทางส่วนอื่นของเลนส์แก้วตาได้ อาการของโรคต้อกระจกจะมีสายตาค่อย ๆ มัวลงเหมือมีฝ้าหรือหมอกบัง เห็นภาพซ้อน บางรายอาจมีสายตาสั้นขึ้นเรื่อยๆ เปลี่ยนแว่นบ่อยๆ จนกระทั่งแว่นตาก็ไม่สามารถช่วยได้ หรือเห็นสีต่างๆ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม สีจางลงหรือไม่สดใสเท่าที่เคยเห็น บางคนอาจเกิดการพร่าเวลาขับรถตอนกลางคืน สาเหตุ ที่พบบ่อยที่สุด คือ ในผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น เลนส์แก้วตาจะขุ่นเพิ่มขึ้น จึงมีผลให้การมองเห็นลดลง นอกจากนี้การใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ เป็นเวลานานก็สามารถทำให้เกิดต้อกระจกได้ด้วยเช่นกัน ในกรณีที่ปล่อยทิ้งไว้นาน ต้อกระจกอาจสุก และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเช่น ต้อหิน หรือมีการอักเสบภายในลูกตา ทำให้มีตาแดงและปวดตาอย่างมากต้องรีบลอกต้อกระจกออกทันที ซึ่งหากปล่อยถึงระยะดังกล่าวอาจทำให้เกิดตาบอดได้ การที่ต้อกระจกกลายเป็นต้อหินเพราะต้อกระจกพองตัวไปกดในทางระบายน้ำของลูกตา หรือต้อกระจกละลายตัวแล้วเกิดการอักเสบในลูกตา
ในปัจจุบันยังไม่มียารับประทาน หรือยาหยอดชนิดใดที่จัดว่าได้ผลดีในการรักษาต้อกระจก และยังไม่มีเลเซอร์ที่สามารถสลายต้อกระจกได้ การรักษาหลักคือ การลอกหรือผ่าเอาต้อกระจกนั้นออกโดยจักษุแพทย์ ปัจจุบันนิยมผ่าตัดโดยวิธีสลายต้อกระจก โดยใช้เครื่องกำเนิดคลื่นเสียงความถี่สูง หลังจากผ่าเอาต้อกระจกซึ่งขุ่นมัวออกแล้ว จักษุแพทย์ก็จะนำเลนส์แก้วตาสังเคราะห์ใส่แทนตำแหน่งเดิม เพื่อให้ผู้ป่วยมองเห็นได้ชัดขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากเลนส์สังเคราะห์นี้จะใสเหมือนกระจก แก้วตาเทียมนี้ไม่ต้องถอดออกมาล้างหรือเปลี่ยน และสามารถอยู่ได้ไปตลอดชีวิต
6.โรคสมองเสื่อม ตามข้อมูลทางสถิติ พบว่าอยู่ในอัตราสูงถึง 5-8 เปอร์เซ็นต์ของผู้อายุเกิน 65 ปี และจะมีอัตราการเกิดโรคสูงถึง 20  เปอร์เซนต์ และถ้าอายุเกิน 90 ปีขึ้นไปจะพบถึงครึ่งหนึ่งที่มีภาวะสมองเสื่อมเกิดขึ้นในผู้ป่วยภาวะสมอง เสื่อมจะพบว่ามีปริมาณ หรือจำนวนเซลล์ของสมองที่ทำงานลดลง จึงทำให้มีปัญหาด้านความจำ ความคิด อารมณ์และบุคลิกภาพของตนผิดไปจากเดิมอย่างมาก ใน ผู้สูงอายุ สาเหตุสมองเสื่อมที่พบบ่อยๆ มีสาเหตุ 2 ประการ คือ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคอัมพาต ไม่ว่าจะเกิดจากชนิดหลอดเลือดตีบ หรืออุดตัน หรือแตกก็ตาม โรคนี้พบได้ประมาณ 20% โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นโรคสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด และจะมีอาการเลวลงเรื่อยๆ โดยพบราว 70-80% ของผู้ที่มีสมองเสื่อม โรคนี้จะเป็นสาเหตุทำให้สมองฝ่ออย่างรวดเร็ว และมีปัญหาด้านความจำ, การพูด, ความคิด, การกระทำ, อารมณ์, การดำรงชีพ และบุคลิกภาพผิดไปอย่างชัดเจน
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรคนี้ว่าเกิดจากสิ่งใด มีหลายคนสันนิษฐานว่าเกิดจากพันธุกรรม การติดเชื้อ สารพิษตลอดจนระบบภูมิต้านทาน โดยปรกติแพทย์จะเป็นผู้ให้การวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมโดยอาศัยข้อมูลจาก ประวัติ ระยะเวลาเป็นโรค อาการ อาการแสดง ประวัติครอบครัว การตรวจร่างกายทางระบบประสาทโดยละเอียด และการสืบค้นหาสาเหตุของโรคดังกล่าว ซึ่งอาจประกอบด้วย การเจาะเลือด การเอกเรย์ การตรวจคลื่นสมอง การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง การตรวจคอมพิวเตอร์สมอง การตรวจการไหลเวียนของเลือดสู่สมองและบางครั้งอาจมีการตรวจชิ้นเนื้อสมองโดย การผ่าตัดพิสูจน์ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาตัวยาต่างๆ มากมาย ในการรักษาโรคนี้ แต่ยังไม่พบว่ามียาชนิดใดที่สามารถป้องกันหรือรักษาโรคให้หายขาดได้ การรักษามุ่งเน้นที่การรักษาตามตามอาการแบบประคับประคอง เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ญาติผู้ดูแลสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีความสุข ไม่วุ่นวายหรือเกิดอุบัติเหตุอันตรายต่างๆได้ ในรายที่มีอาการทางอารมณ์รุนแรงเอะอะโวยวายหรือวุ่นวายมากๆ บางครั้งก็จำ เป็นต้องให้ยาช่วยระงับจิตใจผู้ป่วย ขนาดยาและระยะเวลาที่ให้จำเป็นต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์
วิธีการง่ายๆ ในการดูแลตัวเองสำหรับผู้สูงอายุ คือการพักผ่อนให้เพียงพอ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง โดยทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้อีกทางหนึ่ง
บทความโดย
แพทย์หญิงพัณณิดา วัฒนพนม
ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

น้ำเห็ดหลินจือ บรรเทามะเร็งได้อย่างไร?

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอดเวลาโดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่พบว่ามีอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆ

น้ำเห็ดหลินจือ บรรเทามะเร็งได้อย่างไร?

ใน ทุกวันนี้เราต้องยอมรับว่า โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทั่วทุกมุมโลก องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ในปี 2573 จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 11.4 ล้านคน

และ ในจำนวนนี้เกิดในประเทศกำลังพัฒนาถึง 8.9 ล้านคน สำหรับประเทศไทยโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอดเวลาโดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่พบว่ามีอัตราสูง ขึ้นเรื่อยๆ
โดย อัตราการเกิดมะเร็ง ที่พบมากในผู้ชาย 5 อันดับแรกคือ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเม็ดเลือดขาว ส่วนที่พบมากในผู้หญิง 5 อันดับได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่
จาก ผลการศึกษา มีงานวิจัยหลายฉบับรองรับว่า เห็ดหลินจือ มีสารสำคัญเป็นสารกลุ่มโพลีแซ็กคาไรด์  มีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยให้จิตสงบ  เป็นยาระบายอ่อน ๆ  และสาร กลุ่มไทรเทอร์ปีน เป็นสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง พบมากในส่วนสปอร์ อีกทั้งยังพบว่าสารสกัดดอกเห็ดและสปอร์มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี  ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ปกติที่ไม่ใช่มะเร็ง การใช้เห็ดหลินจือกับผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทยจึงมีอัตราเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และเน้นไปที่การส่งเสริมสุขภาพเป็นหลัก
นอก จากนี้ยังมีรายงานการวิจัยจากหลายสถาบันพบว่า เห็ดหลินจือมีฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยมะเร็งปอด  มะเร็งลำไส้ใหญ่  และผู้ป่วยมะเร็งขั้นลุกลาม  มีความเป็นพิษต่ำมาก และมีความปลอดภัยในการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จึงได้มีการนำผลิตภัณฑ์สกัดจากเห็ดหลินจือเข้ามาใช้ในการรักษาร่วมในรูปแบบ ต่างๆ อย่างยี่ซิน ผลิตภัณฑ์ เครื่องดื่มเห็ดหลินจือสกัดเข็มข้น 90.8% เป็นเครื่องดื่มที่สกัดจากเห็ดหลินจือสายพันธุ์สีน้ำตาลแดง (Ganodema Lucidum) คัดเลือกเห็ดหลินจืดที่มีคุณภาพดีจากประเทศจีน ผ่านขบวนการสกัดเข้มข้น และฆ่าเชื้อด้วยระบบสเตอริไรซ์ ไม่มีการแต่งเติมกลิ่น สี และวัตถุกันเสีย จึงมั่นใจได้ถึงคุณภาพ และความปลอดภัย ว่าเป็นเครื่องดื่มเห็ดหลินจือสกัดที่คงคุณค่าสมุนไพรธรรมชาติ มีกลิ่นหอม และรสชาติที่กลมกล่อม ดื่มง่าย เพื่อสร้างความสะดวก สบายให้แก่ผู้บริโภคยิ่งขึ้น

กินอย่างไร..เพื่อหลีกเลี่ยงหัวใจอ่อนกำลัง


ภาวะ หัวใจอ่อนกำลัง หรือที่เคยเรียกกันว่า ภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีภาวะหัวใจอ่อนกำลัง มักมีความดันโลหิตสูงมานาน และควบคุมได้ไม่ค่อยดี
จริงๆ แล้วการควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงนอกเหนือจากการใช้ยา การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมควบคู่กับการควบคุมน้ำหนักก็ช่วยควบคุม ความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน
อาหารเค็มจัด เป็น อาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง เพราะ ทำให้น้ำขังในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย และการตามมาของภาวะหัวใจอ่อนกำลัง จนถึงหัวใจล้มเหลวในที่สุดได้ อาหารเค็มจัดที่ว่าก็คือ อาหารแปรรูปทั้งหลาย เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ผักกาดดอง เกี้ยมฉ่าย เต้าหู้ยี้ ไส้กรอก กุนเชียง หมูหยอง อาหารทั้งหลายเหล่านี้ได้ผ่านกระบวนการที่ทำให้เก็บไว้ได้นานๆ โดยทำให้มีความเข้มข้นของเกลือ หรือน้ำตาลสูง ดังนั้นวิธีการปฏิบัติตัวขั้นแรกคือ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปทุกชนิด ก็จะช่วยลดความเค็มหรือโซเดียม จากอาหารได้
คำแนะนำในการบริโภคอาหาร
  1. การปรุงแต่งรสชาติอาหารควรใช้สารปรุง แต่งรส เช่น น้ำปลา ซอส ซีอิ้ว ในปริมาณพอเหมาะ หลีกเลี่ยงการใช้ผงชูรส (monosodium glutamate) เนื่อง จากสารปรุงรสเหล่านี้มีสารประกอบของโซเดียมซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูง อาจทำให้มีการสะสมน้ำในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ หัวใจและไตทำงานหนักมากขึ้น
  2. ปริมาณโซเดียมที่แนะนำให้กินในแต่ละวัน (Thai RDI) ไม่ควรเกิน 2,400 มิลลิกรัม
อาหาร
หนึ่งหน่วย
บริโภค
โซเดียม
น้ำปลา
1 ช้อนโต๊ะ
1.160-1,490
ซีอิ้วขาว
1 ช้อนโต๊ะ
960-1,460
ซอสหอยนางรม
1 ช้อนโต๊ะ
420-490
กะปิ
1 ช้อนโต๊ะ
1,430-1,490
เกลือ
1 ช้อนโต๊ะ
2,000
ผงชูรส
1 ช้อนโต๊ะ
492
น้ำพริกเผา
1 ช้อนโต๊ะ
410
น้ำพริกตาแดง
1 ช้อนโต๊ะ
560
  1. หลีกเลี่ยงอาหารที่เค็มจัดหรือมี ปริมาณโซเดียมสูง เช่น อาหารแปรรูปต่างๆ ไส้กรอก กุนเชียง แฮม หมูแผ่น หมูหยอง ผักดองต่างๆ เต้าหู้ยี้ ปลาเค็ม ไข่เค็ม เป็นต้น
  2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ปาท่องโก๋ ไก่ทอด มันฝรั่งทอด หรืออาหารที่ใช้น้ำมันปริมาณมาก โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอลสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ไขมันจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม กะทิ เป็นต้น
  3. จำกัดน้ำมันในการประกอบอาหาร และควรเลือกใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
  4. รับประทานผัก และผลไม้เป็นประจำ
  5. ดื่มนมพร่องมันเนย หรือผลิตภัณฑ์จากนมพร่องมันเนย เช่น โยเกิร์ตไขมันต่ำ เป็นประจำทุกวัน พบว่า แคลเซี่ยมจากนมจะช่วยในการควบคุมความดันโลหิตได้
นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้บริโภคธัญพืชและผลิตภัณฑ์ เนื้อปลา เนื้อไก่ และถั่วต่างๆ ซึ่ง ลักษณะของอาหารนี้อุดมไปด้วยแร่ธาตุ แมกนีเซียม โปแตสเซียม แคลเซียม แลใยอาหาร ก็จะทำให้สุขภาพดี ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจได้
มี คนไข้ท่านหนึ่งหลังจากทำการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เล่าว่า (เคยคิดว่า) เต้าหู้ยี้เป็นอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคหัวใจ เพราะไขมันต่ำ ไม่มีคอเลสเตอรอลเพราะทำจากถั่วเหลือง แล้วคิดว่าไม่เค็มเท่าไหร่ เพราะกินกับข้าวต้ม ในความเป็นจริง กับข้าวที่กินกับข้าวต้มมักจะเค็มกว่าปกติ แต่หลังจากกลับเข้าโรงพยาบาลอีกครั้ง เนื่องจากหัวใจอ่อนกำลังจนล้มเหลว ต้องมาใส่ท่อช่วยหายใจหลายคืน เหตุเกิดเพราะอาหารที่กินประจำวัน คือ ข้าวต้มกับเต้าหู้ยี้ และผักกาดดองต่างๆ ก็เลยต้องกลับมาคิดให้ดีอีกรอบว่า เต้าหู้ยี้..ถึงแม้ว่าไขมันต่ำและไม่มีคอเลสเตอรอล แต่เค็มจริงๆ
ที่ น่าตกใจมากกว่า ก็คือ พอทราบว่าอาหารอะไรที่เค็มจัดและควรหลีกเลี่ยงแล้ว ผู้ป่วยก็มาบอกว่าตัวเองก็มีปัญหาหัวใจอ่อนกำลังเช่นกัน เนื่องจากอาหารที่เค็มจัดที่ว่ามา เป็นอาหารจานโปรดที่รับประทานเป็นประจำ พอหมอบอกให้หลีกเลี่ยงก็เลยคิดไม่ออกว่าจะกินอะไรดี..ว่าแล้วก็หัวใจอ่อน กำลังลงไปทันที

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคบาดทะยักคืออะไร


โรคบาดทะยักคืออะไร
โรคบาดทะยักเกิดจากเชื้อที่อยู่ในดิน ชื่อ clostridium tetani เมื่อเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายจะสารสารพิษหรือ toxin ที่เรียกว่า tetanospasmin สารพิษดังกล่าวจะจับกับเส้นประสาท ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดเกร็งอยู่ตลอดเวลา
เชื้อนี้มักจะเข้าทางบาดแผล แผลอาจจะเล็กมากจนไม่สัเกต แผลที่ลึก แผลที่มีเนื้อตายมากจะเกิดการติดเชื้อบาดทะยักได้ง่าย นอกจากนี้เชื้อนี้อาจจะเกิดจากการทำแท้ง ฉีดยาเสพติด แผลไฟไหม้ แผลจากแมลงกัด
หลังจากรับเชื้อกี่วันจึงเกิดอาการ
ผู้ป่วยจะเกิดอาการของบาดทะยักหลังจากได้รับเชื้อหรือเกิดแผลแล้ว 2 วันถึง 2 เดือน โดยเฉลี่ยประมาณ 14 วัน
อาการของโรคบาดทะยัก
โรคบาดทะยักมักจะเกิดกับกล้ามเนื้อลายและเส้นประสาท ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่เราสั่งได้ ผู้ป่วยจะเกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบแผล หลังจากนั้น1-7 วันจะเกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ผู้ป่วยจะมีการเกร็งของกล้ามเนื้อกรามทำให้อ้าปากไม่ได้ กลืนน้ำลายลำบาก คอและหลังมีการเกร็งทำให้นอนแอ่นหลัง มีอาการปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อช่วยหายใจไม่ทำงานเกิดภาวะหายใจลำบาก และอาจจะเสียชีวิตจากภาวะหายใจวายวิตจากหายใจวาย

10 วิธีถนอมกระดูกสันหลัง

10 วิธีถนอมกระดูกสันหลัง

     1. การนั่งไขว่ห้าง  จะทำให้น้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่งเป็นผลให้กระดูกคด
     2. การนั่งกอดอก  ทำ ให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ ถูกยืดยาวออก หลังช่วงบนค่อมและงุ้มไปด้านหน้าทำให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้ามีผลต่อเส้น ประสาทที่ไปเลี้ยงแขนอาจทำให้มืออ่อนแรงหรือชาได้
     3. การนั่งหลังงอ หลังค่อม  เช่น การอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานๆ เป็นชั่วโมง จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้างเกิดการคั่งของกรดแลกติค มีอาการเมื่อยล้า ปวด และมีปัญหาเรื่องกระดูกผิดรูปตามมา
     4. การนั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น  ทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนักเพราะฐานในการรับน้ำหนักตัวแคบ
     5. การยืนพักขาลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียว  การยืนที่ถูกต้องควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่าๆ กัน โดยยืนให้ขากว้างเท่าสะโพกจะทำให้เกิดความสมดุลของโครงสร้างร่างกาย
     6. การยืนแอ่นพุง หรือหลังค่อม  ควรยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อย เพื่อเป็นการรักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่นและทำให้ไม่ปวดหลัง
     7. การใส่ส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่ง  จะทำให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติซึ่งจะนำมาสู่อาการปวดหลัง
     8. การสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว  ไม่ ควรสะพายกระเป๋าข้างใดข้างหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนเป็นการถือกระเป๋าโดยใช้ร่างกายทั้ง 2 ข้างให้เท่าๆ กัน อย่าใช้แค่ข้างใดข้างหนึ่งตลอดเพราะจะทำให้ต้องทำงานหนักอยู่เพียงซีกเดียว ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดได้
     9. การหิ้วของหนักด้วยนิ้วบ่อยๆ  จะมีผลทำให้มีพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ
     10. การนอนขดตัวหรือนอนตัวเอียง  ท่า นอนหงายเป็นท่านอนที่ถูกต้องที่สุด ควรนอนให้ศีรษะอยู่ในแนวระนาบ หมอนหนุนศีรษะต้องไม่แข็งหรือนิ่มเกินไป ควรมีหมอนรองใต้เข่าเพื่อลดความแอ่นของกระดูกสันหลังช่วงล่าง หากจำเป็นต้องนอนตะแคงให้หาหมอนข้างก่ายโดยก่ายให้ขาทั้งหมดอยู่บนหมอนข้าง เพื่อรักษาแนวกระดูกให้อยู่ในแนวตรง

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

กินหวานทำให้ลิ้นรับรสเสื่อม มาเบา(รส)หวานเพื่อ สุขภาพ


 คุณรู้ไหมค่ะว่าแต่ละวันนั้น คุณรับประทานน้ำตาลไปกี่ไปเท่าไรแล้ว คุณผู้หญิงที่ชอบของหวาน คงต้องหัดมาลดความหวานลงกันได้แล้วค่ะ

เชื่อ ไหมค่ะว่า คนไทยติดต้ำตาลเป็นอันดับต้นๆเลยล่ะคะ  เชื่อไหมค่ะว่า มีการเก็บสถิติพบว่า โดยเฉลี่ยแล้วคนทั่วไปบนโลกใบนี้ รับประทานน้ำตาลกัน 11 ช้อนชาโดยประมาณ แต่เชื่อไหมคะ ว่าคนหวานละมุนอย่างชาวไทยเรา รับประทานน้ำตาลกันถึง 16 ช้อนชาต่อวันเลยทีเดียวซึ่งจริงๆแล้ว
และ เชื่อได้ว่าผู้หญิงส่วนใหญ่ชอบรับประทานหวานมากกว่าผู้ชาย สาวๆรู้กันไหมค่ะว่า นอกจากความหวานจะทำให้คุณเสียสุขภาพแล้ว มันทำให้หุ่นของคุณผู้หญิงเปลี่ยนแปลงไปในทางอ้วนกันเลยทีเดียวค่ะ ผิวพรรณก็เหี่ยวแก่ไปอีก เห็นไหมหวานมันทำลายสุขภาพ และ สุขภาพผิวพรรณผู้หญิงอย่างเราๆกันเลยค่ะ ลองปรับเปลี่ยนการรับประทานเพื่อให้การมีกริยาอ่อนหวานนั้นเป็นสิ่งดี เพราะน้ำตาลที่เข้าสู่กระแสเลือดของเรา จะเข้าไปทำปฏิกริยากับโครงสร้างที่เป็นโปรตีนในร่างกาย เกิดเป็นปฏิกริยาไกลเคชั่น (Glycation) ทำให้โครงสร้างนั้นๆเสียไป หนึ่งในโครง สร้างที่ถูกทำลายจากไกลเคชั่น คือ คอลลาเจนใต้ผิวหนังของเรา เมื่อคอลลาเจนถูกทำลาย ผลลัพธ์ ที่ได้ก็คือผิวที่เหี่ยวหย่อนยานนั่นเอง เห็นไหมค่ะคุณผู้หญิง ผิวก็จะเหี่ยว น้ำตาลช้องหนึ่ง ทำให้คุณผู้หญิงแก่ไปกี่ปีล่ะ
ยิ่ง ไปกว่านั้น น้ำตาลยังเข้าไปกระตุ้นฮอร์โมนอินซูลินให้ออกมามาก เชื่อกันว่าระดับฮอร์โมนอินซูลินที่สูง จะทำให้ไขมันสะสมในร่างกายมาก (พูดง่ายๆว่า อ้วน!!) และยังอาจสัมพันธ์กับโรคมะเร็งหลากหลายชนิดอีกด้วย
เห็น ไหมค่ะว่า ความหวานนั้นทำลายสุขภาพ ผิวพรรณสำหรับคุณผู้หญิงอย่างไร เริ่มตั้งแต่วันนี้ค่ะ รับประทานหวานให้น้อยลง ให้ลิ้นของคุณได้ซึมซับรสอาหารที่แท้จริงมากขึ้น แล้วสุขภาพกายและสุขภาพผิวของคุณจะดีขึ้นอย่างแน่นอน กับเทคนิคง่ายเริ่มตัวด้วยการปรับความคิดของคุณเอง เริ่มจาก
  • ซื้อเค้ก : ไม่ได้ห้ามกิน แต่คิดก่อนกิน คือเลือกรสที่หวานน้อย และพยายามรับประทานไม่เกิน 1 ครั้งต่อสัปดาห์
  • ซื้อกาแฟ : ใครที่ติดกาแฟ ขาดไม่ได้ ขอลดน้ำตาลหรือน้ำเชื่อมลงได้ คนขายไม่ว่าคุณหรอก
  • ซื้อไอศครีม :  หวาน เย็น อดไม่ได้ใช่ไหม ลองเลือกรับประทานแบบปราศจากน้ำตาล หรือ Sugar-Free
  • ปรุงก๋วยเตี๋ยว : ลองเปลี่ยนจากการเชื่อมก๋วยเตี๋ยว ลดปริมาณน้ำตาล และ เติมเปรี้ยวอีกนิด เผ็ดอีกหน่อย ก็แซ่บอร่อยเอง
  • อยากดื่มน้ำอัดลม :  เลือกเป็นแบบปราศจากน้ำตาล หรือ หันมาดื่มน้ำผลไม้ที่ไม่แต่งรส ได้ทั้งความสดชื่น ทั้งสุขภาพ

โรคมะเร็งในช่องปาก ข้อควรรู้และไม่ควรมองข้าม


โรค มะเร็งในช่องปากสามารถพบได้ 1 ใน 10 ทั้งชายและหญิง และพบได้ 3-5% ของโรคมะเร็งในช่องปากที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย ซึ่งพบได้ในผู้ใหญ่ตั้งแต่วัยกลางคนขึ้นไปสามารถเป็นโรคมะเร็งในช่องปากได้

โรคมะเร็งในช่องปาก ข้อควรรู้และไม่ควรมองข้าม

หลายคนอาจไม่ทราบถึง โรคมะเร็งในช่องปาก นั้นเป็นอย่างไร เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้ดีกันดีกว่าค่ะ

มะเร็งช่องปากคืออะไร?
มะเร็งช่องปากเป็นส่วนหนึ่งของโรคมะเร็งในกลุ่มโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ ซึ่งประมาณ 90-95% ของมะเร็งช่องปากจะเป็นชนิด สะความัส (Squamous cell carcinoma) หรือเรียกย่อว่าชนิด เอสซีซี (SCC) สำหรับมะเร็งชนิดอื่นๆ เช่น มะเร็งชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา (Adenocarci noma) หรือ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง พบได้น้อยมากๆ ดังนั้น ในบทความนี้ จึงกล่าวถึงเฉพาะมะเร็งช่องปากชนิด เอสซีซี เท่านั้น
มะเร็งช่องปากพบในใคร?
โรคมะเร็งช่องปากพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และพบมากในอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปโดย เฉพาะในผู้สูงอายุ อะไรเป็นสาเหตุของมะเร็งช่องปาก?
ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก แต่มีการศึกษาพบว่ามีปัจจัยบางอย่างเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค ได้แก่
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์/เครื่องดื่มมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
อนึ่ง เมื่อทั้งสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งในช่องปากได้สูงกว่าคนปกติถึงประมาณ 15 เท่า และประมาณ 90% ของผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก เป็นผู้มีประวัติสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การกิน/เคี้ยว หมาก พลู ยาฉุน ยาเส้น เนื่องจากสิ่งต่างๆเหล่านี้ มีสารก่อมะเร็งเจือปนอยู่
  • การ ระคายเคืองของเยื่อเมือกบุช่องปากจากฟันหัก/บิ่น ที่แหลมคมที่ไม่ได้รับการรักษาฟันผุจนทำให้เหงือกเป็นหนอง เพราะทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังร่วมกับการระคายเคืองที่เกิดขึ้นซ้ำๆนานๆ เซลล์ของเยื่อเมือกบุช่องปากจึงอาจเกิดการเปลี่ยนแปลง กลายไปเป็นเซลล์มะเร็งได้
  • การ ติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัสเอชพีวี (HPV, Human Papilloma virus) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก จากการมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก (Oral sex)
  • เคยเป็นโรคมะเร็งในบริเวณศีรษะและลำคอมาก่อน
มะเร็งช่องปากมีอาการอย่างไรบ้าง?
อาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปาก ได้แก่
  • มีฝ้าสีขาว (Leukoplakia) หรือสีแดง (Erythroplakia) ในเยื่อเมือกบุช่องปาก และ/หรือลิ้น
  • มีแผลในช่องปากที่รักษาไม่หายเป็นเวลานานเกิน 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป
  • มีตุ่ม หรือก้อนในช่องปากที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมักไม่มีอาการเจ็บปวด
  • ฟันโยก หรือหลุด หรือใส่ฟันปลอมไม่ได้ เนื่องจากมีก้อนเนื้อบริเวณเหงือก พื้นปาก หรือเพดานปาก
  • มีปัญหาในการเคี้ยวอาหาร หรือการกลืนอาหาร จากการอุดกั้นของก้อนเนื้อ หรือจากการเจ็บจากแผลมะเร็ง
  • มีเลือดออกผิดปกติในช่องปากจากแผลมะเร็ง
  • มีก้อนที่ลำคอ ซึ่งคือ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอโต คลำได้จากมีโรคมะเร็งลุกลาม แต่มักไม่มีอาการเจ็บปวด
อนึ่ง หากโรคมะเร็งช่องปาก แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ก็อาจมีอาการตามอวัยวะนั้นๆที่โรคแพร่กระจายไปได้ เช่น มะเร็งกระจายไปกระดูก อาจมีอาการปวดตามกระดูกในส่วนต่าง ๆที่โรคแพร่กระจายไป มะเร็งช่องปากมีกี่ระยะ?
มะเร็งช่องปากแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
  • ระยะที่ 1ก้อน/แผลมะเร็งมีขนาดโตน้อยกว่า หรือเท่ากับ 2 เซนติเมตร
  • ระยะที่ 2ก้อน/แผลมะเร็งมีขนาดโตมากกว่า 2 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 4 เซนติเมตร
  • ระยะที่ 3ก้อน/แผล มะเร็งมีขนาดโตมากกว่า 4 เซนติเมตร และ/หรือ มีการลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอ 1 ต่อมซึ่งขนาดโตไม่เกิน 3 เซนติเมตร เกิดขึ้นเพียงข้างเดียวของลำคอ
  • ระยะที่ 4ก้อน/แผล มะเร็งมีการลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ และ/หรืออวัยวะข้างเคียง และ/หรือ มีโรคลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่คอ 1 ต่อมแต่มีขนาดโตกว่า 3 เซนติเมตร และ /หรือ มีโรคลุกลามเข้าต่อม น้ำ เหลืองมากกว่า 1 ต่อม และ/หรือ ลุกลามเข้าต่อมน้ำ เหลือง ลำคอทั้ง 2 ข้าง และ/หรือ มีโรคแพร่กระจายเข้ากระแสเลือด (โลหิต) ไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่พบได้บ่อยคือ ปอด ตับ และกระดูก
รักษามะเร็งช่องปากอย่างไร?
ในการดูแลรักษาโรคมะเร็งช่องปากนั้น มีการรักษาหลักๆ 3 วิธี คือ การผ่าตัด รังสีรักษา และยาเคมีบำบัด ส่วนยารักษาตรงเป้ายังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษา และยายังมีราคาแพงมหาศาลเกินกว่าผู้ป่วยทุกคนจะเข้าถึงยาได้
  1. การผ่าตัด มัก ใช้รักษาโรคระยะที่ 1 ระยะที่ 2 หรือระยะที่ 3 ซึ่งจะผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งร่วมกับเนื้อเยื่อปกติรอบๆก้อนมะเร็งออก และอาจทำการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองลำคอออกด้วย หลังผ่าตัด แล้วหากมีข้อบ่งชี้ อาจให้การรักษาต่อด้วยการใช้รังสีรักษา และ/หรือ การให้ยาเคมีบำบัด
  2. การใช้รังสีรักษา ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี คือ การฉายรังสี และการฝังแร่ วิธีเลือกการรักษานั้นขึ้นอยู่กับขนาด และตำแหน่งของก้อนมะเร็ง โดยทั้ง 2 วิธีนี้เป็นการรักษาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งเฉพาะที่ และ/หรือ ต่อม น้ำเหลืองบริเวณลำคอ และการรักษาอาจใช้รังสีรักษาเพียงวิธีการเดียว หรือใช้ร่วมกับการผ่าตัด และ/หรือการใช้ยาเคมีบำบัด ทั้งนี้ขึ้นกับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ และดุลพินิจของแพทย์
  3. การให้ยาเคมีบำบัด เป็นการให้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งทั่วร่าง กาย โดยการรักษาอาจใช้ร่วมกับการผ่าตัด และ/หรือ การใช้รังสีรักษา หรืออาจให้ยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียวหากเป็นการรักษาในผู้ป่วย ที่มีโรคแพร่กระจายเข้ากระแสเลือดไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด หรือ ตับ
การรักษามะเร็งช่องปากมีผลข้างเคียงอย่างไร?
ผลข้างเคียง (ผลแทรกซ้อน) จากการรักษาในแต่ละวิธีนั้นจะแตกต่างกันตามแต่ละวิธีที่ผู้ป่วยได้รับ และผลข้างเคียงอาจพบได้มากขึ้นหากผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยหลายๆวิธีร่วม กัน
  • ผลข้างเคียงจากการผ่าตัด เช่น อาการปวด การมีเลือดออกจากแผลผ่าตัด การติดเชื้อ การสูญเสียเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่ผ่าตัด และการบาดเจ็บจากผ่าตัดถูกอวัยวะข้างเคียง
  • ผลข้างเคียงจากการรังสีรักษา คือ ในเรื่องของผิวหนัง และเนื้อเยื่อต่างๆที่ได้รับรังสี (การดูแลผิวหนังและผลข้างเคียงต่อผิวหนังบริเวณฉายรังสีรักษา และการดูแลตนเองเมื่อฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ)
  • ผลข้างเคียงจากการให้ยาเคมีบำบัด เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ไขกระดูกทำงานต่ำลง ทำให้มีภาวะซีด ภาวะเกล็ดเลือดต่ำทำให้มีเลือดออกได้ง่าย และมีเม็ดเลือดขาวต่ำ (ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจากเคมีบำบัดและ/หรือรังสีรักษา)
ป้องกันมะเร็งช่องปากได้อย่างไร?
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมะเร็งช่องปาก แต่มีข้อแนะนำ เพราะอาจลดโอกาสเกิดโรคนี้ได้บ้าง คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคดังกล่าวแล้วที่หลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะ การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญดังกล่าวแล้ว นอกจากนั้นควรดูแลสุขภาพในช่องปากทุกวัน ที่สำคัญคือ แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเมื่อตื่นนอนเช้า และก่อนเข้านอน ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้งก่อนแปรงฟันเข้านอน และพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพในช่องปากและฟัน ทุกๆ 6-12 เดือน หรือบ่อยตามทันตแพทย์แนะนำ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : www.haamor.com

วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556

7 โรคร้ายของผู้สูงอายุ


7 โรคร้ายของผู้สูงอายุ

    1. โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคนี้มักอยู่ในช่วงอายุ 55-65ปี ที่สำคัญ 70% คือตัวเลขของคนที่มีความดันสูงแต่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็น ซึ่งอาจเสี่ยงต่ออัมพฤกษ์ อัมพาตมากกว่าคนทั่วไปถึง 7 เท่า
    2. โรคอัลไซเมอร์ อาการมักเริ่มจากการหลงลืม จำเรื่องในแต่ละวันไม่ค่อยได้ บางคนก็อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายหรือชอบเก็บตัว หากปล่อยทิ้งไว้นานก็จะยิ่งหนักข้อจนทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมขั้นรุนแรงได้ สามารถวินิจฉัยโรคได้ด้วย PET Scan ถูกต้องถึง 97% เลยทีเดียว
    3. ลมชักแบบซ่อนเร้น มักพบในผู้สูงอายุและเด็กเล็กอาการชักมีหลายแบบ อาจวูบล้ม ตื่นขึ้นมานิ่งไม่รู้สึกตัว จำไม่ได้ไปชั่วขณะ หรือมึนงง ปวดหัว เดินเซ จนถึงการกร็ง กระตุก เมื่อมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์ ไม่อย่างนั้นอาจส่งผลต่อสมอง ทำให้สูญเสียความทรงจำในที่สุด
    4. ข้อเสื่อม พบในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะข้อสะโพกและข้อเข่า ทำให้เกิดความเจ็บปวดจนไม่อาจใช้งานได้ ป้องกันได้ด้วยการควบคุมน้ำหนักและเลี่ยงการนั่งยองๆ
    5. กระดูกพรุน กว่า 50% ของผู้หญิง และ20%ของผู้ชายที่อายุมากกว่า 65 ปี พบว่ามีภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุนป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกายอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง และหมั่นตรวจวัดความหนาของมวลกระดูกเพื่อดูว่ามีความเสี่ยงมากหรือน้อยเพียง ใด
    6. กระดูกคอเสื่อม มักพบในคนที่อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปผู้ป่วยมักนอนหลับไม่สนิท นอนตะแคงแล้วปวด ต่อมามือและแขนหรือขาจะอ่อนแรง หากปล่อยไว้นานจะทำให้ประสาทเสียอย่างถาวร
    7. ปวดหลัง ซึ่งอาจลามไปถึงอาการปวดบริเวณเอว ก้นกบ สันหลัง ไม่นอนดูทีวีปลายเตียงนานกว่า 3 ชม. ควรนั่งลงเพื่อให้เอวตั้งตรงและไม่นั่งทำงานห่อไหล หรือยื่นคอไปใกล้หน้าจอ นอกจากนี้ ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และยืดเส้นยืดสายก่อนการออกำลังกายทุกครั้ง
     ที่มา : หนังสือพิมพ์ M2F

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

บร็อคโคลี่ ผักต้านมะเร็ง


มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ทำการศึกษาวิจัยในเรื่องของการกินบร็อคโคลี่กับการต้านโรคมะเร็ง โดย เฉพาะหน่อหรือต้นอ่อนของบร็อคโคลี่นั้น เมื่อกินคู่กับบร็อคโคลี่จะทำให้มีผลที่สามารถต่อกรกับโรคมะเร็งได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้นเกือบ 2 เท่า
บร็อคโคลี่ เป็น ผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง อุดมไปด้วยเบตา-แคโรทีน(beta-carotene) เส้นใยอาหาร วิตามินC รวมไปถึงสารอาหารต่างๆอีกหลากหลายชนิด บร็อคโคลี่มีสารชัลโฟราเฟน (sulforaphane) ซึ่งเป็นตัวช่วยทำให้ตับขับสารพิษ ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และยับยั้งการเจริญของเนื้องอก อีกทั้งยังมีคุณสมบัติพิเศษในการต่อต้านมะเร็ง คือสามารถป้องกันอนุมูลอิสระที่เข้าไปทำลายเซลและทำลาย DNA ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งได้
การศึกษาของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์พบว่า หน่อหรือต้นอ่อนของบร็อคโคลี่นั้นมีเอนไซม์ไมโรซิเนส (myrosinase) และ มีปริมาณที่มากกว่าบร็อคโคลี่ต้นที่โตแล้ว ดังนั้นการกินทั้งบร็อคโคลี่และต้นอ่อนของมันจะให้ประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้น กว่าการกินอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
การรับประทานบร็อคโคลี่เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการต้านมะเร็งมากที่สุดนั้น จะต้องไม่ผ่านกรรมวิธีการปรุงอาหารที่มีระยะเวลานานเกินไป เพราะจะเป็นการทำลายเอนไซม์ไมโรซิเนส (myrosinase) หรือตัวเอนไซม์ที่สามารถย่อยแป้งและน้ำตาล และจะไปทำลาย sulforaphane อีกด้วย

TIP:
ควร เลือกบร็อคโคลี่ที่มีดอกแน่น กระชับ และมีสีเขียวเข้ม ในส่วนก้านควรจะเหนียวนุ่มและแข็งแรง หลีกเลี่ยงต้นที่มีดอกสีเหลือง ใบเหี่ยวเฉา และที่ก้านหนาหรือแข็งจนเกินไป

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

Stem Cell เม็ดเลือดคืออะไร?


มนุษย์เราทุกคนต้องมีเลือดอยู่ในร่างกาย มีจำนวนและชนิดของเซลล์เม็ดเลือดมากมายในเลือด เซลล์เม็ดเลือดทุกเซลล์มีกำเนิดมาจากเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่สร้างและ ผลิตในไขกระดูก…
มนุษย์เราทุกคนต้องมีเลือดอยู่ในร่างกาย มีจำนวนและชนิดของเซลล์เม็ดเลือดมากมายในเลือด เซลล์เม็ดเลือดทุกเซลล์มีกำเนิดมาจากเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่สร้างและ ผลิตในไขกระดูก โดยทั่วไปในทางปฏิบัติ เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดมักจะถูกเรียกว่าภเซลล์ต้นกำเนิด (หรือ stem cell)ภตัว stem cell นี้มักได้รับคำจำกัดความว่าเป็นเซลล์พ่อแม่ (parent cell) ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถแบ่งจำนวนเซลล์ เจริญเติบโต และพัฒนาไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดที่มีความสมบูรณ์และเป็นภูมิคุ้มกันของร่างกาย เซลล์ต้นกำเนิดสามารถพบได้ในได้จากไขกระดูก เลือดสายสะดือของทารกแรกเกิด และพบได้จำนวนน้อยในกระแสเลือดที่ไหลเวียนในร่างกาย เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดจะผลิตเซลล์เม็ดเลือดที่พัฒนาแล้วได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้
เม็ดเลือดแดงภทำหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ในอวัยวะต่างๆภทั่วร่างกาย
เม็ดเลือดขาวภทำหน้าที่ต่อสู้และต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย
เกร็ดเลือดภทำหน้าที่ช่วยสร้างลิ่มเลือดในการอุดห้ามเลือด ให้เลือดหยุดไหลจากเส้นเลือดฝอยที่ฉีกขาด
มีเม็ดเลือดขาวที่สำคัญ 2 ชนิดคือ
นิวโตรฟิล ทำหน้าที่ต่อสู้เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราโดยการกำจัดทำลายเชื้อโดยตรง
ลิมโฟซัยท์ ทำหน้าที่ทำลายการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อราโดยทำปฏิกิริยาในระดับเซลล์ หรือสร้างสารต่อต้านที่เรียกว่า แอนติบอดี

วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2556

ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง


        ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงมีหลายชนิด เช่น เม็ดเลือดแดงขนาดผิดปกติ เม็ดเลือดแดงติดสีผิดปกติ เม็ดเลือดแดงรูปร่างผิดปกติ เม็ดเลือดแดงมีสิ่งผิดปกติอยู่ภายในเซลล์ และเม็ดเลือดแดงเรียงตัวผิดปกติ
การตรวจรูปร่างลักษณะของเม็ดเลือดแดงโดยกล้องจุลทรรศน์จึงมีความสำคัญ อย่างยิ่ง ช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆได้เป็นอย่างดี ความผิดปกติบางอย่างอาจจำเพาะเจาะจงสำหรับโรคบางอย่าง ในขณะที่ความผิดปกติบางอย่างอาจไม่จำเพาะเจาะจงแต่อย่างใด จำเป็นต้องใช้ข้อมูลอื่นๆ มาประกอบการวินิจฉัยโรค
เม็ดเลือดแดงขนาดผิดปกติ
ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงในด้านขนาด เรียกว่า anisocytosis
ม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่ เรียกว่า macrocyte เป็นเม็ดเลือดแดงตัวแก่ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ โดยมีขนาดประมาณ 9-12 ไมครอน เม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่สามารถพบได้ในโรคโลหิตจางชนิดเมกาโลบลาสติก และโรคตับ ในกรณีของโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดวิตามิน B12 หรือเกิดจากการขาดกรดโฟลิก อาจพบเม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเป็นรูปไข่

  1. เม็ด เลือดแดงขนาดเล็ก เรียกว่า microcyte เป็นเม็ดเลือดแดงตัวแก่ที่มีขนาดเล็กกว่าปกติ มักพบว่ามีบริเวณติดสีจางกลางเซลล์กว้างกว่า 1/3 ของเซลล์ เม็ดเลือดแดงขนาดเล็กสามารถพบได้ในโรคธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางขาดธาตุเหล็ก และในโรคโลหิตจางที่เกิดจากเม็ดเลือดแตก

เม็ดเลือดแดงติดสีผิดปกติ
เม็ดเลือดแดงติดสีน้อยกว่าปกติ เรียกว่า hypochromia เป็นเม็ดเลือดแดงที่มีบริเวณติดสีจางกลางเซลล์กว้างกว่า 1/3 ของเซลล์ เนื่องจากปริมาณของฮีโมโกลบินภายในเซลล์ลดลง สามารถพบได้ในโรคโลหิตจางขาดธาตุเหล็ก และโรคโลหิตจางชนิดเรื้อรัง
เม็ดเลือดแดงรูปร่างผิดปกติ
ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงทางด้านรูปร่าง เรียกว่า poikilocytosis สามารถแบ่งออกได้เป็น
  1. เม็ด เลือดแดงตัวเล็กกลม เรียกว่า spherocyte เป็นเม็ดเลือดแดงตัวเล็กกว่าปกติ มีลักษณะกลม ติดสีชมพูเข้มทึบทั้งเซลล์ ไม่มีบริเวณติดสีจางกลางเซลล์ เม็ดเลือดแดงตัวเล็กกลมสามารถพบได้ในโรคโลหิตจางที่เกิดจากเม็ดเลือดแตก โรคโลหิตจางที่เกิดในทารกแรกเกิด และโรคโลหิตจางตัวกลมเล็กที่เป็นแต่กำเนิด
  2. เม็ด เลือดแดงรูปเป้า เรียกว่า target cell เป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เห็นมีจุดกลมสีชมพู อยู่ตรงกลางคล้ายรูปเป้า สามารถพบได้ในภาวะความผิดปกติของฮีโมโกลบิน และโรคตับ
  3. เม็ด เลือดแดงรูปปาก เรียกว่า stomatocyte เป็นเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่บริเวณติดสีจางกลางเซลล์มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรืออาจคล้ายรูปปาก ในภาวะปกติบริเวณติดสีจางกลางเซลล์จะมีลักษณะกลม เกิดขึ้นเนื่องจากเม็ดเลือดแดงมีการสูญเสียโครงรูปบนด้านหนึ่งของสบริเวณผิว เม็ดเลือดแดงรูปปากสามารถพบได้ในโรคตับ โรคพิษสุราเรื้อรัง ภาวะเสียสมดุลของสารเกลือแร่ และความผิดปกติชนิดที่เป็นมาแต่กำเนิด
  4. เม็ดเลือดแดงรูปไข่ เรียกว่า ovalocyte เป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะคล้ายรูปไข่ บางเซลล์อาจเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะคล้ายซิการ์ เรียกว่า elliptocytes เซลล์ทั้งสองชนิดนี้สามารถพบได้มากในโรคชนิดเป็นมาแต่กำเนิด นอกจากนี้ยังสามารถพบได้บ้างในภาวะโลหิตจางชนิดต่างๆ
  5. เม็ด เลือดแดงรูปหยดน้ำตา เรียกว่า teardrop เป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายหยดน้ำตา เม็ดเลือดแดงรูปหยดน้ำตาสามารถพบได้ในภาวะไขกระดูกเป็นพังผืด โรคโลหิตจางขาดวิตามิน B12 โรคของไขกระดูกบางชนิด โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย และโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแตก
  6. เม็ด เลือดแดงรูปหนามแหลม เรียกว่า burr cell เป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีหนามแหลมกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอบนผิวของเม็ด เลือดแดง เม็ดเลือดแดงรูปหนามแหลมสามารถพบได้ในภาวะไตวายเรื้อรัง ภาวะเสียเลือดเฉียบพลัน มะเร็งกระเพาะอาหาร และโรคขาดเอนไซม์บางชนิด
  7. เม็ด เลือดแดงรูปเศษเสี้ยว เรียกว่า schistocyte เป็นเม็ดเลือดแดงที่มีรูปร่างลักษณะเป็นเศษชิ้นต่าง ๆ รูปร่างไม่แน่นอน เม็ดเลือดแดงรูปเศษเสี้ยวสามารถพบได้ในภาวะเม็ดเลือดแตกในหลอดเลือดเล็ก แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกรุนแรง และ ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดชนิดแพร่กระจาย
  8. เม็ด เลือดแดงรูปหนามสั้นยาวไม่เท่ากัน เรียกว่า acanthocyte เป็นเม็ดเลือดแดงที่มีหนามสั้นยาวไม่เท่ากัน และการกระจายตัวไม่สม่ำเสมอ ยื่นออกมาจากขอบของเม็ดเลือดแดง นอกจากนั้นยังมีขนาดเล็กกว่าเม็ดเลือดแดงปกติ และไม่เห็นบริเวณติดสีจางกลางเซลล์ สามารถพบได้ในโรคสารไขมันในร่างกายผิดปกติ และโรคตับบางชนิด
  9. เม็ด เลือดแดงรูปเคียว เรียกว่า sickle cell เป็นเม็ดเลือดแดงที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายเคียว หรือพระจันทร์เสี้ยว เกิดขึ้นเนื่องจากมีการก่อตัวขึ้นของโพลิเมอร์ของฮีโมโกลบิน เอส เกิดเป็นรูปร่างคล้ายแท่งภายในเม็ดเลือดแดง สามารถพบได้ในโรคโลหิตจางเม็ดเลือดแดงรูปเคียว โรคฮีโมโกลบิน เอส ซี และโรคฮีโมโกลบิน เอส บี

เม็ดเลือดแดงมีสิ่งผิดปกติอยู่ภายในเซลล์
การที่พบลักษณะบางอย่างผิดปกภายในเซลล์เม็ดเลือดแดง เรียกว่า inclusions
  1. Basophilic stippling จะพบลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ อาจเล็กหรือใหญ่ ติดสีฟ้า-เทา อยู่ภายในเม็ดเลือดแดง เกิดขึ้นเนื่องจากมีการรวมกลุ่มกันของไรโปโซม สามารถพบได้ในภาวะตะกั่วเป็นพิษ ภาวะการสังเคราะห์ฮีโมโกลบินผิดปกติ โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคโลหิตจางชนิดเมกาโลบลาสติก
  2. Pappenheimer bodies เป็นสิ่งผิดปกติภายในเม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ มักมีหลายเม็ด ติดสีม่วงแดง หากนำเม็ดเลือดแดงนี้ไปย้อมหาเหล็ก จะให้ผลบวก สามารถพบได้ในโรคโลหิตจางซิเดโรบลาสติก โรคพิษสุราเรื้อรัง ภาวะหลังการตัดม้าม และโรคฮีโมโกลบินผิดปกติ
  3. Howell-Jolly bodies มีลักษณะเป็นเม็ดกลมติดสีม่วงแดงขนาดค่อนข้างใหญ่ภายในเม็ดเลือดแดง เป็นส่วนที่หลงเหลือของนิวเคลียส สามารถพบได้ในโรคโลหิตจางเม็ดเลือดแตก ภายหลังการตัดม้าม และโรคโลหิตจางชนิดเมกาโลบลาสติก
  4. Cabot rings เป็นเส้นสายใยบาง ๆ ย้อมติดสีม่วงแดง มักมีลักษณะเป็นรูปวงแหวน หรือรูปเลข 8 เชื่อว่าอาจเป็นส่วนของสปินเดิลไฟเบอร์ สามารถพบได้ในโรคโลหิตจางขาดวิตามิน B12 และภาวะตะกั่วเป็นพิษ

เม็ดเลือดแดงเรียงตัวผิดปกติ
  1. Rouleaux formation เป็นการที่เม็ดเลือดแดงมาจับซ้อนทับกันเป็นสายยาว เกิดขึ้นเนื่องจากมีปริมาณของโกลบูลินหรือไฟบริโนเจนผิดปกติ โดยมีเพิ่มมากขึ้นในกระแสเลือด สามารถพบได้ในโรคมัลติเปิลมัยอีโลมา และแมโครโกลบูลินนีเมีย
  2. Agglutination เป็นการที่เม็ดเลือดแดงมีการจับกลุ่มกัน สามารถพบได้ในภาวะที่มีแอนติบอดีชนิดเย็น และในภาวะเม็ดโลหิตแตกจากโรคออโตอิมมูน


 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | cheap international calls